การที่มนุษย์แต่ละคนจะมีร่างกายที่เจริญเติบโตได้อย่างสมบูรณ์ต่อไปได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับ "ฟัน" ที่ใช้ในการบดเคี้ยวอาหารด้วย พ่อแม่ทุกคนจึงเฝ้ารอ "ฟันซี่แรก" ของลูกน้อยอย่างใจจดใจจ่อ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิงนันทินี นันทวณิชย์ แสงไฟ อาจารย์ทันตแพทย์ประจำภาควิชาทันตกรรมจัดฟัน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ประพันธ์หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) "ทันตวิภาคฟันน้ำนม" ซึ่งใช้เป็นคู่มือในการศึกษาค้นคว้าของนักศึกษาทันตแพทย์
นอกจากนี้ ยังเหมาะสำหรับทันตแพทย์ ผู้ช่วยทันตแพทย์วิชาชีพทุกสาขา ตลอดจนประชาชนทั่วไป โดยได้รับการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา และเผยแพร่แล้วทางเว็บไซต์ของคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ด้วยรูปเล่มที่ออกแบบด้วยการวาดรูปฟันกราฟิกที่ใช้เทคนิคการลงสีแรเงาเสมือนจริง จากการสร้างสรรค์โดย นางสาวอภิญญา ประภากรธรรม นักวิชาการโสตทัศนศึกษา (เวชนิทัศน์) หน่วยพัฒนาสื่อมัลติมีเดีย งานพัฒนาการเรียนรู้และวิชาการ สำนักงานการศึกษาและวิชาการ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
E-book "ทันตวิภาคฟันน้ำนม" จัดทำขึ้นด้วยภาษาไทย เป็นฉบับแรกซึ่งมีภาพประกอบที่วาดขึ้นเอง โดยไม่ต้องใช้ภาพจากตำราต่างประเทศซึ่งเป็นภาพลิขสิทธิ์ และอาจไม่คมชัดมากพอ
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิงนันทินี นันทวณิชย์แสงไฟ รับหน้าที่ผู้สร้างสรรค์ รวมทั้งเป็นผู้จัดหา "ฟันน้ำนมจริง" มาเป็นแบบวาด จากแนวคิดที่ได้ถ่ายทอดในการจัดทำหนังสือ ซึ่งเป็นงานที่ต้องใช้ความละเอียดพิถีพิถัน โดยใช้เวลาในการผลิตนานถึง 8 เดือน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิงนันทินี นันทวณิชย์ แสงไฟ กล่าวว่า ในช่วงที่ยังมี "ฟันชุดแรก" หรือ "ฟันน้ำนม" นับเป็นช่วงที่สำคัญที่สุดช่วงหนึ่งของชีวิต และเป็นช่วงสำคัญของการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการ "จัดฟัน" เพื่อการออกแบบและจัดโครงสร้างของฟันให้ทำหน้าที่ให้ดีขึ้น
จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดูแล "ฟันน้ำนม" ไม่ให้หลุด หรือถูกถอนออกไปก่อนกำหนด เนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่อการขึ้นของ "ฟันแท้" ที่ขึ้นเร็ว หรือช้ากว่าปกติ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อแผนการจัดฟันไปด้วย
ซึ่งปกติ "ฟันน้ำนม" ซี่แรกของมนุษย์ จะขึ้นเมื่ออายุประมาณ6 เดือน โดยเริ่มจากฟันหน้า และจะขึ้นครบ 20 ซี่เมื่ออายุประมาณ 2 ขวบ ถึง 2 ขวบครึ่ง จากนั้นเมื่อประมาณอายุ 6 ปีจึงจะมี "ฟันแท้" ซึ่งจะขึ้นครบทุกซี่เมื่ออายุประมาณ 12 ปี
นอกจากนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิงนันทินี นันทวณิชย์ แสงไฟ ยังได้ให้ความรู้เพิ่มเติมอีกด้วยว่า โดยธรรมชาติของ "ฟันน้ำนม" จะขึ้นห่างกัน และมีขนาดเล็กกว่า"ฟันแท้" เมื่อ "ฟันน้ำนม" หลุดออกไปแล้ว จึงจะมี "ฟันแท้" ขึ้นมาแทนที่ ปิดช่องว่างที่เคยเกิดขึ้นจากการเรียงตัวของ"ฟันน้ำนม" ตามธรรมชาติ
ซึ่งความแตกต่างระหว่าง "ฟันน้ำนม" และ "ฟันแท้" สามารถศึกษาเปรียบเทียบได้จาก E-book "ทันตวิภาคฟันน้ำนม" ที่เขียนตามหลักวิชาการด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย
เพื่อสนองตอบนโยบายการบริหารจัดการคนเก่งมหาวิทยาลัยมหิดล (MU - Talent) ตามแผนยุทธศาสตร์การบริหารทรัพยากร
บุคคลของมหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทันตแพทย์หญิงนันทินี นันทวณิชย์ แสงไฟ ได้เตรียมต่อยอดสร้างสรรค์ขึ้นเป็น "E-Pub : คู่มือปฏิบัติการทางทันตกรรมจัดฟัน" ผ่านระบบปฏิบัติการ iOS
เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ที่รองรับการเข้าถึงของนักศึกษาทันตแพทย์ผ่านสื่อดิจิทัล ซึ่งคาดว่าพัฒนาแล้วเสร็จ พร้อมเปิดให้ใช้ได้จริงภายในสิ้นปี 2565
แม้ "ฟันน้ำนม" จะสามารถหลุดได้เองตามธรรมชาติ แต่ถ้าขาดการดูแลอย่างเหมาะสม อาจส่งผลต่อคุณภาพชีวิตต่อไปในอนาคต หากไม่รู้จัก "ฟันแท้" และ "ฟันน้ำนม" ให้มากพอ
E-book "ทันตวิภาคฟันน้ำนม" พร้อมเปิดรับวันใหม่สู่การมีสุขภาพฟันที่ดี ผู้สนใจทั่วไปสามารถเข้าไปศึกษาด้วยตัวเองได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายได้ที่ https://dt.mahidol.ac.th/th/ทันตวิภาคฟันน้ำนม/
ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่www.mahidol.ac.th
สัมภาษณ์ และเขียนข่าวโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหม นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ) งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0-2849-6210
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา นำโดย รองศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิง ดร.พัชราวรรณ ศรีศิลปนันทน์ คณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ พร้อมด้วยทีมทันตแพทย์และบุคลากร ประกอบด้วย ทันตแพทย์ชวลิต ชนินทรสงขลา รองคณบดีฝ่ายยุทธศาสตร์และพัฒนาคุณภาพองค์กร ทันตแพทย์หญิงรวงข้าว พิมลศรี และทันตแพทย์หญิงศรกมล พรมศิลา ลงพื้นที่ให้บริการตรวจและวางแผนการรักษาทางทันตกรรมแก่เด็กที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ ซึ่งเป็นบริการที่ทำมาอย่างต่อเนื่องในพื้นที่อำเภอเมืองพะเยา อำเภอดอกคำใต้ และอำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา ในวันพุธที่ 8 เมษายน
มูลนิธิเฮอริเทจ (ประเทศไทย) จัดทำโครงการ "โครงการทันตแพทย์อาสา ครั้งที่ 10" ณ โรงเรียนบ้านปงแม่ลอบ สาขาห้วยฮ่อม อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน
—
มูลนิธิเฮอริเทจ ...
จุฬาฯ จับมือ SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต มอบความคุ้มครองให้บุคลากร ปีที่ 2 พร้อมลงนามสัญญายกระดับให้บริการทันตกรรม
—
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จับมือ SE Life อ...
กระทรวงสาธารณสุข โดย กรมอนามัย ผนึกกำลัง 7 องค์กร ร่วมแถลงข่าวความร่วมมือการจัดประชุมสุขภาพช่องปากโลก วันที่ 26-29 พฤศจิกายน 2567
—
กระทรวงสาธารณสุข โดย ก...
พัฒนาทักษะทันตแพทย์รุ่นใหม่ให้พร้อมสู่โลกอนาคตที่ ทันตแพทย์ อินเตอร์ สจล.
—
คณะทันตแพทยศาสตร์ สจล. เปิดรับสมัคร 'ทันตแพทย์นวัตกร' รุ่นที่ 4 มุ่งพัฒนาทันตแ...
"คลินิกทันตกรรมพิเศษ" มหาวิทยาลัยพะเยา เปิดให้บริการ ดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน
—
คลินิกทันตกรรมพิเศษ มหาวิทยาลัยพะเยา ภายใต้การดูแลของโรงพยาบาลทันตกรรม คณะท...
ม.พะเยา ปั้นทันตแพทย์คุณภาพ ลงมือปฏิบัติจริงพร้อมสู่สนามงาน
—
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีสำหรับน้องๆ ที่มีความฝันอยากเป็น...