จากการสำรวจการเข้าถึงบริการทางการเงินภาคครัวเรือนของธนาคารแห่งประเทศไทยในปี 2563 พบว่า มีครัวเรือนไทยที่เข้าใช้บริการสินเชื่อของสถาบันการเงินในระบบเพียงร้อยละ 30.5 หรือ 6.7 ล้านครัวเรือน ขณะเดียวกัน มีครัวเรือนไทยที่จำเป็นต้องใช้บริการสินเชื่อนอกระบบอยู่ประมาณร้อยละ 1.7 และสินเชื่อกึ่งในระบบอีกประมาณร้อยละ 13.3 อีกทั้ง ยังมีครัวเรือนไทยส่วนหนึ่งราวร้อยละ 5 ที่ต้องเผชิญกับข้อจำกัดในการเข้าถึงบริการสินเชื่อ สะท้อนให้เห็นว่าไทยยังต้องการการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการสินเชื่อที่ตอบโจทย์ความต้องการและสามารถเอื้อให้ผู้บริโภครายย่อยสามารถเข้าถึงและเข้าใช้บริการสินเชื่อในระบบได้มากขึ้น
สินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล (Digital Personal Loan) เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์และบริการที่ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารแห่งประเทศไทย และถูกคาดหวังว่าจะสามารถช่วยเพิ่มอัตราการเข้าถึงและอัตราการใช้บริการสินเชื่อรายย่อย โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีข้อจำกัดในการเข้าถึงสินเชื่อหรือกลุ่ม Unserved และ Underserved ซึ่งเป็นกลุ่มที่ทางธนาคารพาณิชย์ต้องการขยายฐานลูกค้าเพื่อให้บริการสินเชื่อรายย่อยเป็นทุนเดิม อาทิ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระ รับจ้างทั่วไป ค้าขาย เป็นต้น เนื่องจากมีจุดเด่นด้านการประยุกต์ใช้ข้อมูลทางเลือก (Alternative data) ในรูปแบบดิจิทัลเท่านั้นมาใช้ในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อและประเมินความสามารถหรือความเต็มใจที่จะชำระหนี้ อาทิ ข้อมูลพฤติกรรมการซื้อขายสินค้าออนไลน์ การชำระบิลค่าสินค้าและบริการ รวมถึงค่าสาธารณูปโภคต่างๆ เป็นต้น ซึ่งจะเห็นว่าข้อมูลทางเลือกเหล่านี้จะไม่ใช่ข้อมูลทางด้านรายได้
ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ในปี 2565 การทำการตลาดสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลตามนิยามของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ใช้ข้อมูลทางเลือกในการพิจารณาสินเชื่อ คงมีลักษณะของการ "ทยอยเติบโต" มากกว่า โดยมียอดคงค้างที่ไม่สูงมากนัก ประมาณ 7,920 - 8,500 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 1 ของยอดคงค้างของสินเชื่อส่วนบุคคลทั้งระบบ เนื่องจากมีระยะเวลาการชำระคืนที่สั้น ขณะเดียวกัน ทางฝั่งผู้ประกอบการก็ยังอยู่ในช่วงทดลองตลาด และถึงแม้ว่ากลุ่มลูกค้ารายย่อย Unserved และ Underserved เป็นกลุ่มที่ผู้ประกอบการทั้ง Bank และ Non-bank ต่างมุ่งหวังเข้าถึงเพื่อให้บริการ แต่ด้วยภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวดี ประกอบกับปัญหาค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น สวนทางกับรายได้ที่ยังคงเท่าเดิมหรือลดลงจากผลกระทบโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมา จึงอาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการผิดชำระหนี้ในระดับสูง ผู้ประกอบการจึงอาจเริ่มต้นด้วยการให้วงเงินที่ไม่สูงมากนัก เพื่อหวังเก็บประวัติหรือพฤติกรรมการชำระเงินและต่อยอดสู่การให้บริการในวงเงินที่สูงขึ้น หรือการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินในรูปแบบที่เหมาะสมต่อไป
อาจกล่าวได้ว่า สินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลยังถือว่าอยู่ในช่วงของการเรียนรู้เพื่อเติบโต โดยผู้ประกอบการยังมีโจทย์สำคัญที่ท้าทายอีกหลายด้านเพื่อจะเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต ดังนี้
นอกจากนี้ ภาพการแข่งขันที่เข้มข้นขึ้นอีกส่วนหนึ่งในอนาคตยังอาจมาจากแนวทางการให้ใบอนุญาต Virtual bank หรือธนาคารพาณิชย์แบบไร้สาขาที่ดำเนินธุรกิจบนช่องทางดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งแน่นอนว่าหนึ่งในการให้บริการคือสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล โดยน่าจะทำให้มีผู้เล่นรายใหม่ๆ เข้ามาในตลาดเพิ่มขึ้น และอาจเห็นภาพของพันธมิตรทางธุรกิจที่เคยแบ่งปันข้อมูลลูกค้าหรือโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีดิจิทัลระหว่างกันกลายมาเป็นคู่แข่งในตลาดอย่างสมบูรณ์ในระยะข้างหน้าได้
โดยสรุป แม้ว่าตลาดสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลจะเป็นตลาดที่ผู้ประกอบการหลายราย ไม่ว่าจะเป็น Bank หรือ Non-Bank ต้องการรุกทำการตลาดไปสู่กลุ่มลูกค้ารายย่อยให้มากที่สุด แต่ก็ยังคงต้องเผชิญกับโจทย์ที่ท้าทายหลากหลายประการ โดยเฉพาะด้านการนำข้อมูลลูกค้าที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์ในการตรวจสอบตัวตน ทำความรู้จักและเข้าใจในพฤติกรรมที่แท้จริงของลูกค้า เพื่อนำมาสู่การบริหารความเสี่ยง ต้นทุนการดำเนินการ ตลอดจนการพัฒนาโมเดลประเมินความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งเป็นจุดสำคัญที่จะทำให้สินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลจะสามารถเติบโตได้ในระยะข้างหน้า โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ในช่วงระยะ 1-3 ปีจากนี้ ตลาดสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการเรียนรู้ และอาจยังคงต้องอาศัยเวลาอีกระยะในการพัฒนาและปรับปรุงโมเดลประเมินความเสี่ยงจากการประยุกต์ใช้ข้อมูลทางเลือกใหม่ๆ ที่หลากหลาย ทั้งนี้ หากเกิด Open Data และ Sharing Data อย่างแท้จริง ก็จะมีส่วนทำให้ผู้ประกอบการสามารถนำข้อมูลทางเลือกที่หลากหลายมาวิเคราะห์หรือประเมินความเสี่ยงได้ดีขึ้น และสามารถทำราคาที่เหมาะสมกับความเสี่ยงนั้นได้ ขณะที่การเกิด Open infrastructure ก็มีส่วนทำให้ผู้ประกอบการมีต้นทุนค่าธรรมเนียมที่ถูกลง โดยเฉพาะในกรณีของ Non-Bank ที่เป็นผู้ประกอบการรายใหม่ จากการใช้ระบบ Settlement กลางและ ATM pool และน่าจะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้การให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลสามารถยืนอยู่ได้อย่างยั่งยืนในอนาคต ภายใต้ความสามารถในการบริหารความเสี่ยงและต้นทุนที่มีประสิทธิภาพเพื่อจะสามารถทำราคาที่เหมาะสมกับผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้น
ปัจจุบัน คนจำนวนมากต้องเผชิญกับความกดดันจากสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นความท้าทายด้านเศรษฐกิจ มาตรการช่วยเหลือค่าใช้จ่ายจากภาครัฐที่ลดลง ค่าครองชีพที่สูงขึ้น หน้าที่ความรับผิดชอบด้านการงานและการเงิน สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นภาระและความคาดหวังปริมาณมหาศาลที่หัวหน้าครอบครัวต้องแบกรับอยู่บนบ่าจนถูกขนานนามว่า "เดอะแบก" รายงานล่าสุดจากธนาคารแห่งประเทศไทยระบุว่า ณ เดือนเมษายน 2566 เทียบกับปีที่แล้ว มีการกู้เงินมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จากจำนวนบัญชีสินเชื่อส่วนบุคคลที่
SAM บริษัทบริหารสินทรัพย์ของคนไทย นำ "โครงการคลินิกแก้หนี้" ร่วมบูธ ธปท. ให้คำปรึกษาคนเป็นหนี้เสียบัตรในงาน Money Expo 2023
—
SAM บริษัทบริหารสินทรัพย์ของ...
'ชนน วังตาล' พา 'AQ' เดินหน้าธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล มั่นใจช่วยเสริมพอร์ตแกร่ง
—
บริษัท เอคิว เอสเตท จำกัด มหาชน หรือ AQ ได้เข้าไปลงทุนเพิ่มเติมในธุรกิจสิ...
"StockLend by NestiFly" นำเสนอโซลูชัน P2P Lending หนึ่งเดียวในประเทศไทย พร้อมชวนสัมผัสผลิตภัณฑ์ได้ในงาน Money Expo 2025
—
บริษัท เนสท์ติฟลาย จำกัด (NestiF...
แรบบิทแคชส่งแคมเปญ "กระเป๋าเงินทุนออนไลน์" กระเป๋าเงินทุนที่เข้าใจหัวใจ คนค้าขาย พร้อมเคียงข้างพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ให้ฝันไปต่อได้ทุกวัน
—
บริษัท แรบบิท แคช...
ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2568 คาดกนง.มีมติลดดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมเดือนเมษายนนี้
—
ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดปรับลดประมาณกา...
กลุ่มงานสื่อสารองค์กรคปภ. แถลงการณ์ร่วม 6 องค์กร ยืนยันภาคการเงิน-อุตสาหกรรม-ตลาดทุน ไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหว
—
กลุ่มงานสื่อสารองค์กรคปภ. แถลงการ...
PDPC ร่วมตำรวจ-ธปท. ทลายขบวนการใช้ข้อมูลบัตรเครดิตผิดกฎหมาย ยึดกว่า 3.3 ล้านรายการ
—
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) หรือ PDPC โดย พ.ต.อ....