ผลการจัดอันดับประจำปี 2565 ประกอบด้วยบริษัทจีน 145 แห่ง บริษัทสหรัฐ 124 แห่ง และบริษัทญี่ปุ่น 47 แห่ง
ฟอร์จูน (FORTUNE) ได้ประกาศรายชื่อ "ฟอร์จูน โกลบอล 500" (FORTUNE Global 500) สำหรับปีงบการเงิน 2565 ซึ่งเป็นการจัดอันดับ 500 บริษัทขนาดใหญ่ที่สุดของโลกจากการประเมินรายได้ โดยวอลมาร์ต (Walmart) คว้าอันดับหนึ่งเป็นปีที่ 9 ติดต่อกัน และเป็นครั้งที่ 17 นับตั้งแต่ปี 2538 ส่วนซาอุดี อารามโค (Saudi Aramco - อันดับ 6) กลับมาครองตำแหน่งบริษัทที่ทำกำไรสูงสุดในรายชื่อดังกล่าวอีกครั้ง โดยทำกำไรได้ 1.05 แสนล้านดอลลาร์
จีนแผ่นดินใหญ่ (รวมฮ่องกง) ยังคงมีบริษัทติดอันดับมากที่สุด ซึ่งเพิ่มขึ้น 1 บริษัทจากปีที่แล้วเป็น 136 บริษัท และเมื่อรวมไต้หวัน ทำให้มีบริษัทจากเกรทเทอร์ไชน่าติดอันดับรวมทั้งสิ้น 145 บริษัท ด้านสหรัฐติดโผเพิ่มขึ้น 2 บริษัทรวมจำนวนเป็น 124 บริษัท ส่วนอันดับ 3 อย่างญี่ปุ่นมีบริษัทติดอันดับลดลง 6 บริษัท เหลือ 47 บริษัท ทั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกที่รายได้รวมของบริษัทที่ติดอันดับฟอร์จูน โกลบอล 500 ที่ตั้งอยู่ในเกรทเทอร์ไชน่า (รวมไต้หวัน) สูงมากกว่ารายได้รวมของบริษัทในสหรัฐที่อยู่ในรายชื่อดังกล่าว โดยคิดเป็น 31% ของรายได้ทั้งหมด
สก็อตต์ เดคาร์โล (Scott DeCarlo) บรรณาธิการรายชื่ออันดับฟอร์จูนประจำปี 2565 กล่าวว่า "การฟื้นตัวจากช่วงที่เลวร้ายที่สุดของโควิด-19 ทำให้เกิดแรงหนุนมหาศาลสำหรับบรรดาบริษัทยักษ์ใหญ่ของโลกเมื่อวัดจากรายได้ โดยยอดขายและผลกำไรโดยรวมของฟอร์จูน โกลบอล 500 พุ่งทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในปีงบประมาณ 2564 ทั้งนี้ โกลบอล 500 ถือเป็นดัชนีชี้วัดความสำเร็จทางธุรกิจ และบริษัทต่าง ๆ ต้องเผชิญกับอีกหนึ่งการทดสอบครั้งใหญ่ในการหาหนทางผ่านพ้นปัญหาเศรษฐกิจโลกในปี 2565"
บริษัทในทำเนียบฟอร์จูน โกลบอล 500 ทำรายได้รวมกันทั้งสิ้น 37.8 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งมากกว่าหนึ่งในสามของจีดีพีโลก เพิ่มขึ้น 19% จากปีที่แล้ว ถือเป็นอัตราการเติบโตประจำปีสูงสุดในประวัติศาสตร์ 33 ปีของทำเนียบดังกล่าว ส่วนกำไรสะสมเพิ่มขึ้น 88% จากปีที่แล้ว สูงเป็นประวัติการณ์แตะที่ 3.1 ล้านล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ บริษัทในรายชื่อปี 2565 มีการจ้างงาน 69.6 ล้านคนทั่วโลก มาจาก 229 เมืองและ 33 ประเทศและภูมิภาคทั่วโลก และบริษัทฟอร์จูน โกลบอล 500 ปีนี้ มีซีอีโอหญิงเพิ่มเป็น 24 คน จากเดิม 23 คนในปีที่ผ่านมา
บริษัทขนาดใหญ่ที่สุด 10 อันดับแรกในรายชื่อฟอร์จูน โกลบอล 500 ประจำปี 2565 ได้แก่
1.?วอลมาร์ต - Walmart (สหรัฐ)
2.?แอมะซอน.คอม - Amazon.com (สหรัฐ)
3. สเตต กริด - State Grid (จีน)
4.?ไชน่า เนชั่นแนล ปิโตรเลียม - China?National?Petroleum (จีน)
5.?ซิโนเปค - Sinopec (จีน)
6. ซาอุดี อารามโค - Saudi Aramco (ซาอุดีอาระเบีย)
7. แอปเปิล - Apple (สหรัฐ)
8. โฟล์คสวาเกน - Volkswagen (เยอรมนี)
9. ไชน่า สเตต คอนสตรักชัน เอ็นจิเนียริง - China State Construction Engineering (จีน)
10. ซีวีเอส เฮลธ์ - CVS Health (สหรัฐ)
ดูรายชื่อทั้งหมดได้ที่ https://fortune.com/global500/2022
ในบทบรรณาธิการของนิตยสารฟอร์จูน ฉบับเดือนส.ค.-ก.ย. 2565 อลิสัน ชอนเทล (Alyson Shontell) บรรณาธิการบริหาร ได้เขียนไว้ว่า "ประเด็นก็คือ ตัวเลข [เหล่านี้] สะท้อนถึงการเงินในปี 2564 ที่โลกเริ่มฟื้นตัวจากโควิด-19 ส่วนปีนี้มีความท้าทายใหม่ ๆ มากมายมาเป็นกระบุง… บททดสอบที่แท้จริงสำหรับธุรกิจทุกขนาดคือ ใครจะอยู่รอดและเติบโตได้บ้างในสภาวะที่ยากลำบากเช่นนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเกิดหรือเมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่ไม่มีใครทราบว่าจะนานแค่ไหน รุนแรงเท่าใด"
การจัดอันดับพิจารณาจากรายได้รวมประจำปีงบการเงินของแต่ละบริษัทซึ่งสิ้นสุด ณ วันที่หรือก่อนวันที่ 31 มีนาคม 2565 ทุกบริษัทที่อยู่ในรายชื่อต้องเปิดเผยรายงานและข้อมูลการเงินบางส่วนหรือทั้งหมดต่อหน่วยงานรัฐบาล โดยเป็นตัวเลขตามการรายงาน และเป็นการเปรียบเทียบกับตัวเลขของปีก่อนหน้าตามที่มีการรายงานเป็นครั้งแรกในปีนั้น อนึ่ง ฟอร์จูนไม่ได้ปรับปรุงตัวเลขของปีก่อนหน้าสำหรับการเปลี่ยนแปลงทางบัญชีแต่อย่างใด
เกี่ยวกับฟอร์จูน
ฟอร์จูน (FORTUNE) สนับสนุนการสนทนาเกี่ยวกับธุรกิจ ด้วยวิสัยทัศน์ในระดับโลก แนวทางด้านปัญญาของประวัติศาสตร์ และการมุ่งหน้าสู่อนาคต เรารายงานและเปิดเผยเรื่องราวที่ส่งผลกระทบต่อโลกยุคปัจจุบันและอนาคต ด้วยพลังในการรวบรวมและท้าทายกลุ่มคนที่จะเป็นผู้กำหนดทิศทางอุตสาหกรรม การพาณิชย์ และสังคมทั่วโลก ฟอร์จูนได้นำแสงสว่างมาสู่เส้นทางของผู้นำโลก พร้อมมอบเครื่องมือที่จะทำให้ธุรกิจของพวกเขาเจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น ชมข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.fortune.com
สื่อมวลชนติดต่อ: อลิสัน คลูสเตอร์ (Alison?Klooster)
ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสาร
โทร. +1-646-437-6613
อีเมล: [email protected]
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/1869131/COV_PARS.jpg
เจโทรร่วมออกบูธเจโทรพาวิลเลียนในงานเมทัลเล็กซ์ 2024 มหกรรมเครื่องจักรกลและเทคโนโลยีโลหการอันดับหนึ่งของอาเซียนระหว่างวันที่ 20-23 พฤศจิกายน ที่ไบเทค บางนา Hall 104, บูธ BV29-1~12/BW29-1~14/BX30-1~4 โดยได้ร่วมออกบูธติดต่อกันมาเป็นปีที่ 13 ยกเว้นช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด ในปีนี้เจโทรสนับสนุนบริษัทญี่ปุ่นร่วมออกบูธ 29 บริษัท (มี 10 บริษัทที่มาออกบูธเป็นครั้งแรก) โดยมีเป้าหมายขยายช่องทางการจำหน่ายสินค้าในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน ในปีนี้มีความพิเศษเพิ่มขึ้น เจโทรริเริ่มจัดบูธ "Japan Innovators"
กสิกรไทย จับมือ สมาคมไทย-ญี่ปุ่น และ หอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ จัดงานสัมมนามุ่งเสริมความร่วมมือรับความท้าทายการค้าโลก
—
ธนาคารกสิกรไทย ร่วมกับ สมาคมไทย-ญี่...
Funding Societies ได้รับเงินลงทุนจาก กองทุน Cool Japan
—
การลงทุนจากกองทุน Cool Japan (CJF) นับเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จที่สำคัญในโอกาสครบรอบ 10 ปี ที่ Fundi...
งานสัมมนาการลงทุนในประเทศกัมพูชาไทย (Thailand+1)
—
เจโทร สำนักงานกรุงเทพฯ และเจโทร สำนักงานพนมเปญ ร่วมกับสภาเพื่อการพัฒนาแห่งกัมพูชา (CDC) และAEM-METI ...
นิฮอน เอ็ม แอนด์ เอ เซ็นเตอร์ โฮลดิงส์ จัดตั้งบริษัท เอทูจี แคปปิตอล เพื่อขับเคลื่อนการขยายตัวของอาเซียนและการควบรวมกิจการในต่างประเทศ
—
นิฮอน เอ็ม แอนด์ ...
"Zest Thailand ?Thailand-Japan Fast Track Pitch Event 2023?" จัดขึ้นที่กรุงเทพฯ เพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมเปิดทั่วโลกระหว่างบริษัทญี่ปุ่นและสตาร์ทอัพ
—
กระทรวงเศรษ...
วอลมาร์ต (WALMART) ติดหนึ่งในรายชื่อของฟอร์จูนโกลบอล 500 (Fortune Global 500) เป็นปีที่ 10 ติดต่อกัน
—
ภาคส่วนพลังงานติดอันดับด้วยบทบาทที่โดดเด่น ซาอุดี อ...
เจโทร กรุงเทพฯ เผยแพร่"ทำเนียบรายชื่อธุรกิจเพื่อความยั่งยืน เพื่อบรรลุเป้าหมายคาร์บอนนิวทรัล Vol.2"
—
องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร) สำ...
EXIM BANK หารือ JETRO กรุงเทพฯ แนวทางส่งเสริมการค้าการลงทุนไทย-ญี่ปุ่น
—
ดร. รักษ์ วรกิจโภคาทร (ซ้าย) กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งปร...
ประเทศไทยติดอันดับ 1 ในอาเซียน เป็นครั้งที่ 2 จากโครงการสนับสนุน Asia Digital Transformation (ADX) จากรัฐบาลญี่ปุ่น
—
องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี...