ทีเด็ด! อ้อยโรงงานพันธุ์ใหม่ "กวก. นครสวรรค์ 1" ให้ความหวาน ผลผลิตน้ำตาลสูง

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรมวิชาการเกษตร อวดทีเด็ดอ้อยโรงงานน้องใหม่ "กวก. นครสวรรค์ 1" ให้ความหวาน ผลผลิตน้ำตาลสูง ชาวไร่เฮค่าความหวานสูงสร้างรายได้เพิ่ม แถมทรงกอตั้งตรงเก็บเกี่ยวได้ง่ายทั้งแรงงานคนและเครื่องจักรกล ชูเป็นพันธุ์ทางเลือกใหม่ สร้างความยั่งยืนอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล

ทีเด็ด! อ้อยโรงงานพันธุ์ใหม่ "กวก. นครสวรรค์ 1" ให้ความหวาน ผลผลิตน้ำตาลสูง

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า อ้อยเป็นพืชอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ ปัจจุบันอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายนับเป็นสินค้าภาคเกษตรที่มีมูลค่าโดยรวมกว่า 2 แสนล้านบาท และผลผลิตน้ำตาลมากกว่า 2 ใน 3 ส่งออกทำรายได้ให้กับประเทศปีละหลายล้านบาท ที่สำคัญอ้อยเป็นพืชที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วนนอกจากการแปรรูปเป็นน้ำตาลทรายแล้วยังสามารถใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องหลายชนิด รวมทั้งนำไปต่อยอดสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง ซึ่งการยกระดับผลผลิตและปริมาณอ้อยเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายปัจจัยที่มีความสำคัญที่สุดคือ "พันธุ์อ้อย" ทีเด็ด! อ้อยโรงงานพันธุ์ใหม่ "กวก. นครสวรรค์ 1" ให้ความหวาน ผลผลิตน้ำตาลสูง

การปรับปรุงพันธุ์อ้อย ถือได้ว่าเป็นกระบวนการต้นน้ำในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ที่ใช้ระยะเวลานาน 10-12 ปีถึงจะได้อ้อยพันธุ์ดี ซึ่งพันธุ์อ้อยที่เกษตรกรปลูกในปัจจุบัน ได้แก่ พันธุ์ขอนแก่น 3 และ LK92-110 เป็นพันธุ์ที่ใช้มาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน ทำให้พบการระบาดของโรคมากขึ้น โดยการใช้พันธุ์อ้อยพันธุ์ใดพันธุ์หนึ่งในสัดส่วนที่มากเกินไปหรือเรียกว่าใช้พันธุ์เชิงเดี่ยวจะก่อให้เกิดความเสี่ยง เนื่องจากศัตรูพืชมีการปรับตัวจนสามารถเข้าทำลายอ้อยพันธุ์นั้นได้ นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมยังมีส่วนสำคัญที่ทำให้พันธุ์อ้อยที่เคยให้ผลผลิตสูงมีผลผลิตลดลง

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน เป็นหน่วยงานของกรมวิชาการเกษตรที่ดำเนินงานวิจัยและพัฒนาทั้งด้านพันธุ์และเทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสมของพืชไร่ได้ดำเนินการปรับปรุงพันธุ์อ้อย เพื่อให้ได้พันธุ์ที่ให้ผลผลิตและความหวานสูง เหมาะสมกับพื้นที่ปลูกในดินร่วน ร่วนเหนียว และดินเหนียวเขตน้ำฝน เพื่อเป็นทางเลือกด้านพันธุ์ให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยในพื้นที่ดังกล่าว โดยอ้อยพันธุ์ใหม่ล่าสุดดำเนินการปรับปรุงพันธุ์ตั้งแต่ปี 2553-2565 รวมระยะเวลา 12 ปี จนได้อ้อยพันธุ์ "กวก. นครสวรรค์ 1" ซึ่งเป็นอ้อยโรงงานที่มีความหวานและผลผลิตน้ำตาลสูง ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่าง พันธุ์แม่ Q76 และพันธุ์พ่อ CP63-588

ลักษณะเด่นของอ้อยพันธุ์"กวก. นครสวรรค์ 1"คือมีความหวานสูงถึง 15.77 ซีซีเอส สูงกว่าพันธุ์ LK92-11 และพันธุ์ขอนแก่น 3 ให้ผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 2.82 ตันซีซีเอส/ไร่ สูงกว่าพันธุ์ LK92-11 และให้ผลผลิตอ้อย 18.02 ตัน/ไร่ มีทรงกอที่ตั้งตรงทำให้สะดวกต่อการเก็บเกี่ยวด้วยแรงงานคนหรือใช้เครื่องจักร ดังนั้นอ้อยพันธุ์นี้จึงเป็นทางเลือกด้านพันธุ์ให้กับชาวไร่อ้อยอีกพันธุ์หนึ่ง โดยเฉพาะในพื้นที่ปลูกอ้อยที่เป็นดินร่วน ร่วนเหนียว และดินเหนียว เขตน้ำฝน ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ ชัยนาท สุพรรณบุรี และนครราชสีมา ซึ่งการเลือกใช้พันธุ์อ้อยได้อย่างเหมาะสมกับพื้นที่นอกจากจะยกระดับผลผลิตและเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรแล้วยังสามารถพัฒนาและสร้างความยั่งยืนให้กับอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทั้งระบบต่อไปได้

"กรมวิชาการเกษตร เป็นหน่วยงานหลักที่มีบทบาทหน้าที่ในการวิจัยและพัฒนาด้านพืช ซึ่งงานปรับปรุงพันธุ์อ้อยเป็นหนึ่งในภารกิจหลักนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและยังคงมุ่งมั่นพัฒนางานวิจัยปรับปรุงพันธุ์อ้อยอย่างต่อเนื่องโดยใช้เทคนิคและวิธีการปรับปรุงพันธุ์ต่างๆ มาต่อยอดพันธุ์เดิม เพื่อให้ได้พันธุ์รองรับผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสภาพแวดล้อม รองรับตลาดแนวใหม่ และพัฒนาอ้อยพันธุ์ใหม่ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ รวมทั้งเพิ่มความหลากหลายในการใช้พันธุ์ เพื่อลดความเสี่ยงต่ออุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายและผลิตภัณฑ์ต่อเนื่อง ซึ่งอ้อยพันธุ์"กวก. นครสวรรค์ 1"เป็นผลงานวิจัยปรับปรุงพันธุ์ล่าสุดของกรมวิชาการเกษตรที่นักวิจัยใช้ระยะเวลาในการปรับปรุงพันธุ์ถึง 12 ปี จากจุดเด่นของอ้อยพันธุ์นี้ที่มีความหวานสูงถึง 15.77 ซีซีเอสจะทำให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยได้รับผลตอบแทนจากค่าความหวานที่เพิ่มขึ้น โดยค่าความหวานมาตรฐาน 10 ซีซีเอส และ 1 ซีซีเอสที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ได้ราคาเพิ่มอีก 6%ของราคาต่อตันอ้อย เกษตรกรที่สนใจอ้อยพันธุ์ กวก.นครสวรรค์ 1 สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ โทรศัพท์ 0-5624-1019 อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าว


ข่าวอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย+ระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์วันนี้

กลุ่มน้ำตาล เคไอ จับมือ กรุงไทย ยกระดับแก้ปัญหาPM 2.5 ผ่าน "สินเชื่อ ESG" ตอบโจทย์สู่องค์กรยั่งยืน

"กลุ่มน้ำตาล เคไอ" จับมือ "ธนาคารกรุงไทย" เดินหน้าพัฒนาธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ผ่าน สินเชื่อเพื่อความยั่งยืน (ESG) เพื่อก้าวสู่องค์กรที่เติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต นายประเสริฐ เสถียรถิระกุล ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มน้ำตาล เคไอ เปิดเผยว่า ในฐานะผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำตาล มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างความยั่งยืนให้สิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ ควบคู่ไปกับการเติบโตที่ยั่งยืน อ้อยเป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศ

นายอภิชาต นุชประยูร ประธานเจ้าหน้าที่บริห... 'กลุ่ม KTIS' เซ็นเอ็มโอยูกับ 'มหาวิทยาลัยขอนแก่น' ร่วมวิจัยเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย — นายอภิชาต นุชประยูร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายธุรกิจชีว...

นายจรินทร์ ระดมกิจ ผู้แทนบริษัท เคทิส วิจ... 'เคทิส วิจัยและพัฒนา' เซ็น MOU กับ สอน. — นายจรินทร์ ระดมกิจ ผู้แทนบริษัท เคทิส วิจัยและพัฒนา จำกัด ในกลุ่มบริษัท เกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์...

นายประพันธ์ ศิริวิริยะกุล ประธานเจ้าหน้าท... ผู้บริหารกลุ่ม KTIS นำผู้อบรม นอส.รุ่น 1 ดูงานออนไลน์ — นายประพันธ์ ศิริวิริยะกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท เกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์ คอ...

โรงงานน้ำตาล ประกาศร่วมมือดูแลด้านสิ่งแวด... อ้อยและน้ำตาลทราย ยกระดับการดูแลด้านสิ่งแวดล้อม ร่วมพัฒนาอุตสาหกรรมก้าวสู่การเป็น Zero wastes — โรงงานน้ำตาล ประกาศร่วมมือดูแลด้านสิ่งแวดล้อมในอุตสาหกรรมอ...