ประชาคมแห่งโชคชะตาร่วมกัน กับความสัมพันธ์ อาเซียน-จีน

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

ในการสัมมนาเรื่อง "ผู้นำรุ่นใหม่ไทย กับประชาคมแห่งโชคชะตาร่วมกัน อาเซียน-จีน" ที่จัดโดย สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย ร่วมกับศูนย์สื่อสารเอเชียแปซิฟิก สำนักสารนิเทศต่างประเทศแห่งประเทศจีน เมื่อวันพุธที่ 29 มิถุนายนที่ผ่านมา ณ ห้องประชุม สถาบันขงจื่อแห่งจุฬาฯ อาคารบรมราชกุมารี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาเรื่อง "ความร่วมมืออาเซียน-จีน กับความมั่นคงภูมิภาค" และนายหาน จื้อเฉียง เอกอัครราชทูต สาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำประเทศไทย กล่าวปาฐกถาเรื่อง "มือประสานมือสร้างโชคชะตา ใจประสานใจสร้างอนาคตของชาติ"

ประชาคมแห่งโชคชะตาร่วมกัน กับความสัมพันธ์ อาเซียน-จีน

นายอภิสิทธิ์กล่าวในตอนหนึ่งว่า กรณีของประเทศจีนนั้นเป็นที่ชัดเจนว่าในรอบหลาย 10 ปีที่ผ่านมา เป็นประเทศที่มีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมากที่สุดประเทศหนึ่งในโลก สามารถแก้ไขปัญหาความยากจนภายในประเทศและได้มีความพยายามที่จะกระจายความเจริญต่าง ๆ ให้เกิดความเสมอภาคมากขึ้น ความสำเร็จทางเศรษฐกิจของจีนจึงนำมาสู่บทบาทในเวทีระหว่างประเทศทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองและความมั่นคงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งย่อมมาควบคู่กับความรับผิดชอบที่สูงขึ้นและการถูกตรวจสอบจากประชาคมโลกพร้อม ๆ กันไป ประชาคมแห่งโชคชะตาร่วมกัน กับความสัมพันธ์ อาเซียน-จีน

สำหรับอาเซียนนั้นก็ได้รับการยอมรับว่าเป็นภูมิภาคซึ่งมีพลังสำคัญทางด้านเศรษฐกิจเช่นเดียวกันและยังสามารถเป็นศูนย์กลางในการสร้างเวทีระหว่างประเทศ เช่น การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก เวทีเกี่ยวกับความมั่นคงในภูมิภาค หรือ ARF

แต่ทั้งอาเซียนและจีนก็ยังถูกตั้งคำถามเกี่ยวกับปัญหาประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน และหลายครั้งเงื่อนไขเหล่านี้ก็ถูกนำมาเป็นอุปสรรคที่เกี่ยวข้องกับความร่วมมือทางด้านการค้าการลงทุนและเศรษฐกิจด้วย ซึ่งปัญหาเหล่านี้ก็เป็นเรื่องที่ทุกประเทศที่เกี่ยวข้องในภูมิภาค จะต้องใคร่ครวญและแสวงหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาคมโลกต่อไป

ด้านเอกอัครราชทูตจีน กล่าวว่า จีนถือว่าอาเซียนมีความสำคัญเป็นอันดับแรกในการทูตกับประเทศเพื่อนบ้านมาโดยตลอด จีนเป็นประเทศแรกในกลุ่มคู่เจรจาของอาเซียนที่เข้าร่วม "สนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" เป็นประเทศแรกที่จัดตั้งหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์กับอาเซียน เป็นประเทศแรกที่สนับสนุนอย่างชัดเจนให้อาเซียนเป็นศูนย์กลางความร่วมมือในภูมิภาค เราส่งเสริมความเข้าใจและความไว้เนื้อเชื่อใจกันผ่านการสื่อสารที่เป็นมิตร แสวงหาจุดร่วมและสงวนความแตกต่างในการแก้ไขปัญหา ร่วมกันพิทักษ์สันติภาพและความสงบสุขในเอเชียตะวันออก และร่วมกันรักษาทิศทางที่ถูกต้องของความร่วมมือในเอเชียตะวันออก

หลังการปาฐกถาเป็นการเสวนาหัวข้อ "ความร่วมมืออาเซียน-จีนในสายตาผู้นำรุ่นใหม่ไทย" โดยวิทยากรประกอบด้วย นายอุดม สุขสุดประเสริฐ อดีตนายกสมาคมธุรกิจไทยรุ่นใหม่ นางสาวธิดารัตน์ ยิ่งเจริญ ผู้อำนวยการศูนย์นโยบาย พรรคไทยสร้างไทย ดร.วิรุฬห์ พิชัยวงศ์ภักดี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางไทย-จีน นายจตุรงค์ กอบแก้ว บรรณาธิการข่าว EEC NEWS นางสาวอรทิพย์ ทัศนีย์ทอง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม บริษัท ไทยเจียระไน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ดำเนินรายการโดย นายชัยวัฒน์ วนิชวัฒนะ อดีตนายกสมาคมผู้สื่อข่าวไทย-จีน และบรรณาธิการ The Leader Asia

สรุปเนื้อหาจากเวทีเสวนา วิทยากรทุกท่านเห็นตรงกันว่าอาเซียนกับจีนมีความสัมพันธ์ที่ดี โดยจีนเข้าไปมีความสัมพันธ์โดยตรงในแต่ละประเทศแตกต่างกันไป ทั้งด้านการศึกษา การเมือง การค้าการลงทุน อุตสาหกรรมบันเทิง แม้แต่ในด้านข่าวสาร หากอาเซียนที่มีประชากร 600 ล้านคน จับมือกับจีนที่มีประชากร 1,400 ล้านคน รวมเป็น 2,000 ล้านคนจะเป็นพลังที่แข็งแกร่งมาก

ในยุคระเบียบโลกใหม่ ความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียน-จีน ยังคงมีหลากหลายมิติ ทั้งความเป็นหุ้นส่วน ความเป็นเพื่อน หรือความเป็นพี่น้อง อย่างไรก็ตามสมาชิกอาเซียนยังต้องเรียนรู้จีนอีกหลายเรื่องให้ลึกซึ้ง อาทิ โครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (BRI) ที่จีนต้องการต่อเชื่อมนานาประเทศ ความสำเร็จในการขจัดความยากจนของจีน การเสียสละของผู้นำจีน และการให้ประชาชนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาประเทศ


ข่าวจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย+สาธารณรัฐประชาชนจีนวันนี้

จุฬาฯ หนึ่งเดียวของไทย ชนะเลิศรางวัลเอเชีย "THE Awards Asia 2025" ประเภท Technological or Digital Innovation of the Year จาก "MDCU MedUMORE"

แพลตฟอร์ม Online Learning "MDCU MedUMORE" โดยคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้รับรางวัลชนะเลิศ THE Awards Asia 2025 ในประเภทรางวัล Technological or Digital Innovation of the Year ซึ่งมีการประกาศผล Winner THE Awards Asia 2025 ในงาน THE Asia Universities Summit เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2568 ณ Macau University of Science and Technology เขตบริหารพิเศษมาเก๊าแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน โดย ศ.พญ.นิจศรี ชาญณรงค์ รองคณบดีฝ่ายบริการวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ

รศ.ดร.ชัยพงษ์ พงษ์พานิช ผู้อำนวยการ Sasin... ศศินทร์ร่วมกับ Fudan University School of Management จัดโครงการ Action Learning — รศ.ดร.ชัยพงษ์ พงษ์พานิช ผู้อำนวยการ Sasin Management Consulting ให้การต้...

ผู้นำยุคใหม่ต้องมีความรู้ความเข้าใจในปัญญ... จุฬาฯ จับมือ 6 พันธมิตร AI ชั้นนำเปิดหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง NEXUS AI ตามวิสัยทัศน์ AI University — ผู้นำยุคใหม่ต้องมีความรู้ความเข้าใจในปัญญาประดิษฐ์ A...

ผู้บริหารบางจากฯ จุดประกายผู้นำรุ่นใหม่ ร... ถอดบทเรียน Passion with Purpose — ผู้บริหารบางจากฯ จุดประกายผู้นำรุ่นใหม่ รู้คุณค่าและรักในสิ่งที่ทำ สู่ความยั่งยืน นางกลอยตา ณ ถลาง รองกรรมการผู้จัดการ...

พบกับการบรรยายที่เปิดมุมมองใหม่อย่างชัดเจ... ขอเชิญเข้าร่วมฟังงาน Research Seminar ในหัวข้อ: AI, MARKETING ROBOTS AND LOVE — พบกับการบรรยายที่เปิดมุมมองใหม่อย่างชัดเจนเกี่ยวกับผลกระทบของ Artificial I...

ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับนิสิตชั้นปีที... เปิดโลกอุตสาหกรรมสีเขียว! ดั๊บเบิ้ล เอ ต้อนรับนิสิตวิศวฯ จุฬาฯ เยี่ยมชมโรงงานผลิตกระดาษ — ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับนิสิตชั้นปีที่ 4 ภาควิชาวิศวกรรมเคมี...

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังคงครองอันดับ 1 มห... จุฬาฯ อันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทย จากการจัดอันดับโดย THE Asia University Rankings 2025 — จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังคงครองอันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทย และ Top 200 ของ...