"งานเจรจาธุรกิจ ไทย-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 14" มีบริษัทไทยและญี่ปุ่นเข้าร่วมถึง 284 บริษัท ในรูปแบบ on-site

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

หอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพ (JCC, Bangkok), Japan Finance Corporation (JFC), สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) และองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร)ร่วมกับองค์กรที่เกี่ยวข้องจัด "งานเจรจาธุรกิจ ไทย-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 14" เพื่อสนับสนุนการขยายธุรกรรมการค้าของบริษัทไทยและเอสเอ็มอีญี่ปุ่นที่มาลงทุนในประเทศไทย ซึ่งคาดว่าจะมีบริษัทที่เข้าร่วมการเจรจาธุรกิจทั้งบริษัทไทยและญี่ปุ่นประมาณ 284 บริษัท ในวันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม เวลา 12:30 ถึง 17:15 ที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค BITEC (2Fl. Grand Hall 201-203)

งานเจรจาธุรกิจครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่บริษัทเข้าร่วมสามารถประชุมและเจรจาธุรกิจที่หน้างานแบบ on-site-meeting หลังจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ โควิด-19 และข้อจำกัดในการเดินทางทั้งในและต่างประเทศ นับตั้งแต่การจัดงานครั้งล่าสุดเมื่อเดือนมกราคม 2563 เป็นระยะเวลาถึง 2 ปี 4 เดือน ขณะเดียวกัน บริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทยจำนวนมากก็กำลังแสวงหาโอกาสการค้าใหม่ๆ และเสริมสร้างความแข็งแกร่งของห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมไทย ดังนั้นงานเจรจาธุรกิจครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อสนับสนุนการสร้างความหลากหลายช่องทางการจัดซื้อและซัพพลายเออร์ของบริษัทญี่ปุ่นในไทย และเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของทั้งบริษัทญี่ปุ่นและไทย เช่น การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ลดต้นทุน เป็นต้น

ความเป็นมา

งานนี้เป็นความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐของไทยและญี่ปุ่นร่วมกันจัดงานเจรจาธุรกิจแบบ on-site-meeting visit ซึ่งเริ่มจัดงานขึ้นในปี 2549โดยเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือภายใต้ "APEC MOU (บันทึกความร่วมมือระหว่างสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องกับการเงินของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในภูมิภาคเอเปค)" ซึ่งลงนามในปี 2546 ระหว่าง (ชื่อเดิม) Japan Finance Corporation for Small and Medium Enterprises (JASME) และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Bank) จากนั้นหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพ (JCC, Bangkok)ได้เข้าร่วมครั้งแรกในปี 2555 นอกจากนี้กองพัฒนาผู้ประกอบการไทย (BUILD) ซึ่งเป็นหน่วยงานสนับสนุนการจับคู่ธุรกิจของ BOI ได้เข้าร่วมแทนที่ SME Bank เป็นครั้งแรกในปี 2558 (หลังจากนั้นได้เข้าร่วมในฐานะ BOI) และ เจโทร ได้เข้าร่วมในฐานะผู้จัดหลักตั้งแต่ปีงบประมาณ 2565

วัตถุประสงค์

สนับสนุนการขยายธุรกรรมการค้าของบริษัทไทยและบริษัทญี่ปุ่นขนาดกลางและขนาดย่อมที่มาลงทุนในประเทศไทย

ผู้เข้าร่วมงาน

ฝ่ายญี่ปุ่น:นิติบุคคลหรือสาขาในประเทศไทยของบริษัทญี่ปุ่น

ฝ่ายไทย:บริษัทท้องถิ่นของไทย

รูปแบบการเจรจาธุรกิจ

การเจรจาธุรกิจนี้ใช้ระบบการจับคู่ทั้งสองฝ่ายล่วงหน้า โดยทำการแจกรายชื่อผู้เข้าร่วมล่วงหน้าและรวบรวมคำร้องขอการจับคู่ จากนั้นผู้จัดจะดำเนินการจัดช่วงเวลาการเจรจาธุรกิจระหว่างผู้ที่ยื่นคำร้องตรงกัน


ข่าวสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน+ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทควันนี้

“ซับคอนไทยแลนด์ 2020” ไฮบริด เอ็กซ์ซิบิชั่น จับคู่ธุรกิจชื่นมื่นทะลุ 3.8 พันล้านบาท

บีโอไอเผยผลจัดงานซับคอนไทยแลนด์ 2020 รูปแบบใหม่ “ไฮบริด เอ็กซ์ซิบิชั่น” ตอบโจทย์ยุคนิวนอร์มอล ใช้เทคโนโลยีความรู้เพื่อรักษาระยะห่างทางสังคม เกิดการจับคู่ธุรกิจจำนวน 1,277 คู่ คิดเป็นมูลค่า 3,889 ล้านบาท มีผู้เข้าร่วมงานกว่า 1.2 หมื่นคน นางสาวซ่อนกลิ่น พลอยมี ที่ปรึกษาด้านการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ เปิดเผยถึงผลการจัดงานซับคอนไทยแลนด์ 2020 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 23 – 26 กันยายน ที่ผ่านมา ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา ว่า การจัดงานก่อให้เกิดการจับคู่

สกสว. เครือข่ายเศรษฐกิจและนวัตกรรม เปิดเว... สกสว. - เครือข่ายเศรษฐกิจและนวัตกรรม เปิดเวทีระดมความเห็นแผนยุทธศาสตร์ — สกสว. เครือข่ายเศรษฐกิจและนวัตกรรม เปิดเวทีระดมความเห็นแผนยุทธศาสตร์ อุตฯ เซมิคอน...