มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท หนุนโครงการตามพระราชประสงค์หมู่บ้านสหกรณ์ต่อเนื่อง ชู "ทุเรียนป่าละอู" ผลผลิตคุณภาพสหกรณ์ฯห้วยสัตว์ใหญ่

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

"ทุเรียนป่าละอู" จากทุเรียนพันธุ์หมอนทองที่ปลูกในพื้นที่ ป่าละอู ตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ อำเภอหัวหิน พื้นที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยแร่ธาตุจากดินและแหล่งน้ำธรรมชาติ กลายเป็นสายพันธุ์ทุเรียนที่มีความเป็นเอกลักษณ์ ด้วยเนื้อหนาสีเหลืองอ่อน กลิ่นไม่ฉุน รสชาติมันมากกว่าหวาน เนื้อแห้งเนียนละเอียด ไม่มีเส้นใย เนื้อเยอะ เมล็ดเล็ก เมื่อปี 2554 ทุเรียนป่าละอูจึงได้รับการขึ้นทะเบียน Geographical Indication (GI) เป็นแบรนด์สินค้าท้องถิ่นที่บ่งบอกถึงคุณภาพและแหล่งที่มาของสินค้า

มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท หนุนโครงการตามพระราชประสงค์หมู่บ้านสหกรณ์ต่อเนื่อง ชู "ทุเรียนป่าละอู" ผลผลิตคุณภาพสหกรณ์ฯห้วยสัตว์ใหญ่

ปัจจุบันทุเรียนป่าละอูเป็นที่รู้จักของผู้ที่ชื่นชอบทุเรียน และถือเป็นผลผลิตขึ้นชื่อของ สหกรณ์การเกษตรห้วยสัตว์ใหญ่ จำกัด ต.ห้วยสัตว์ใหญ่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ที่บริหารงานโดยโครงการหมู่บ้านสหกรณ์ห้วยสัตว์ใหญ่ โดย นายพรไชย บัวคล้าย ประธานสหกรณ์ฯ ผู้นำที่มีความเข้มแข็ง มุ่งสร้างการถ่ายทอดงานและเชื่อมโยงให้เกิดความต่อเนื่อง มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่ยอมรับในวงกว้าง ปัจจุบันมีชาวสวนทุเรียนขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิก 50 ราย มีจำนวนต้นทุเรียนกว่า 15,000 ต้น เกษตรกรสมาชิกส่งให้กับสหกรณ์ในฐานะธุรกิจรวบรวมผลผลิตและเป็นผู้จำหน่าย โดยมีกระบวนการการทำงานร่วมกันที่มีประสิทธิภาพ มีการควบคุมคุณภาพสินค้า อาทิ การตัดทุเรียนที่ความสุก 80% และติดบาร์โค้ดไว้ทุกผลเพื่อรับประกันผลผลิต โดยปี 2564 สามารถจำหน่ายผลผลิตรวม 44 ตัน มูลค่า 7.7 ล้านบาท และในปี 2565 นี้ คาดการณ์ว่าจะได้ผลผลิตทั้งหมด จำนวน 60 ตัน มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท หนุนโครงการตามพระราชประสงค์หมู่บ้านสหกรณ์ต่อเนื่อง ชู "ทุเรียนป่าละอู" ผลผลิตคุณภาพสหกรณ์ฯห้วยสัตว์ใหญ่

"การรวมกลุ่มของเกษตรกร โดยมีสหกรณ์รับซื้อผลผลิตและจัดจำหน่าย ทำให้ได้ผลตอบแทนสูงสุด เกษตรกรจึงมีรายได้ที่ดี มีผลประกอบการเพิ่มสูงขึ้น สมาชิกมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการดำเนินงานที่มีคุณภาพของสหกรณ์ฯ นำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดี ส่งผลให้เศรษฐกิจของชุมชนดีขึ้น โดยมูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท ต่อยอดเสริมสร้างความเข้มแข็ง ส่งเสริมความรู้และพัฒนาอาชีพตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ถ่ายทอดองค์ความรู้ รวมถึงประสานความร่วมมือโครงการแก้ไขปัญหาช้างป่าตามแนวพระราชดำริ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำรัสให้กับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องแก้ไขปัญหาช้างป่าให้คนกับช้างอยู่ร่วมกันได้ ซึ่งมูลนิธิฯ เป็นผู้ประสานหน่วยธุรกิจของเครือซีพี มอบตู้คอนเทนเนอร์ 3 ตู้ ให้กับสหกรณ์ฯ ไว้ใช้เก็บผลผลิตในฤดูกาลเก็บเกี่ยว โดยเฉพาะทุเรียนป่าละอู เพื่อรอส่งจำหน่าย ช่วยป้องกันปัญหาช้างป่าได้" นายพรไชย กล่าว

นอกจากนี้ มูลนิธิฯ ยังถ่ายทอดองค์ความรู้ ส่งเสริมผู้ปลูกกาแฟให้แก่สมาชิกกลุ่มสหกรณ์ฯ เพื่อเพิ่มช่องทางการสร้างรายได้ใหม่ที่มั่นคงและยั่งยืน รุ่นแรกมีเกษตรกร เข้าร่วม 50 คน โดยอบรมในหัวข้อ การคัดเลือกสายพันธุ์กาแฟให้เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ วิธีการเตรียมแปลงและขั้นตอนในการปลูกพร้อมการดูแลบำรุงต้น และการเก็บเกี่ยว นอกจากนั้นยังถ่ายทอดให้เห็นถึงประโยชน์ และแนวโน้มทิศทางการตลาดของกาแฟ ซึ่งเกษตรกรมีทั้งผู้ที่ปลูกกาแฟอยู่แล้ว และไม่เคยปลูกกาแฟเลยแต่มีความสนใจ โดยส่วนมากเป็นการปลูกแซมไม้ผลชนิดอื่น เช่น ทุเรียน มะนาว มะม่วง สำหรับผู้ที่ปลูกกาแฟมีทั้งที่ได้ผลผลิต และยังไม่ได้ผลผลิต สิ่งที่เกษตรกรกังวลจะเป็นห่วงเรื่องการดูแลรักษา และด้านการตลาด การอบรมครั้งนี้จะทำให้เกษตรกรได้เรียนรู้เทคนิคการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพการเกษตร

สหกรณ์การเกษตรห้วยสัตว์ใหญ่ เป็นหนึ่งในความสำเร็จของโครงการตามพระราชประสงค์หมู่บ้านสหกรณ์ ที่ มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท ภาคภูมิใจ จากวัตถุประสงค์ในระยะแรกเน้นด้านความมั่นคงของชาติเป็นหลัก และปรับสู่การดำเนินโครงการฯ ตามแนวพระราชดำริ โดยใช้สหกรณ์เป็นศูนย์กลางในการยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจ สังคม และพัฒนาสมาชิกให้รู้รักสามัคคี ยึดหลักช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ส่งผลให้เกิดประโยชน์ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ประเพณีและวัฒนธรรมที่ดีงามของท้องถิ่นให้คงอยู่สืบไป สะท้อนความสำเร็จตามแนวพระราชดำริอย่างแท้จริง

นายจอมกิตติ ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐและกิจการสัมพันธ์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ และผู้ช่วยบริหาร สำนักประธานคณะกรรมการบริหาร บมจ. เจริญโภคภัณฑ์อาหาร หรือซีพีเอฟ บอกถึงปัจจัยแห่งความสำเร็จด้านการพัฒนาหมู่บ้านสหกรณ์การเกษตรว่า เกิดจากการพัฒนาผู้นำสหกรณ์ฯ ให้มีความรู้อย่างต่อเนื่อง และสร้างชุมชนมีความเข้มแข็ง มีความมุ่งมั่นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันที่จะพัฒนาท้องถิ่นชุมชนให้มีความเป็นอยู่ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น การที่มูลนิธิฯ ส่งเสริมทักษะความรู้ สนับสนุนให้คนในชุมชนเกิดการทำงานร่วมกัน เชื่อมต่อถ่ายทอดการดำเนินงานจากรุ่นสู่รุ่นได้อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ผู้นำสามารถส่งไม้ต่อคนรุ่นถัดไปได้อย่างดี นำไปสู่ผลดำเนินงานที่เกิดความคล่องตัว

"มูลนิธิฯ มุ่งหาแนวทางแก้ไขปัญหาของสรกรณ์ฯอย่างบูรณาการ ทำให้ชุมชนและหน่วยงานต่างๆ มีทัศนคติที่ดี สามารถพัฒนาโครงการได้อย่างต่อเนื่อง พร้อมปลูกฝังให้เยาวชนลูกหลานสหกรณ์มีแนวคิดที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม สร้างจิตสำนึกรักแผ่นดินถิ่นเกิด ผ่านการจัดกิจกรรมค่ายเยาวชนอย่างต่อเนื่อง ทำให้พวกเขาได้ให้เห็นความสำคัญของการรวมกลุ่มระบบสหกรณ์ และสร้างสมาชิกผู้นำรุ่นใหม่ให้เกิดขึ้นต่อไป ส่วนเรื่องอาชีพ มูลนิธิฯ ได้ดำเนินการส่งเสริมให้สมาชิกสหกรณ์มีทางเลือกอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ ด้วยการจัดหลักสูตรการปลูกกาแฟ โดยมีแผนที่จะสร้างอาชีพนี้ให้ยั่งยืน โดยมีสหกรณ์เป็นผู้รวบรวม นำไปสู่การแปรรูป และเพิ่มมูลค่าผลผลิตในอนาคตด้วย" นายจอมกิตติ กล่าว

มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท ร่วมสนับสนุนการดำเนินงานของหมู่บ้านสหกรณ์ฯอย่างต่อเนื่อง ด้วยการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้แก่สมาชิกสหกรณ์ ควบคู่กับกิจกรรมด้านสังคม ในโครงการตามพระราชประสงค์หมู่บ้านสหกรณ์จำนวน 7 แห่ง ใน 4 จังหวัด ได้แก่ เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ พระนครศรีอยุธยา และเชียงใหม่ โดยเน้นรูปแบบการดำเนินงาน 3 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาศักยภาพและผู้นำสหกรณ์ ผ่านการฝึกอบรมศึกษาดูงาน และส่งเสริมอาชีพเสริม อาทิ การปลูกไม้ผลผสมผสาน การเลี้ยงไก่พื้นเมือง และการเลี้ยงแพะ พร้อมพัฒนาคุณภาพชีวิตและสร้างชุมชนเข้มแข็ง ดำเนินการคู่ขนานไปกับการพัฒนาผู้นำและสมาชิกสหกรณ์ โดยการส่งเสริมการทำธุรกิจเกษตร สนับสนุนให้ผู้นำและสมาชิกมีความรู้ความเข้าใจการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ร่วมกันผลิตและจำหน่าย ช่วยเพิ่มศักยภาพด้านการตลาด ควบคู่กับการจัดค่ายสร้างเสริมคุณธรรม สืบสานและต่อยอด โครงการตามพระราชประสงค์หมู่บ้านสหกรณ์ในหลวงรัชกาลที่ 9 เพื่อปลูกจิตสำนึกสร้างทัศนคติเยาวชนลูกหลานสหกรณ์ รักแผ่นดินถิ่นเกิด

ความสำเร็จของ สหกรณ์การเกษตรห้วยสัตว์ใหญ่ เป็นภาพสะท้อนความมุ่งมั่นในการสืบสาน รักษา ต่อยอดพระราชดำริ ในด้านการพัฒนาหมู่บ้านสหกรณ์การเกษตร เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิต อยู่ดีกินดี มีความสุข นับเป็นอีกผลลัพธ์ของเป้าหมายสร้าง 4 ดี "คนดี พลเมืองดี อาชีพดี และสิ่งแวดล้อมดี" ที่มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ร่วมสานต่อความมุ่งมั่นเพื่อขจัดความยากจนอย่างยั่งยืนแก่ชาวไทย


ข่าวมูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์+ทุเรียนป่าละอูวันนี้

เครือซีพี - ซีพีเอฟ ยกระดับโภชนาการในพื้นที่ห่างไกล เดินหน้า "โครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวัน"

เครือเจริญโภคภัณฑ์ ซีพีเอฟ และมูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท ขับเคลื่อน "โครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน" ต่อเนื่องตลอด 36 ปี มุ่งส่งเสริมโภชนาการที่ดีแก่นักเรียนพื้นที่ห่างไกล ในโรงเรียนทั่วประเทศ 988 แห่ง ช่วยให้นักเรียนกว่า 223,000 คน ครู 16,500 คน และชุมชน ได้รับประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม นายจอมกิตติ ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ด้านพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐและกิจการสัมพันธ์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ เปิดเผยว่า โครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน มุ่งเน้นส่งเสริม