ฟิทช์คงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของ บล.ฟินันเซีย ไซรัส ที่ 'BBB+(tha) แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) ประกาศคงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของ บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) หรือ FSS ที่ 'BBB+(tha)' โดยมีแนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ พร้อมกันนี้ฟิทช์ประกาศคงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นที่ 'F2(tha)'

ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต
อันดับเครดิตมีปัจจัยสนับสนุนจากความแข็งแกร่งทางการเงินของบริษัท: อันดับเครดิตของ FSS สะท้อนถึงการที่บริษัทมีเครือข่ายธุรกิจสำหรับกลุ่มลูกค้ารายย่อยที่แข็งแกร่งในอุตสาหกรรมหลักทรัพย์ของประเทศไทยซึ่งมีการแข่งขันสูง และการมีการกระจุกตัวของรายได้ที่มาจากธุรกิจนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ในสัดส่วนที่ค่อนข้างสูง รวมทั้งการมีความเสี่ยงในด้านการดำเนินงานตามแผนธุรกิจ (Execution risks) จากแผนการกระจายรายได้ไปในธุรกิจอื่น และอันดับเครดิตยังพิจารณาถึงฐานะเงินทุนและสภาพคล่องของ FSSที่อยู่ในระดับพอเพียง ซึ่งน่าจะช่วยเป็นกันชนและบรรเทาผลกระทบจากความเสี่ยงที่คาดไม่ถึงได้

การดำเนินธุรกิจที่พึ่งพาภาวะตลาดทุน: FSS ยังคงเป็นหนึ่งใน 5 บริษัทหลักทรัพย์ในประเทศไทยที่มีปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์มากที่สุดอย่างต่อเนื่อง ด้วยส่วนแบ่งการตลาดที่ 5.4% ณ สิ้นเดือนกันยายน ปี 2565 แต่อย่างไรก็ตาม การกระจายรายได้ยังค่อนข้างกระจุกตัว โดยธุรกิจหลักทรัพย์ยังคิดเป็น 80% ของรายได้รวม ในช่วง 6 เดือนแรกปี 2565 เทียบกับค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมที่ 55% ซึ่งทำให้ผลประกอบการของบริษัทต้องพึ่งพิงกับสภาวะตลาดการซื้อขายหลักทรัพย์
ทั้งนี้ความพยายามอย่างต่อเนื่องของบริษัทในการเพิ่มสัดส่วนของรายได้นอกเหนือจากธุรกิจซื้อขายหลักทรัพย์ เช่น รายได้จากค่าธรรมเนียมจากธุรกิจ wealth management จะช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งของโครงสร้างธุรกิจ แต่อย่างไรก็ตามรายได้จากธุรกิจดังกล่าวยังมีสัดส่วนค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับธุรกิจโดยรวมของบริษัท

ความสามารถในการทำกำไรที่ผันผวน: ฟิทช์คาดว่าว่าความสามารถในการทำกำไรของ FSS จะยังคงมีความผันผวนค่อนข้างมาก จากการพึ่งพารายได้จากการธุรกิจหลักทรัพย์ที่ผันผวนตามภาวะตลาด อัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานต่อส่วนของผู้ถือหุ้นเฉลี่ย (operating profit/average equity) ของ FSS ปรับลดลงเป็น 9.4% ในงวด 9 เดือนแรกปี 2565 จาก 14.6% ในปี 2564 ซึ่งสอดคล้องกับภาวะอุตสากรรมที่ปรับตัวชะลอลง ซึ่งเห็นได้จากปริมาณการซื้อขายของตลาดที่ลดลง 13.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ในอดีตบริษัทมีเคยมีรายได้ที่ผันผวนมากกว่าระดับปัจจุบันเนื่องจากความผันผวนของรายได้ที่มาจากธุรกิจซื้อขายหลักทรัพย์กลุ่มลูกค้ารายย่อย

มีสัดส่วนหนี้สินปานกลาง: ฟิทช์คาดว่า FSS จะสามารถรักษาการระดับหนี้สินไว้ในระดับปานกลางต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากนโยบายการจ่ายเงินปันผลที่ยืดหยุ่น ซึ่งน่าจะช่วยรองรับความผันผวนของสภาวะตลาดได้ในระดับหนึ่ง อัตราส่วน net adjusted leverage ของ FSS ยังคงอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ และเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ที่ประมาณ 1.9-2.7 เท่า ตั้งแต่ปี 2560 สัดส่วนหนี้สินในระดับปานกลางและอัตราส่วนสภาพคล่องที่พอเพียงของบริษัทน่าจะช่วยจำกัดความเสี่ยงในด้านการชำระคืนหนี้สินของ FSS ได้ แม้ต้องเผชิญกับภาวะตลาดที่ซบเซาและแรงกดดันด้านรายได้

มีการจัดการสภาพคล่องในระดับที่เพียงพอ: FSS มีการพึ่งพาการระดมทุนจากตลาดทุนภายในประเทศ (wholesale funding) แต่ฐานะสภาพคล่องของ FSS ยังสะท้อนถึงระดับหนี้สินที่ค่อนข้างต่ำและการมีสัดส่วนสินทรัพย์สภาพคล่องที่พอเพียงง ซึ่งน่าจะช่วยรองรับความเสี่ยงได้ในระดับหนึ่งในกรณีที่เกิดภาวะวิกฤติของรายได้และสภาพคล่องในตลาด

ปัจจัยที่อาจมีผลกระทบต่ออันดับเครดิตในอนาคต
ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงลบหรือส่งผลให้เกิดการปรับลดอันดับเครดิต (ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)
การปรับลดอันดับเครดิตอาจเกิดขึ้นได้ หากสถานะทางการเงินของ FSS มีการปรับตัวอ่อนแออย่างมากและบ่งชี้ถึงการปรับตัวด้อยลงอย่างมีนัยสำคัญของฐานะการเงินของบริษัท ตัวอย่างเช่น การปรับลดลงของฐานะเงินทุนของบริษัทจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของอัตราส่วน net adjusted leverage ที่มากกว่า 5 เท่า และผลประกอบการมีแนวโน้มที่ไม่น่าจะรักษาความสามารถในการสร้างกำไรสะสมได้อย่างต่อเนื่อง (sustained internal capital generation) โดยเหตุการณ์ดังกล่าว อาจบ่งชี้ได้ถึงการปรับด้อยลงอย่างต่อเนื่องของโครงสร้างธุรกิจและความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งจะปัจจัยลบต่อโครงสร้างเครดิตของบริษัท นอกจากนี้การปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางธุรกิจหรือระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (risk appetite) ที่ส่งผลกระทบในทางลบอย่างมีนัยสำคัญ ยังอาจนำไปสู่การปรับลดอันดับเครดิตได้อีกด้วย

ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงบวกหรือส่งผลให้เกิดการปรับเพิ่มอันดับเครดิต (ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)
การปรับเพิ่มอันดับเครดิตอาจเกิดขึ้นได้ หากโครงสร้างธุรกิจมีการปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น การมีแหล่งรายได้จากธุรกิจอื่นที่หลากหลาย พร้อมทั้งการมีสัดส่วนของแหล่งรายได้ประจำ(recurring income) ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสามารถในการทำกำไรอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะการมีอัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานต่อส่วนของผู้ถือหุ้นเฉลี่ยที่สามารถทรงตัวอยู่ในระดับที่มากกว่า 10% ได้ในระยะปานกลาง และเป็นกำไรที่มาจากโครงสร้างธุรกิจที่มีความสมดุลและยั่งยืน ซึ่งจะเป็นปัจจัยบวกต่อของโครงสร้างเครดิตของบริษัท ทั้งนี้ FSS จะต้องสามารถรักษาความสามารถในการรองรับความเสี่ยงในด้านเงินทุนและสภาพคล่องของบริษัทให้อยู่ในเกณฑ์ดีต่อเนื่องและสอดคล้องกับอันดับเครดิตที่สูงขึ้นด้วยเช่นกัน

รายละเอียดอันดับเครดิตทั้งหมดมีดังนี้
--อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว คงอันดับที่ BBB+(tha) แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ
--อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้น คงอันดับที่ F2(tha)


ข่าวบริษัทหลักทรัพย์+ฟิทช์ เรทติ้งส์วันนี้

BAFS เตรียมเสนอขายหุ้นกู้ชุดใหม่ ชูดอกเบี้ย 4.75 - 5.10% ต่อปี คาดเปิดจองซื้อแก่ "สถาบัน-รายใหญ่" วันที่ 9 - 14 พ.ค. นี้ รองรับการขยายตัวธุรกิจในอนาคต

BAFS เตรียมออกหุ้นกู้ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน และมีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ อายุ 3 ปี 9 เดือน อัตราดอกเบี้ยคงที่ [ 4.75 5.10 ] % ต่อปี กำหนดชำระดอกเบี้ยทุก 6 เดือนตลอดอายุหุ้นกู้ ด้วยอันดับความน่าเชื่อถือ "BBB (tha)" จาก ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) เตรียมเสนอขายผู้ลงทุนสถาบัน นักลงทุนรายใหญ่ คาดจองซื้อระหว่างวันที่ 9 และ 13 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 ผ่านสถาบันการเงินชั้นนำ ได้แก่ บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย), บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส และ บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี ม.ล. ณัฐสิทธิ์ ดิศกุล

ฟิทช์คงอันดับเครดิตของ บล. แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ที่ 'AA(tha)' แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ

ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) ประกาศคงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว (National Long-Term Rating) ของบริษัทหลักทรัพย์ แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) หรือ LHS ที่ 'AA(tha)' และอันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้น ...

นางชวินดา หาญรัตนกูล กรรมการผู้จัดการ บริ... KTAM แนะนำโอกาสสร้างผลตอบแทนเหนือเงินฝากในภาวะเศรษฐกิจผันผวน ผ่านกองทุน "KTSV" — นางชวินดา หาญรัตนกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไท...

นางชวินดา หาญรัตนกูล กรรมการผู้จัดการ บริ... KTAM แนะกระจายสินทรัพย์รับมือเศรษฐกิจผันผวน ผ่านกลุ่มกองทุนผสม "KTWC Series" — นางชวินดา หาญรัตนกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย ...

จัดใหญ่ รับ Fund Back มูลค่าสูงสุด 5,000 ... SCBAM ส่งแคมเปญเสริมแกร่งพอร์ตเกษียณ — จัดใหญ่ รับ Fund Back มูลค่าสูงสุด 5,000 บาท(*) สำหรับผู้ที่โอนย้ายกองทุน RMF มาที่ SCBAM ตั้งแต่วันนี้ 30 ก.ย. 68...