เชิดชูเกียติ 3 นักวิทยาศาสตร์ด้านเครื่องอนุภาคผู้มีผลงานโดดเด่น และสร้างคุณประโยชน์แก่วงการ ทั้งผู้สร้างคุณประโยชน์ยาวนาน และนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ที่เริ่มสร้างสรรผลงานที่มีประโยชน์ โดยมอบรางวัลภายในงานประชุมวิชาการเครื่องเร่งอนุภาคระดับโลก IPAC'22 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดงาน โดยสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
ดร.ประพงษ์ คล้ายสุบรรณ์ ประธานคณะกรรมการบริหารการจัดงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านเครื่องเร่งอนุภาค 13th International Particle Accelerator Conference หรือ IPAC'22 เป็นประธานในพิธีมอบรางวัล Accelerator Awards แก่นักวิทยาศาสตร์เครื่องเร่งอนุภาคภายในงาน IPAC'22 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 12-17 มิถุนายน 2565 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี จ.นนทบุรี
1. รางวัลเซี่ยจยาหลิน (The Xie Jialin Prize) สำหรับผู้มีผลงานโดดเด่นในวงการเครื่องเร่งอนุภาค โดยปีนี้มอบให้แก่ ศ.เจิ้นถัง เจ้า (Prof. Zhentang Zhao) ผู้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาทฤษฎีเลเซอร์อิเล็กตรอนอิสระ (FEL Theory) และผลิตเลเซอร์จากทฤษฎีดังกล่าว ซึ่งมีความสำคัญต่อห้องปฏิบัติต่างๆ ทั่วโลก
2. รางวัลนิชิกาวา เทซึจิ (The Nishikawa Tetsuji Prize) สำหรับผู้มีบทบาทสำคัญต่อวงการเครื่องเร่งอนุภาคในชั่วโมงนี้ โดยปีนี้มอบให้แก่ ดร.เสียวเปียว หวง (Dr.Xiaobiao Huang) จากบทความในวงการเครื่องเร่งอนุภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลงานออกแบบและเดินเครื่องเร่งอนุภาค การวิเคราะห์พลศาสตร์ของลำอนุภาค ตลอดจนควบคุมและปรับลำอนุภาคให้เหมาะสม
3. รางวัลโฮกิล คิม (The Hogil Kim Prize) สำหรับนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ที่เพิ่งเริ่มทำงานและสร้างผลงานสำคัญแก่วงการเครื่องเร่งอนุภาค โดยปีนี้มอบให้แก่ ดร.แดเนียล วิงก์เลห์เนอร์ (Dr.Daniel Winklehner) จากผลงานการพัฒนานวัตกรรมสำหรับออกแบบเครื่องไซโครตรอน (Cyclotron) ขนาดเล็กที่สร้างโอกาสในการประยุกต์ใช้งานทางฟิสิกส์อนุภาคและการประยุกต์ใช้ทางด้านอุตสาหกรรม
ทางด้าน ดร.ฐาปกรณ์ ภู่ลำพงษ์ คณะทำงานจัดประชุมวิชาการนานาชาติ ฝ่ายวิชาการ และ หัวหน้าส่วนพลศาสตร์และอุปกรณ์ลำอนุภาค สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน กล่าวว่า "รางวัล Accelerator Awards เป็นรางวัลที่มอบกันเป็นประจำทุกปีภายในงานประชุมวิชาการ IPAC โดยแบ่งประเภทรางวัล ให้แก่นักวิทยาศาสตร์ผู้สร้างคุณประโยชน์แก่วงการเครื่องเร่งอนุภาคมายาวนานและมีผลงานโดดเด่น รวมถึงนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่และนักศึกษาทางด้านเครื่องเร่งอนุภาค ซึ่งชื่อรางวัลในแต่ละประเภทจะเปลี่ยนไปตามทวีปเจ้าภาพการจัดงาน"
รางวัลสำหรับนักวิทยาศาสตร์เครื่องเร่งอนุภาคภายในงาน IPAC2022 ซึ่งปี พ.ศ.2565 นี้เป็นวาระการจัดงานของเจ้าภาพในทวีปเอเชีย ชื่อรางวัลแต่ละประเภทจึงเป็นชื่อนักฟิสิกส์เครื่องเร่งอนุภาคเชื้อสายเอเชียที่มีคุณูปการและบทบาทสำคัญต่อวงการเครื่องเร่งอนุภาค ได้แก่ รางวัลเซี่ยจยาหลิน ซึ่งตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ ศ.เซี่ยจยาหลิน นักฟิสิกส์เชื้อสายจีนผู้บุกเบิกการพัฒนาเครื่องเร่งอนุภาคเพื่อใช้บำบัดมะเร็ง รางวัลนิชิกาวา เทซึจิ ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ ชิกาวา เทซึจิ นักฟิสิกส์เชื้อสายญี่ปุ่นเชี่ยวชาญด้านพลศาสตร์ลำแสงของเครื่องเร่งอนุภาคเชิงเส้น และรางวัลโฮกิล คิม ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ ศ.โฮกิล คิมนักฟิสิกส์และนักการศึกษา ผู้บุกเบิกโครงการเครื่องเร่งอนุภาคขนาดใหญ่ในเกาหลีใต้ และประสบความสำเร็จในฐานะนักฟิสิกส์เครื่องเร่งอนุภาคที่สถาบันการศึกษาในสหรัฐฯ
สำหรับงานประชุม IPAC2022 เป็นการประชุมวิชาการด้านเครื่องเร่งอนุภาคที่มีความสำคัญและใหญ่ที่สุดของโลก และจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีโดยเวียนการเป็นเจ้าภาพใน 3 ทวีป คือ เอเชีย(รวมออสเตรเลีย) ยุโรป และอเมริกาเหนือ-อเมริกาใต้ และมีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งนักวิชาการ ผู้สนใจจากหลากหลายสาขาอาชีพ เช่น นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย วิศวกร และผู้ประกอบการด้านเครื่องเร่งอนุภาค มีการนำเสนอข้อมูลล่าสุดของการวิจัยและข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับเครื่องเร่งอนุภาคทั่วโลก รวมทั้งการนำงานวิจัย เทคโนโลยี หรือนวัตกรรมไปประยุกต์ใช้จริงในห้องปฏิบัติการ และในภาคอุตสาหกรรม โดยมีผู้ส่งบทคัดย่องานวิจัยมากกว่า 1,000 เรื่อง มีผู้เข้าร่วมประชุมจากต่างประเทศประมาณ 800 คน และการแสดงสินค้าของผู้ประกอบการทางด้านเครื่องเร่งอนุภาคประมาณ 60 บูท
สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) จัดกิจกรรม "ค่ายลำแสงซินโครตรอน แสงแห่งอนาคต" ให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนจิตรลดา พร้อมฐานการทดลองวิทยาศาสตร์ ชูไฮไลท์การจำลองสถานการณ์คดีฆาตกรรมเพื่อสืบหาคนร้ายจากเศษขนด้วยเทคนิคการถ่ายภาพเอกซเรย์ 3 มิติ และฐานการทดลองเพื่อเข้าใจพื้นฐานเทคโนโลยีเครื่องเร่งอนุภาคและเทคโนโลยีแสงซินโครตรอน ดร.ประพงษ์ คล้ายสุบรรณ์ ประธานคณะทำงานจัดกิจกรรมศึกษาเทคโนโลยีแสงซินโครตรอนสำหรับโรงเรียนจิตรลดา
เปิดโลกซินโครตรอนให้นักเรียนราชสีมาวิทยาห้องเรียนพิเศษและความสามารถพิเศษด้านวิทย์-คณิต
—
สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยา...
มหกรรมวิทย์ โดย กระทรวง อว. ชวนสัมผัส “ซินโครตรอนในชีวิตประจำวัน”
—
สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตก...
ปตท. ผนึก สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน มุ่งยกระดับและพัฒนานวัตกรรมขั้นสูงโดยใช้ประโยชน์จากแสงซินโครตรอน
—
ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่...
TCELS นำเสนอเทคโนโลยีโปรตอนลดความเหลื่อมล้ำ ต้อนรับรองนายกอนุทิน
—
ดร.จิตติ์พร ธรรมจินดา ผู้อำนวยการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หร...
จัดค่ายนักวิทยาศาสตร์น้อยท่องแดนซินโครตรอน สร้างแรงบันดาลใจเส้นทางอาชีพเยาวชน
—
สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิ...
ซินโครตรอนร่วมอนุรักษ์มรดกโลก "เมืองโบราณศรีเทพ" ถอดสูตรอิฐยุคก่อนประวัติศาสตร์
—
ดร.วุฒิไกร บุษยาพร นักวิทยาศาสตร์ระบบลำเลียงแสง สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน...
มิตรผล-ซินโครตรอนจับมือร่วมวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์บนเส้นทาง Net Zero
—
บริษัท มิตรผลวิจัย พัฒนาอ้อยและน้ำตาล จำกัด และสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ...
ซินโครตรอน-ม.พะเยาจับมือสร้างเครือข่ายงานวิจัยเข้มแข็งระหว่างหน่วยงานภาครัฐ
—
สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจั...