จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขยายระยะเวลาของข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันอุดมศึกษา หน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจ จำนวน 87 แห่ง ในการใช้โปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ออกไปอีกเป็นเวลา 5 ปี จนถึงวันที่ 26 มีนาคม 2570 พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับสถาบันอุดมศึกษา หน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจต่างๆ ในการขยายเวลาข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการฯ จัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์ผ่านทางโปรแกรม Zoom เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม 2565 โดยมีนายวันนี นนท์ศิริ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานกล่าวเปิดงานและร่วมเป็นสักขีพยาน กล่าวรายงานโดย รศ.ดร.ยุทธนา ฉัพพรรณรัตน์ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยริเริ่มพัฒนา "โปรแกรมอักขราวิสุทธิ์" เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยตรวจสอบการลอกเลียนวรรณกรรมทางวิชาการของบุคคลอื่นจนสำเร็จตั้งแต่ปี 2556 และในปี 2557 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีนโยบายอนุญาตให้สถาบันการศึกษา หน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจใช้งานโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย โดยทำความร่วมมือทางวิชาการกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระยะเวลา 8 ปีที่ผ่านมา มีสถาบันการศึกษา หน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจ จำนวนทั้งสิ้น 150 แห่ง ให้ความสนใจใช้โปรแกรมอักขราวิสุทธิ์และร่วมทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อขยายเครือข่ายความร่วมมือในการตรวจสอบการลอกเลียนวรรณกรรมในวิทยานิพนธ์ งานวิจัย และผลงานทางวิชาการ โดยใช้โปรแกรมอักขราวิสุทธิ์
นายวันนี นนท์ศิริ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้นอกจากจะเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายทางวิชาการที่ใช้งานโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ในการตรวจสอบการลอกเลียนวรรณกรรมแล้ว ยังเป็นการแสดงจุดยืน เจตนารมณ์ และความมุ่งมั่นของสถาบันการศึกษาต่าง ๆ หน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจต่อการแก้ไขปัญหาการลอกเลียนวรรณกรรม ที่กำลังเป็นปัญหาคุกคามอยู่ในแวดวงวิชาการในปัจจุบัน และยังเป็นอีกหนึ่งมาตรการสำคัญในการปลูกฝังความซื่อสัตย์ ซึ่งเป็นคุณธรรมสำคัญของนิสิตนักศึกษา นักวิชาการ ทั้งในแวดวงการศึกษาและวงวิชาการต่าง ๆ รวมถึงการร่วมมือกันส่งเสริมและผลักดันเพื่อสร้างและขยายฐานข้อมูลอ้างอิง เพื่อการตรวจสอบการลอกเลียนวรรณกรรมของประเทศไทยให้มีความแข็งแกร่งและเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งต้องได้รับความร่วมมือจากทุกสถาบันการศึกษา และหน่วยงานด้านการศึกษาและวิชาการ
รศ.ดร.ยุทธนา ฉัพพรรณรัตน์ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ กล่าวว่า โปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ริเริ่มจากแนวคิดของ รศ.ดร.อมร เพชรสม อดีตคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ เป็นการสร้างมาตรฐานในการป้องกันการลักลอกผลงานวิชาการเพื่อสร้างจิตสำนึกให้กับนิสิตนักศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ ไม่หยุดนิ่งที่จะพัฒนาปรับปรุงระบบโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อต่อยอดไปสู่ความเป็น "อักขราวิสุทธิ์ (พลัส)" โดยมีการขยายฐานข้อมูลต่างๆ เช่น ฐานข้อมูลงานวิจัยกับศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index Centre) หรือ TCI รวมไปถึงฐานข้อมูลสำคัญอื่นๆ เพื่อเป็นแหล่งอ้างอิงในการตรวจสอบการลอกเลียนวรรณกรรมที่กว้างขวางยิ่งขึ้น
รศ.ดร.ยุทธนา เผยว่าการลงนามความร่วมมือในครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงสัญลักษณ์ของการตระหนักรู้ในเรื่องจริยธรรมทางงานวิชาการซึ่งไม่ได้อยู่ในระดับอุดมศึกษาเท่านั้น เนื่องจากยังมีปัญหาทับซ้อนอยู่ในการลอกเลียนงานวรรณกรรมในทุกระดับของการศึกษาและวิชาชีพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเล็งเห็นถึงความสำคัญจึงได้ขยายระยะเวลาการใช้โปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ต่อไปอีก 5 ปีและไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการใช้งาน เพื่อให้เกิดคลังข้อมูลขนาดใหญ่ด้านวิชาการของประเทศไทย
"จุฬาฯ ได้พันธมิตรสำคัญมากมายในการสร้างความร่วมมือใช้โปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ (พลัส) การได้ฐานข้อมูลสำคัญของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai Journal Citation Index Centre หรือ TCI) จะทำให้เกิดความแม่นยำสูงในการตรวจจับการทำซ้ำ ลอกเลียนวรรณกรรมได้ดียิ่งขึ้น หวังว่าโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ (พลัส) จะกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการให้บริการกลางในการเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลด้านวิชาการะหว่างกระทรวงต่างๆ ให้เกิดเป็น Academic Public Service เพื่อให้บริการทั้งประเทศไทยในอนาคต" รศ.ดร.ยุทธนา กล่าวทิ้งท้าย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานแถลงข่าวความร่วมมือทางวิชาการระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ภายใต้ชื่อ "จุฬาฯ การบินไทย: ความรู้คู่ฟ้า Chula-TG: Be the Star in the Sky of Knowledge" เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2568 ณ เรือนจุฬานฤมิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีผู้บริหารระดับสูงของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ร่วมแสดงวิสัยทัศน์และประกาศความพร้อมในการเดินหน้าสู่ยุคใหม่ของการพัฒนาความรู้และศักยภาพบุคลากรอย่างยั่งยืน ภายในงานได้รับเกียรติจากศาสตราจารย์
เครือ รพ.พญาไท-เปาโล ลงนามความร่วมมือกับ จุฬาฯ พลิกโฉมการเรียนรู้ด้วยหลักสูตร 625 Hybrid Learning AI in Hospital
—
เครือโรงพยาบาลพญาไท-เปาโล นำโดย นายอัฐ ...
จุฬาฯ จับมือ 6 พันธมิตร AI ชั้นนำเปิดหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง NEXUS AI ตามวิสัยทัศน์ AI University
—
ผู้นำยุคใหม่ต้องมีความรู้ความเข้าใจในปัญญาประดิษฐ์ A...
ถอดบทเรียน Passion with Purpose
—
ผู้บริหารบางจากฯ จุดประกายผู้นำรุ่นใหม่ รู้คุณค่าและรักในสิ่งที่ทำ สู่ความยั่งยืน นางกลอยตา ณ ถลาง รองกรรมการผู้จัดการ...
ขอเชิญเข้าร่วมฟังงาน Research Seminar ในหัวข้อ: AI, MARKETING ROBOTS AND LOVE
—
พบกับการบรรยายที่เปิดมุมมองใหม่อย่างชัดเจนเกี่ยวกับผลกระทบของ Artificial I...
เปิดโลกอุตสาหกรรมสีเขียว! ดั๊บเบิ้ล เอ ต้อนรับนิสิตวิศวฯ จุฬาฯ เยี่ยมชมโรงงานผลิตกระดาษ
—
ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับนิสิตชั้นปีที่ 4 ภาควิชาวิศวกรรมเคมี...
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ขอเชิญร่วมฟังการเสวนา "SPEED RUN 2025 : จาก 0 สู่ 100 ล้าน โตเร็วกว่าใครในโลกออนไลน์"
—
ใครที่มองหาโอกาสสร้างธุรกิจออนไลน์ให้เติบโต ห้าม...
จุฬาฯ อันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทย จากการจัดอันดับโดย THE Asia University Rankings 2025
—
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังคงครองอันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทย และ Top 200 ของ...
ครั้งแรก MAY DAY SIAM SQUARE ครั้งแรก!! จุฬาฯ รวมพลังหมอ พยาบาล อาจารย์ นิสิต ตรวจสุขภาพฟรี! กลางสยามสแควร์
—
จุฬาฯ รวมพลัง หมอ พยาบาล อาจารย์ นิสิต และพั...