แทบทุกอุตสาหกรรมมีการโปรโมทธุรกิจด้วย Influencer Marketing ซึ่งถึงแม้โควิดจะส่งผลให้เศรษฐกิจดิ่งลง แต่ก็ไม่ได้สะเทือนตลาดอินฟลูเอนเซอร์มากนัก และยังมีการคาดการณ์จาก DAAT สมาคมโฆษณาดิจิทัล (ประเทศไทย) ว่าเม็ดเงินลงทุนสำหรับสื่อดิจิทัลในปี 2565 นั้นยังเติบโตได้ 9% ซึ่งเป็นมูลค่า 27,040 ล้านบาท
KOL ขุมพลังแห่งการสื่อสาร
Key Opinion Leader (KOL) เป็นอินฟลูเอนเซอร์สายเฉพาะทางที่วงการธุรกิจขาดไม่ได้ และได้รับการยอมรับว่าเป็นตัวจริงในด้านนั้นๆ มีอำนาจการสื่อสาร "เฉพาะกลุ่ม" นำเสนอคอนเทนต์ที่มีความเฉพาะเจาะจง Followers คือคนที่สนใจเรื่องนั้นอย่างแท้จริง ทำให้บทบาทการสื่อสารของ KOL ทรงพลังและตรงเป้าหมายที่สุด!
หัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนเม็ดเงินให้กับธุรกิจ
ส่วนหนึ่งก็คืออำนาจในการจูงใจของเหล่า KOL ที่มีอิทธิพลทางความคิดต่อผู้ติดตามในโลกออนไลน์ ซึ่งปัจจุบันการจับจ่ายใช้สอยของคนไทย มีสัดส่วนทางออนไลน์สูงถึง 65% แซงหน้าออฟไลน์ที่มีสัดส่วนอยู่ที่ 35% สิ่งที่น่าสนใจคือคนไทยนิยมซื้อของผ่าน Social Commerce มากถึง 88% โดยแพลตฟอร์มมาแรง 3 อันดับแรก หนีไม่พ้น Facebook 62% Instagram 12% TikTok 8% (อ้างอิง : วันเดอร์แมน ธอมสัน)
คนดังในโลกออนไลน์ โพสต์ 1 ครั้งได้เงินเท่าไหร่? (อ้างอิง : คมชัดลึก)
มาดูกันว่าเหล่า KOL และ Influencer จาก 3 แพลตฟอร์มท็อปฮิตนั้น พวกเขาสามารถสร้างรายได้มากน้อยแค่ไหนจากการโพสต์แนะนำสินค้าหรือธุรกิจในแต่ละครั้ง โดยข้อมูลดังต่อไปนี้เป็นค่าเฉลี่ยคร่าว ๆ ที่เจ้าของธุรกิจสามารถใช้อ้างอิงในการคำนวนค่าใช้จ่ายสำหรับการตลาดได้
TikTok
อยากเป็น KOL เริ่มอย่างไร?
การเป็น KOL ในแบบที่วงการธุรกิจต่างต้องการตัว คุณสมบัติสำคัญคือทักษะในการสื่อสารที่น่าเชื่อถือ สามารถจูงใจผู้ฟังได้อย่างอยู่หมัด และมีไอเดียใหม่ ๆ ในการสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่โดนใจ ซึ่งภาคการศึกษา หลายมหาวิทยาลัยมีการสอนทักษะที่ปูทางไปสู่อาชีพ KOL หนึ่งในนั้นคือ DPU มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ โดยคณะนิเทศศาสตร์ ได้เน้นสร้างนักสื่อสารให้มีความเชี่ยวชาญการผลิตคอนเทนต์ทุกแพลตฟอร์มที่ตอบสนองธุรกิจแห่งอนาคต สามารถเลือกเรียนได้ 4 หลักสูตร คือ หลักสูตรสื่อดิจิทัลและการสร้างสรรค์ หลักสูตรภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล หลักสูตรการสื่อสารการแสดงดิจิทัล หลักสูตรการสื่อสารการตลาดดิจิทัล
สอบถามข้อมูลคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้ที่ https://bit.ly/3KGY6jQ หรือสมัครเรียนได้ที่ https://bit.ly/3q1PZ84
3 สมาคมโฆษณา นำโดย นายรติ พันธุ์ทวี (กลาง) นายกสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย หรือ AAT พร้อมด้วย นายภารุจ ดาวราย (ซ้าย) นายกสมาคมโฆษณาดิจิทัลแห่งประเทศไทย หรือ DAAT และ ดร.ธราภุช จารุวัฒนะ (ขวา) นายกสมาคมมีเดียเอเยนซี่ และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย หรือ MAAT แถลงข่าวรวมพลังประกาศปรับกฎเกณฑ์ค่าธรรมเนียมแข่งขันเสนองาน (Pitch Fee) ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับยุคปัจจุบัน ทั้งด้านเนื้อหา วิธีการ ขอบเขตการนำเสนอแต่ละประเภท ตลอดจนการเรียกเก็บ การจ่ายค่าธรรมเนียมให้มีความชัดเจนและร่วมสมัยมากขึ้น หลังจากกฎเกณฑ์เดิม
แอ็กเซสเทรด (ACCESSTRADE) ชี้พฤติกรรมผู้บริโภค ยุคโควิด-19 ดันการตลาดออนไลน์เติบโต
—
แอ็กเซสเทรด (ACCESSTRADE) ผู้ให้บริการระบบการตลาดออนไลน์แอฟฟิลิเอตมาร...
สมาคมโฆษณาดิจิทัลฯ เผยสถิติคะแนนสอบ DAAT SCORE
—
คุณศิวัตร เชาวรียวงษ์ นายกสมาคมโฆษณาดิจิทัล (ประเทศไทย) หรือ DAAT กล่าวว่า จากการที่สมาคมฯ ได้จัดสอ...
ครั้งแรกของไทย! เปิดสอบ “DAAT Score” วัดระดับความรู้ด้านโฆษณาดิจิทัล เพิ่มศักยภาพการทำงานในยุคที่โลกหมุนเร็ว โดย สมาคมโฆษณาดิจิทัล(ประเทศไทย)
—
สื่อดิจิทัล...
โฆษณาดิจิทัลไทยเติบโตต่อเนื่อง DAAT ประกาศเม็ดเงินแตะหนึ่งหมื่นห้าพันล้านปลายปี 2561
—
เม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อดิจิทัลในประเทศไทยเติบโตต่อเนื่อง คาดการณ์ว่าใ...
DAAT DAY Digital 4.0
—
สมาคมโฆษณาดิจิทัล (ประเทศไทย) หรือ Digital Advertising Association (Thailand) (DAAT) ร่วมกับ กันตาร์ ทีเอ็นเอส (ไทยแลนด์) เปิด...
DAAT DAY กลับมาอีกครั้งกับธีม DIGITAL 4.0 DAAT DAY 2017 – งานสัมมนาดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดแห่งปีโดยสมาคมโฆษณาดิจิทัล
—
สมาคมโฆษณาดิจิทัล (ประเทศไทย) ขอเชิญนั...
“ดีป้า” เตรียมจัดเน้นๆ 4 วัน 3 คืน ติวเข้มเร่งพัฒนาศักยภาพสตาร์ทอัพแบบก้าวกระโดด ในกิจกรรม “Level Up Camp”
—
ใกล้เข้ามาแล้วสำหรับกิจกรรม Level Up Camp โคร...
ปล่อยของ ประลองตัวตน กับคนโฆษณาในงาน MADD_โชว์ของ 2017 : Creative Zombie 4.0
—
ขอเชิญชวนน้องๆนักเรียน นักศึกษาและผู้สนใจ เข้าร่วมกิจกรรมสุดคูลเพื่อสัมผัสต...