เมื่อภาคยานยนต์นำเทคโนโลยีไฟฟ้ามาใช้อย่างต่อเนื่อง สมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ของแคนาดา (Automotive Parts Manufacturers' Association หรือ APMA) จึงทุ่มเทให้กับโครงการแอร์โรว์ (Project Arrow) เพื่อสร้างรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ตั้งแต่ต้นจนเสร็จสมบูรณ์ โครงการความร่วมมือนี้จะสำเร็จลุล่วงเมื่อได้เปิดตัวรถต้นแบบในปลายปีนี้ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสามารถของบริษัทในประเทศ
คุณวอร์เรน อาลี (Warren Ali) รองประธานอาวุโสฝ่ายนวัตกรรมของ APMA กล่าวว่า โครงการนี้สร้างแพลตฟอร์มที่เป็นกลางและเปิดกว้างสำหรับส่วนประกอบและเทคโนโลยียานยนต์ของประเทศ โดย APMA ได้เปิดตัวโครงการแอร์โรว์ ที่งานจัดแสดงผลิตภัณฑ์ด้านเทคโนโลยีและอิเล็กทรอนิกส์ (Consumer Electronics Show หรือ CES) เมื่อปี 2563
คุณอาลีจะเป็นวิทยากรหลักของงานปลดล็อคโอกาสทางนวัตกรรมยานยนต์ระดับโลก (Unlocking Global EnnoVation Opportunities) ซึ่งเป็นการสัมมนาผ่านเว็บเกี่ยวกับเรื่องรถยนต์ไฟฟ้า จัดโดยดิจิไทมส์เอเชีย (DIGITIMES Asia) ในวันที่ 22 กันยายน 2565
เตรียมเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าต้นแบบก่อนปี 2566
โครงการแอร์โรว์เริ่มต้นด้วยการแข่งขันการออกแบบที่ผู้ชนะเป็นทีมนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยคาร์ลตัน (Carleton) ในกรุงออตตาวา โดยได้รับความสนใจจากบริษัทเทคโนโลยียานยนต์และซอฟต์แวร์ถึง 500 แห่ง
คุณอาลีกล่าวว่าขณะที่โครงการนี้เข้าสู่ขั้นตอนทางวิศวกรรม บริษัทราว 50 แห่ง ไม่ว่าบริษัทที่เน้นส่วนประกอบ การผสานรวมซอฟต์แวร์ และการประกอบยานพาหนะในขั้นสุดท้าย ได้รับเลือกให้ทำงานเกี่ยวกับรถยนต์ต้นแบบนี้ ซึ่งส่วนใหญ่ "เกิดและโต" ในแคนาดา
ผู้พัฒนามีแผนที่จะเปิดตัวรถยนต์นี้ในแคนาดาในเดือนธันวาคม และเปิดตัวสู่สายตาชาวโลกที่งาน CES ประจำปี 2566 โดยคุณอาลีกล่าวว่าจะเปิดตัวรถยนต์รุ่นนี้ในแบบเสมือนจริงด้วย เพื่อจัดแสดงเทคโนโลยีจากบริษัทต่าง ๆ นอกเหนือจากกลุ่มที่ทำงานนี้โดยตรง
คุณอาลีกล่าวเสริมว่า เป้าหมายหลักของโครงการแอร์โรว์อย่างหนึ่งคือการสาธิตส่วนประกอบและเทคโนโลยีของซัพพลายเออร์และผู้ผลิตขนาดเล็กจนถึงขนาดกลางจำนวนมากของแคนาดา โดยแคนาดายังสนับสนุนกลุ่มบริษัทซอฟต์แวร์ที่กำลังเติบโต มุ่งเน้นที่ส่วนต่อประสานระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักร ความปลอดภัยทางไซเบอร์ องค์ประกอบโครงสร้างภายในยานพาหนะ และน้ำหนักเบา
คุณอาลีกล่าวว่า เป้าหมายอีกอย่างของโครงการคือการวิเคราะห์ช่องว่างผ่านกระบวนการ โดยสำรวจหาเทคโนโลยี ส่วนประกอบ หรือความเชี่ยวชาญที่แคนาดาต้องขยายและเติบโต เพื่อให้ประสบความสำเร็จทั้งในระยะสั้นและในอนาคต ตัวอย่างเช่น แคนาดาสามารถใช้ทีมงานเพิ่มเติมในการออกแบบยานพาหนะและสร้างต้นแบบ เขาเสริมว่าโครงการนี้ได้คัดเลือกหัวหน้าวิศวกรที่ทำงานให้กับผู้ผลิตรถสปอร์ตของอังกฤษอย่างแอสตันมาร์ติน (Aston Martin) และเข้าร่วมในโปรเจกต์พิเศษต่าง ๆ เช่น วาลคิรี (Valkyrie), ฟอร์มูล่าวัน (Formula One) และยานพาหนะที่ใช้ในภาพยนตร์เจมส์ บอนด์ (James Bond)
โครงการแอร์โรว์เป็นความพยายามเพื่อทดลองและร่วมมือให้ซัพพลายเออร์มีแพลตฟอร์มที่เป็นกลางมากขึ้น เพื่อแสดงนวัตกรรมของพวกเขาต่อผู้รับจ้างผลิต (OEM) โดยคุณอาลีกล่าวว่าโดยทั่วไปแล้วซัพพลายเออร์มักจะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ตามความต้องการของ OEM ตัวอย่างเช่น OEM เป็นเหมือนมาสเตอร์เชฟที่ออกแบบเมนู (รถยนต์) แล้วจึงไปที่ตลาดเพื่อค้นหาส่วนผสม (ชิ้นส่วน) ที่จำเป็น ทว่าโครงการแอร์โรว์กลับเป็นไปในทางตรงกันข้าม
"เราออกไปและพบเห็นสิ่งที่ดีที่สุดและเลิศที่สุดที่เรามี แล้วเราก็พูดว่า 'เราจะสร้างอะไรได้บ้างโดยใช้สิ่งเหล่านี้'" คุณอาลี กล่าว
โครงการแอร์โรว์สำรวจแนวคิดใหม่ ๆ มากมายเพื่อสร้างรถยนต์ต้นแบบ ตัวอย่างเช่น คุณอาลีกล่าวว่า แผงด้านในของรถจะประกอบด้วยวัสดุผสมที่ใช้ขยะมูลฝอยจากการเกษตร ซึ่งปกติแล้วมักจะถูกนำไปฝังกลบหรือถูกเผา
โครงการร่วมเพื่อโชว์ความยืดหยุ่นในอุตสาหกรรมยานยนต์ของแคนาดา
APMA และพันธมิตรจากภาคอุตสาหกรรมและภาคการศึกษา ได้ดำเนินโครงการในช่วงเวลาที่ข้อตกลงแคนาดา-สหรัฐ-เม็กซิโกมีผลบังคับใช้ในเดือนกรกฎาคม 2563 โดยคุณอาลีเปิดเผยว่า ข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) เปิดโอกาสให้ภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ของแคนาดาเติบโต จากเดิมที่สร้างรายได้เข้าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ได้ 3.5 หมื่นล้านดอลลาร์แคนาดา (2.66 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) เป็นมากกว่า 4 หมื่นล้านดอลลาร์แคนาดาต่อปี
โครงการร่วมอาจมีประโยชน์เมื่อต้องรับมือกับความท้าทายด้านการผลิต ตัวอย่างเช่น คุณอาลีกล่าวว่าในขณะที่กลุ่มนี้ยังคงต้องหาวิธีแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ แต่ก็พบพันธมิตรที่ผลิตชิปและพัฒนาแพลตฟอร์มที่เป็นนวัตกรรมใหม่ ซึ่งอาจลดจำนวนชุดควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ (ECU) ภายในรถยนต์ได้
คุณอาลีกล่าวว่า โครงการแอร์โรว์แสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งและการยืนหยัดของซัพพลายเชนยานยนต์ของแคนาดา โดยอุตสาหกรรมตอนนี้สามารถขยายได้ตามความต้องการทางด้านปริมาณ คุณภาพ และความปลอดภัยจากระบบการจัดการแบตเตอรี่ ส่วนประกอบ และอื่น ๆ อีกมากมาย
คุณอาลียังกล่าวอีกว่า อุตสาหกรรมนี้ยังได้สร้างความร่วมมือระดับนานาชาติกับผู้ผลิตในยุโรปและเอเชียผ่านโครงการนี้ด้วย
ที่สำคัญกว่านั้น โครงการแอร์โรว์ยังเชื่อมโยงโลกยานยนต์แบบดั้งเดิมเข้ากับเทคโนโลยีแบบเคลื่อนที่และผู้ให้บริการยุคใหม่ คุณอาลีกล่าวว่ามีการทำงานร่วมกันระหว่างผู้ผลิตแบบดั้งเดิมและบริษัทเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในระบบรถยนต์หลักแต่ละระบบ เช่น แบตเตอรี่และการออกแบบภายในของรถยนต์
คุณอาลีกล่าวสรุปว่า ความร่วมมือดังกล่าวจะช่วยให้ผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายทนทานยิ่งขึ้น และทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์ในแคนาดาประสบความสำเร็จไปอีก 100 ปีข้างหน้า
ขอเชิญเข้าร่วมเว็บบินาร์ในหัวข้อยานยนต์ไฟฟ้าของดิจิไทมส์ เพื่อค้นพบโอกาสในแวดวงนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมในระดับโลก ค้นหาวิธีสร้างระบบนิเวศรถยนต์ไฟฟ้าแบบรอบด้าน และการวางกลยุทธ์น่านน้ำสีฟ้าสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า
ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเว็บบินาร์นี้ได้ที่ https://reurl.cc/m3MR5M
ติดต่อ: [email protected]
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/1897387/Warren_Ali___Head_Shot.jpg
นายสมพล ธนาดำรงศักดิ์ นายกสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย (TAPMA) และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ฟอร์จูน พาร์ท อินดัสตรี้ หรือ FPI ถ่ายภาพร่วมกับคณะกรรมการจัดงานแสดงสินค้าชิ้นส่วน อะไหล่ยานยนต์ และอุปกรณ์ตกแต่ง (Thailand International Auto Parts & Accessories Show: TAPA 2023) ภายใต้แนวคิด "Sustainable for The Future" โดยมีผู้เข้าชมงานรวมกว่า 6,100 คน จาก 81 ประเทศ ซึ่ง FPI ได้ร่วมออกบูธเพื่อจัดแสดงสินค้าและมีการนำโมเดลสินค้าและอะไหล่ชิ้นส่วนยานยนต์มาร่วมงาน ซึ่งได้รับความสนใจจากทั้งพันธมิตร
พร้อมจัดงาน Intermach และ Plastic & Rubber Thailand 2023
—
ดร. เกรียงศักดิ์ วงศ์พร้อมรัตน์ ผู้อำนวยการ สถาบันยานยนต์ ร่วมกับ นายสรรชาย นุ่มบุญนำ อินฟอ...
กรมพัฒนาฝีมือแรงงานจับมือกับอาชีวะ ผลิตกำลังคนป้อนแรงงานเข้าสู่อุตสาหกรรมยานยนต์
—
สถาบันพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนอะไหล่ยานยนต์ กรมพัฒนาฝ...
Gossip News: นินจาพอล ขนานแท้
—
หลังจากหายหน้าหายตาไปพักใหญ่สำหรับ "สมพล ธนาดำรงศักดิ์" กรรมการผู้จัดการ บมจ.ฟอร์จูน พาร์ท อินดัสตรี้ (FPI) เพราะเล่น...
ภาพข่าว: “สมพล” รับตำแหน่งนายกสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนฯ
—
คุณสมพล ธนาดำรงศักดิ์ (ที่ 3 จากซ้าย) กรรมการผู้จัดการ บมจ.ฟอร์จูน พาร์ท อินดัสตรี้ (FPI) ได้รับคัด...
“สมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย” เผยตัวเลขส่งออก ปี 2560 เติบโตกว่า 15.5% พร้อมเผยยุทธศาสตร์ผลักดันความร่วมมือ ปี 2561 – 2563
—
สมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต...
ภาพข่าว: ตัวแทนสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย เข้าพบ "คุณนันทวัลย์ ศกุนตนาค" ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เพื่อแนะนำคณะผู้บริหารของสมาคมฯ ประจำปี 2561
—
อัชณา ลิมป์...
ทายาทเจน 3 โตโยต้าทูโช นั่งแท่นประธาน “แท็ปม่า จีทู” พร้อมจัดปาร์ตี้ฉลอง 10 ปี กลุ่มฯ
—
จัดงานประชุมใหญ่สามัญประจำปี พร้อมเลือกตั้งประธานกลุ่ม TAPMA G2 (แ...