ศูนย์ภาพวินิจฉัยและร่วมรักษาเพื่อปวงชน เปิดตัวเทคโนโลยี "MRIHIFU" รักษาผู้ป่วยโรค "Essential Tremor" โรคสั่นโดยไม่ทราบสาเหตุรายแรก

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

ศูนย์ภาพวินิจฉัยและร่วมรักษาเพื่อปวงชน เปิดตัวเทคโนโลยี "MRIHIFU" รักษาผู้ป่วยโรค "Essential Tremor" โรคสั่นโดยไม่ทราบสาเหตุรายแรก ณ ศูนย์การแพทย์จุฬาภรณ์เฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

ศูนย์ภาพวินิจฉัยและร่วมรักษาเพื่อปวงชน เปิดตัวเทคโนโลยี "MRIHIFU" รักษาผู้ป่วยโรค "Essential Tremor" โรคสั่นโดยไม่ทราบสาเหตุรายแรก

เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2565 ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงจิรพร เหล่าธรรมทัศน์ ผู้ช่วยเลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และคณบดีคณะเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ นำคณะผู้เชี่ยวชาญนำโดย Dr. Yamamoto Neurosurgeon จากประเทศญี่ปุ่น พร้อมด้วยทีมแพทย์และเจ้าหน้าที่ศูนย์ภาพวินิจฉัยและร่วมรักษาเพื่อปวงชน ดำเนินการให้การรักษาผู้ป่วยโรค Essential Tremor หรือโรคสั่นโดยไม่ทราบสาเหตุรายแรก ด้วยเทคโนโลยี MRI guided focus Ultrasound technique หรือ MRIHIFU เทคโนโลยีจากศูนย์ภาพวินิจฉัยและร่วมรักษาเพื่อปวงชน ณ ศูนย์การแพทย์จุฬาภรณ์เฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ โดยผู้ป่วยเป็นชายอายุ 69 ปี มีอาการมือสั่นจนไม่สามารถหยิบแก้วน้ำ และเขียนหนังสือได้ มีผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก ซึ่งหลังจากเข้ารับการรักษา ด้วย MRI guided focus Ultrasound technique ทำให้มือข้างซ้ายที่ได้รับการรักษาไม่มีอาการสั่น ผู้ป่วยสามารถวาดเส้นวงกลมและขีดเส้นตรง ลายเส้นมั่นคง ช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้นอย่างชัดเจน ศูนย์ภาพวินิจฉัยและร่วมรักษาเพื่อปวงชน เปิดตัวเทคโนโลยี "MRIHIFU" รักษาผู้ป่วยโรค "Essential Tremor" โรคสั่นโดยไม่ทราบสาเหตุรายแรก

สำหรับการนำเข้าเทคโนโลยี MRI guided focus Ultrasound technique หรือ MRIHIFU ของศูนย์ภาพวินิจฉัยและร่วมรักษาเพื่อปวงชนถือเป็นอีกหนึ่งวิทยาการแพทย์ขั้นสูงที่ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์นำเข้ามาเพื่อให้การรักษา และวิจัยผู้ป่วยที่มีอาการสั่นโดยไม่ทราบสาเหตุ จนมีผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน เพื่อให้ผู้ป่วยได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นหลังการรักษา สนองพระปณิธานใน ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี องค์ประธานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ที่ทรงมีพระวิสัยทัศน์อันกว้างไกลในการยกระดับการแพทย์ไทยด้วยการนำเทคโนโลยีและวิทยาการขั้นสูงมาใช้เพื่อดูแลรักษาผู้ป่วยให้ได้รับการรักษาที่ได้มาตรฐานอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม

โรคสั่นโดยไม่ทราบสาเหตุ (Essential Tremor) และอาการสั่นบางชนิดของโรคพาร์กินสัน (Tremor Dominant Parkinson's Disease) เป็นอาการทางระบบประสาทที่ทำให้ไม่สามารถควบคุมอาการสั่นของอวัยวะต่างๆ เช่น มือ ศีรษะ และเสียง รวมถึงแขน ขา และลำตัวได้ ในระยะแรกอาการจะไม่รุนแรง แต่จากนั้นจะค่อยๆ พัฒนาขึ้น ในผู้ป่วยบางรายนั้นอาการสั่นจะมีความรุนแรงถึงขั้นที่ทนไม่ได้ เป็นอุปสรรคอย่างยิ่งต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การทานอาหาร แต่งตัว และเขียนหนังสือ อีกทั้งยังจำกัดความเป็นอิสระในการใช้ชีวิต เมื่ออาการของโรคมีพัฒนาการขึ้น ท้ายที่สุดแล้วผู้ป่วยบางรายจะไม่สามารถหยิบจับช้อนส้อมทานอาหารหรือยกแก้วน้ำขึ้นดื่มเองได้ คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยถือเป็นปัญหาสำคัญเนื่องจากกิจกรรมในชีวิตประจำวันทั่วไปอย่างการทานอาหาร ดื่มน้ำ แต่งตัว และเขียนหนังสือจะกลายเป็นเรื่องยากไปโดยสิ้นเชิง

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการสั่นโดยไม่ทราบสาเหตุ สามารถติดต่อนัดหมายได้ที่เบอร์ 0 2576 6229 เพื่อเข้ารับการปรึกษาได้ที่ คลินิกอายุรกรรมประสาทวิทยา อาคารศูนย์การแพทย์มะเร็งวิทยาจุฬาภรณ์ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์


ข่าวจิรพร เหล่าธรรมทัศน์+ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์วันนี้

ศาสตราจารย์คลินิก แพทย์หญิงโฉมศรี โฆษิตชัยวัฒน์ อธิการบดีวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ เป็นประธานในพิธีมอบประกาศนียบัตรแก่ผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรการอบรมระยะสั้นภายใต้แผนงานวิจัย

ศาสตราจารย์คลินิก แพทย์หญิงโฉมศรี โฆษิตชัยวัฒน์ อธิการบดีวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ เป็นประธานในพิธีมอบประกาศนียบัตรแก่ผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรการอบรมระยะสั้นภายใต้แผนงานวิจัย พื้นที่จังหวัดลำปาง หลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุ 420 ชั่วโมง จำนวน 37 คน และพิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณแก่องค์กรเครือข่ายทางวิชาการ และงานวิจัย โดยมีศาสตราจารย์ แพทย์หญิงจิรพร เหล่าธรรมทัศน์ รองเลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ คณบดีคณะเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพ ร่วมด้วยเครือข่ายทางวิชาการ และงานวิจัย

เปิดรั้วปี 65 … คณะเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์

ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงจิรพร เหล่าธรรมทัศน์ คณบดีคณะเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพ จัดงาน เปิดรั้วอย่างเป็นทางการครั้งแรก คณะเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ซึ่งมีพันธกิจ คือ...

การประชุมวิชาการประจำปี ครั้งที่ 51 ราชวิทยาลัยรังสีแพทย์และรังสีวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว กรุงเทพฯ

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล (คนที่ 4 จากซ้าย) รองนายกรัฐมนตรี และคณะกรรมการสรรหาด้านพลังงาน ให้เกียรติเป็นวิทยากรกิตติมศักดิ์ ในการประชุมวิชาการประจำปีครั้งที่ 51...