"ต้อหิน" เราคงได้ยินได้ฟังเกี่ยวกับมหันตภัยร้ายแรงของโรคต้อหินกันมาบ้าง ทราบไหมว่าปัจจุบันประเทศไทยมีคนเป็นโรคต้อหินนับแสนรายที่สำคัญเกือบครึ่งหนึ่งไม่รู้ว่ากำลังเป็นโรคต้อหินซึ่งควรได้เข้ารับการรักษาจากหมอตา หรือจักษุแพทย์เท่านั้น
รศ.นพ.นริศ กิจณรงค์ อาจารย์ภาควิชาจักษุวิทยา และรองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและกิจกรรมเพื่อสังคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เล่าถึงประสบการณ์รักษาคนไข้โรคต้อหินด้วยความห่วงใยในสุขภาพตาคนไทย
เป็นต้อหินแล้วต้องตาบอดจริงหรือ?
"โรคต้อหินเป็นโรคของขั้วประสาทตาที่หากถูกทำลายด้วยสาเหตุต่างๆ ก็จะทำให้การมองเห็นลดลง พบว่า 80-90% ของคนไข้ต้อหินในระยะแรกมักไม่ปรากฎอาการ หลายคนเข้าใจว่าคนเป็นต้อหินแล้วจะต้องตาบอด ซึ่งเป็นเรื่องที่เข้าใจที่ผิด ต้อหิน ถ้าค้นพบเร็วรักษาเร็ว ถึงแม้ว่าการรักษาจะไม่ทำให้การมองเห็นดีขึ้น แต่อย่างน้อยก็สามารถป้องกันไม่ให้ตาบอดได้ ในฐานะหมอตาหรือจักษุแพทย์ เราจะทำทุกวิถีทางเพื่อทำให้คนไข้ต้อหินยังคงการมองเห็น อย่างน้อยก็เท่ากับวันแรกที่เข้ามารับการรักษา การรักษาต้อหินจะประสบความสำเร็จได้ คนไข้จะต้องร่วมมือในการรักษา เรียกว่า "ทั้งคนไข้และหมอจะต้องสู้ไปด้วยกันครับ"
รู้ได้อย่างไรว่าเริ่มมีอาการต้อหิน
คนไข้ต้อหินส่วนใหญ่ไม่มีอาการอะไร บางคนอาจสังเกตว่าการมองเห็นด้านข้างค่อย ๆ หายไป ขับรถชนด้านข้าง หรือเดินอยู่ในบ้านจะเตะข้าวของ อย่างไรก็ตาม การมองเห็นตรงกลางยังชัด ส่วนใหญ่จึงมักไม่ทราบ โรคต้อหินเป็นเหมือน "เพชฌฆาตเงียบ" มีส่วนน้อยที่มีอาการต้อหินฉับพลัน โดยจะมีอาการ ปวดตา ตาแดง ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน ดังนั้นการตรวจสุขภาพตาเป็นประจำทุกปีในคนวัย 50 ปีขึ้นไป จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก
ต้อหินเกิดจากอะไร
โรคต้อหินเป็นโรคที่มีการทำลายของขั้วประสาทตา มักเกิดจากความดันในดวงตาสูงที่ส่วนใหญ่ไม่ทราบสาเหตุ อาจมีปัจจัยเสี่ยง เช่น สายตายาวหรือสั้นมากๆ การใช้ยาหยอดตาที่มีสเตียรอยด์ มีภาวะเบาหวานขึ้นตา ผู้ที่มีอุบัติเหตุบริเวณดวงตา หรือเกิดจากกรรมพันธุ์ มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคต้อหิน เป็นต้น
การรักษาโรคต้อหินที่ถูกต้อง
โรคต้อหิน สามารถรักษาและควบคุมภาวะสูญเสียการมองเห็นได้ สามารถป้องกันการตาบอดได้ ถ้ารักษาถูกวิธีและเข้ารับการรักษากับจักษุแพทย์อย่างรวดเร็ว แต่การรักษาอาจจะไม่หายขาด คนไข้ต้องได้รับการรักษาอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้การรักษาต้อหินแบบมาตรฐานมี 3 วิธี คือ การใช้ยาหยอดตา ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายและปลอดภัยแต่ต้องหยอดตาทุกวัน การยิงเลเซอร์โดยเฉพาะต้อหินชนิดมุมแคบ และการผ่าตัดเพื่อระบายน้ำในตาทำให้ความดันตาลดลง สำหรับการรักษาทางเลือกไม่ว่าจะเป็นการนวดตา การกินวิตามินหรือสมุนไพร ไม่ใช่วิธีการรักษาต้อหินตามมาตรฐานทางการแพทย์ อาจจะส่งผลเสียต่อการมองเห็นได้
พบหมอให้เร็ว เพื่อลดการสูญเสียดวงตา
รศ.นพ.นริศ กิจณรงค์ เล่าว่า "จากประสบการณ์การรักษาโรคต้อหิน คนไข้ที่เข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว สามารถป้องกันตาบอดได้ คนไข้จะยังคงใช้ชีวิตประจำวันและสามารถทำงานได้ตามปกติ ส่วนคนที่เข้ารับการรักษาช้า เป็นที่น่าเสียใจที่โรคต้อหินอาจทำให้ต้องสูญเสียการมองเห็นได้ในที่สุด ยกตัวอย่างเช่น คนไข้คนหนึ่งที่เป็นต้อหินตั้งแต่เด็ก เริ่มมารับการรักษาตั้งแต่อายุ 10 ขวบ ได้รับการรักษาด้วยการหยอดยาและการผ่าตัด ปัจจุบันผู้ป่วยทำงานเป็นนักดาราศาสตร์ตามที่ฝันไว้ ในขณะที่คนไข้อีกราย ฝันอยากเป็นทหาร เข้ารับการตรวจครั้งแรกเมื่ออายุ 15 ปีเพราะมีอาการตามัวจากโรคต้อหิน คนไข้ขอเลื่อนนัดผ่าตัดเพราะติดสอบ หลังสอบเสร็จพบว่าตามัวมากจนมองแทบไม่เห็นอะไร การผ่าตัดในคนไข้รายนี้แค่ช่วยประคองอาการโรคให้คงที่ ไม่ให้ตามัวไปกว่าเดิม จะเห็นได้ว่าโรคต้อหินนั้น ยิ่งมาช้า อาการก็จะยิ่งแย่ลง คนไข้คนนี้จึงเป็นที่น่าเสียดายมาก" รับชมคลิป https://www.youtube.com/watch?v=gfZGso5PsY8&t=71s
รศ.นพ.นริศ กิจณรงค์ กล่าวต่อไปว่า "ต้อหินเป็นภัยเงียบของดวงตาที่อาจไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต้องคอยสังเกตอาการ และหมั่นตรวจสุขภาพตากับจักษุแพทย์เป็นประจำ เมื่อเป็นแล้วต้องรีบรักษาโดยเร็ว อย่าปล่อยให้เรื้อรัง ซึ่งเสี่ยงทำให้ตาบอดได้ ดวงตาเรามีเพียงคู่เดียว การถนอมดวงตาให้ใช้ได้ยาวนานจึงเป็นเรื่องสำคัญ"
ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล จับมือกับเสื้อยืดตราห่านคู่ เชิญชวนร่วมเป็นหนึ่งในโครงการ "Pay it Forward: จากลายเส้น...สู่โอกาสใหม่" เปิดตัวเสื้อยืดจากปลายพู่กันของ อ.เกริก ยุ้นพันธ์ ศิลปินแห่งชาติ ระดมทุนเพื่อก่อสร้างอาคารผู้ป่วยใน เตรียมรองรับและดูแลผู้ป่วยแบบครบวงจรทุกมิติ เมื่อวันที่ 24 เมษายน ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล (SiGJ) จัดงานแถลงข่าวความร่วมมือระหว่าง ศิริราช-กาญจนา x ห่านคู่ เปิดตัว
เอ็มเทค สวทช. จับมือศิริราช ทดสอบทางคลินิก OSSICURE Bone Graft นวัตกรรมทดแทนกระดูกสำหรับการผ่าตัดกระดูกสันหลัง
—
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเ...
เพอเซ็ปทรา โชว์ศักยภาพ AI ทางการแพทย์ในงานประชุมนานาชาติรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล (PMAC) 2025
—
คณะผู้บริหารและทีมงานจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยา...
แอสตร้าเซนเนก้า ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) กับ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เพื่อขับเคลื่อนการวิจัยทางคลินิกในไทย ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตผู้ป่วย
—
บริษัท แอสต...
ศิริราชผนึก 3 โรงพยาบาลร่วมจัดโครงการ "72 ข้อเทียม เทิดพระเกียรติ วโรกาส 72 พรรษา ทศมราชา"
—
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานแถลงข่าวโคร...
มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และกระทรวงการต่างประเทศ
—
แถลงข่าว ผลการตัดสินรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำ...
กรุงไทยสนับสนุนโครงการ "Siriraj x MIT Hacking Medicine" สร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อสุขภาพผู้สูงอายุ
—
นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย พร้อมค...
พร้อมแล้ว! งานสุดยิ่งใหญ่ "ศิริราช@บางกอกน้อยเฟสติวัล ครั้งที่ 6" ที่สุดแห่งความจัดจ้านในย่านบางกอกน้อย
—
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เตรี...