ผู้ประสานงานระบบชื่อโดเมนมุ่งตอบสนองต่อภัยคุกคามความมั่นคงปลอดภัยทางอินเทอร์เน็ตที่เกี่ยวเนื่องกับโควิดและสงครามรัสเซีย-ยูเครนแก่ผู้ใช้ทุกราย
โดยปกติแล้วกิจกรรมออนไลน์ที่เป็นอันตรายจะเพิ่มสูงขึ้นในยามที่เกิดวิกฤตการณ์ระดับโลก เช่น การระบาดใหญ่ หรือสงคราม คนร้ายพยายามหาวิธีการใหม่ ๆ ในการติดตั้งมัลแวร์บนอุปกรณ์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ใช้ เพื่อรวบรวมข้อมูลที่อ่อนไหว หรือเพื่อเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ทั้งยังลวงให้ผู้ใช้เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลองค์กร หรือข้อมูลทางการเงินที่ละเอียดอ่อน ซึ่งการหลอกลวงในลักษณะนี้เรียกว่า ฟิชชิ่ง (Phishing)
เพื่อต่อสู้กับมัลแวร์และการโจมตีแบบฟิชชิงทางอินเทอร์เน็ต องค์กรกำกับดูแลการจดทะเบียนชื่อและหมายเลขอินเทอร์เน็ต (The Internet Corporation for Assigned Names and Numbers: ICANN) จึงพัฒนาเครื่องมือตามหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-based) ซึ่งจะระบุชื่อโดเมนที่เข้าข่ายว่าอาจถูกใช้เพื่อจุดประสงค์ที่เป็นอันตรายและมีความเชื่อมโยงกับการระบาดของโควิด-19 และสงครามรัสเซีย-ยูเครน
การรวบรวมและการรายงานข้อมูลภัยคุกคามความปลอดภัยของชื่อโดเมน (Domain Name Security Threat Information Collection and Reporting: DNSTICR) เป็นเครื่องมือนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพและมีความครอบคลุมทางภาษาศาสตร์ เครื่องมือนี้จะช่วยค้นหากิจกรรมที่อาจเป็นอันตรายต่อชื่อโดเมน จากนั้นรายงานให้ผู้รับจดทะเบียนโดเมน (Registrar) ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่ให้บริการจดทะเบียนชื่อโดเมน ได้รับทราบถึงกิจกรรมและข้อมูลพื้นฐานของกิจกรรมที่เป็นอันตรายเหล่านี้ ทั้งนี้ DNSTICR เพิ่มเกราะป้องกันอีกชั้นหนึ่งให้กับ ICANN ในการต่อสู้เพื่อปกป้องผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจากภัยคุกคามความมั่นคงปลอดภัยของระบบชื่อโดเมน (DNS)
นับตั้งแต่โควิดเริ่มระบาด ICANN ได้วิเคราะห์จำแนกคำศัพท์ต่าง ๆ จำนวน 579 คำ ซึ่งนำไปสู่การตรวจสอบชื่อโดเมน 438,819 ชื่อ และพบว่าชื่อโดเมน 23,452 ชื่อ มีความเคลื่อนไหวที่อาจเป็นอันตราย ทั้งนี้ หลังจาก ICANN วิเคราะห์ชื่อโดเมนเหล่านี้และรายงานการโจมตีแบบฟิชชิงแล้ว ผู้รับจดทะเบียนชื่อโดเมนจะมีหลักฐานทั้งหมดที่จำเป็นต่อการตัดสินใจเลือกแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดเพื่อกำจัดภัยคุกคาม
"ICANN มุ่งมั่นที่จะมีส่วนร่วมในความพยายามร่วมกันของภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อลดภัยคุกคามเหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออาชญากรพยายามอาศัยระบบชื่อโดเมนเพื่อเอาเปรียบหรือหาประโยชน์จากผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์" จอห์น เครน (John Crain) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของ ICANN กล่าว
การตอบสนองของ ICANN ต่อภัยคุกคามความปลอดภัยของระบบชื่อโดเมน เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงความพยายามขององค์กรในการให้ข้อมูลที่ตรวจสอบได้ การวิจัยที่เป็นกลาง และความเชี่ยวชาญ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการอภิปรายโดยอาศัยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินการทางเทคนิคของอินเทอร์เน็ต
การพัฒนาเครื่องมือ DNSTICR เป็นอีกความพยายามหนึ่งของ ICANN ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และพันธกิจขององค์กรในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในวงกว้างของผู้เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อทำให้อินเทอร์เน็ตปลอดภัยขึ้น มั่นคงขึ้น และทำงานร่วมกันได้ โดยเมื่อไม่นานมานี้ โครงการลดภัยคุกคามความปลอดภัยระบบชื่อโดเมน (DNS Security Threat Mitigation Program) ของ ICANN ได้เผยแพร่รายงานแนวโน้มการใช้ระบบชื่อโดเมนในทางที่ผิดซึ่งอ้างอิงข้อมูล 4 ปี (อ่านรายงานเรื่อง The Last Four years in Retrospect: A Brief Review of DNS Abuse Trends ได้ที่ https://www.icann.org/en/system/files/files/last-four-years-retrospect-brief-review-dns-abuse-trends-22mar22-en.pdf)
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเครื่องมือนี้ สามารถเข้าชมได้จากหน้าเว็บ DNSTICR โดยเฉพาะ: https://www.icann.org/dnsticr-en
ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดำเนินการของ ICANN ในการลดภัยคุกคามความปลอดภัย DNS: https://www.icann.org/dns-security-threat
เกี่ยวกับ ICANN
ภารกิจของ ICANN คือการรับประกันว่าอินเทอร์เน็ตจะมีความเสถียร ปลอดภัย และเป็นระบบเดียวกันทั่วโลก เมื่อคุณต้องการติดต่อกับผู้อื่นในโลกอินเทอร์เน็ต คุณจะต้องพิมพ์ที่อยู่ ซึ่งอาจเป็นชื่อหรือหมายเลข ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่น ๆ และที่อยู่นั้นจะต้องไม่ซ้ำกับชื่อที่มีอยู่แล้ว เพื่อให้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถหากันได้เจอ โดย ICANN ได้ช่วยประสานงานและสนับสนุนชื่อที่อยู่เฉพาะเหล่านี้ทั่วโลก ทั้งนี้ ICANN ก่อตั้งเมื่อปี 2541 ในฐานะองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรเพื่อประโยชน์สาธารณะ และเป็นชุมชนที่มีสมาชิกจากทั่วทุกมุมโลก
โลโก้ - https://mma.prnewswire.com/media/1810953/ICANN_Logo.jpg
ระบบการตั้งชื่อโดเมน (Domain Name System DNS) มีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อการทำงานของอินเทอร์เน็ต โดยจะทำหน้าที่แปลงชื่อโดเมน เช่น www.abc.com ให้เป็น IP Address เช่น 122.950.34.138 ที่คอมพิวเตอร์ใช้ในการสื่อสารระหว่างกัน โดย DNS นั้น เปรียบเหมือนสมุดโทรศัพท์ ในขณะที่ IP Address เปรียบเสมือนหมายเลขโทรศัพท์นั่นเอง อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่า DNS จะเป็นระบบที่สำคัญและถูกใช้งานมาอย่างยาวนาน แต่การรักษาความปลอดภัยของระบบก็ยังเป็นสิ่งที่ต้องตระหนักถึงเป็นอันดับต้นๆ เพื่อไม่ให้ตกเป็นเป้าหมายของการโจมตีทางไซ
ทรู ไอดีซี ดาต้าเซ็นเตอร์ ไม่หยุดสร้างปรากฎการณ์ใหม่ คว้ารางวัลระดับนานาชาติ ออกแบบ ก่อสร้าง จัดการพลังงานดีที่สุดในไทยเพื่อรองรับ AI
—
ทรู อินเทอร์เน็ต ด...
จากภารกิจห้วงอวกาศสู่โรงงานอัจฉริยะ
—
โจเซฟ คง หัวหน้ากลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมดิจิทัล ซีเมนส์ ประเทศไทย คอมพิวเตอร์, ระบบนำทาง GPS, โทรศัพท์มือถือ,...
Krungthai COMPASS ชี้ Data Center หนุนเศรษฐกิจไทย ดึงเม็ดเงินลงทุนเข้าประเทศกว่า 3.2 แสนล้านบาท
—
ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ชี้บริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของ...
ทรู ไอดีซี คว้า 'Sustainability Impact Award 2024' จากชไนเดอร์ อิเล็คทริค ตอกย้ำผู้นำดาต้าเซ็นเตอร์รักษ์โลก
—
ทรู อินเทอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ (ทรู ไอดีซี...
"Splashing Together" ทรู ดีแทค รวมกัน… สงกรานต์สนุกขึ้นเยอะเลย"
—
สุขยิ่งขึ้น สนุกยิ่งขึ้น สุขใจยิ่งขึ้น ด้วยทีมเน็ตเวิร์กทรูพร้อม AI ที่ดูแลทุกความสนุก 2...
INET จับมือ AWS พลิกโฉมบริการทางการแพทย์ พัฒนา Application Telemedicine สั่งจ่ายยาอัตโนมัติ ผ่านตู้ Advance Vending
—
บริษัท แอดวานซ์ เว็บ เซอร์วิส จำกัด ...
THNIC จับมือ SET และ ICANN จัดงาน UA Day 2025 ใช้โดเมนและอีเมลภาษาไทย ปูทางธุรกิจไทยก้าวสู่สากล
—
มูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย (ทีเอชนิค) ร่วมกับตลาดห...
ICANN เตรียมเปิดรับสมัคร New gTLDs รอบใหม่ในรอบ 13 ปี - THNIC จัดสัมมนาให้ข้อมูลเชิงลึก
—
มูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย (THNIC) จัดสัมมนาพิเศษให้ข้อมูล...
OSD เปิดโรดแมปปี 2568 เตรียมจัดงาน "OSD E-Connect 2025" รุกใช้ AI เร่งดิจิทัลทรานสฟอร์เมชัน พลิกโฉมอนาคตประเทศและวงการ IT
—
บริษัท โอ เอส ดี จำกัด หรือ OS...