หอสมุดเนียลเซน เฮส์ ได้รับรางวัลเพื่อการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ประจำปี พ.ศ. 2565 (UNESCO Cultural Heritage Conservation Award 2022) ประเภท Award of Distinction จากการประกาศล่าสุดขององค์การยูเนสโก
นางสาวนลิน วนาสิน ประธานคณะกรรมการบริหารสมาคมหอสมุดเนียลเซน เฮส์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา องค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก ประกาศให้หอสมุดเนียลเซน เฮส์ ได้รับรางวัลเพื่อการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ประจำปี พ.ศ. 2565 (UNESCO Cultural Heritage Conservation Award 2022) ประเภท Award of Distinction ซึ่งมอบให้แก่โครงการที่ประสบความสำเร็จเป็นเลิศในทุกด้านและก่อให้เกิดผลที่นำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงในระดับชาติ หรือ ระดับภูมิภาค โดยคณะกรรมการตัดสินของยูเนสโกกล่าวเชิดชูเกียรติหอสมุดเนียลเซน เฮส์ ว่าเป็นโครงการที่อนุรักษ์ความโดดเด่นของสถาปัตยกรรมตะวันตกในยุคต้นศตวรรษที่ 20 ไว้ได้อย่างกลมกลืนกับสิ่งแวดล้อมในโลกตะวันออก
อาคารหอสมุดเนียลเซน เฮส์ เป็นสถาปัตยกรรมแบบนีโอคลาสสิคที่ออกแบบโดยมารีโอ ตามัญโญ สถาปนิกชาวอิตาเลียน ผู้เข้ามารับราชการในสมัยรัชกาลที่ 5 เปิดดำเนินการในปี พ.ศ.2465 ถือเป็นหอสมุดชุมชนที่รวบรวมหนังสือภาษาอังกฤษแห่งแรกของประเทศไทย และเป็นหอสมุดแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เปิดดำเนินการโดยสมาคมสตรีด้วย นอกจากความงดงามเชิงสถาปัตยกรรม ภายในตัวอาคารยังออกแบบผนังสองชั้นเพื่อช่วยให้มีอากาศถ่ายเทจึงช่วยเรื่องการเก็บรักษาหนังสือได้เป็นอย่างดีในยุคที่ยังไม่มีเครื่องปรับอากาศ ทั้งเป็นเสมือนศูนย์กลางทางวัฒนธรรมใจกลางกรุงเทพฯ ที่บอกเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของประเทศไทยมาอย่างยาวนาน
"ผลของรางวัลนี้เกิดขึ้นจากความร่วมมือร่วมใจของผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่ายที่ล้วนมีความรักในหอสมุดเนียลเซน เฮส์ ซึ่งขอขอบคุณสมาชิกหอสมุดทุกคนและผู้สนับสนุนทุกท่าน อาทิ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด มูลนิธิสิริวัฒนภักดี มูลนิธิ James H.W. Thompson ธนาคารไทยพาณิชย์ คุณสรวิช ภิรมย์ภักดี บริษัท มหาจักรดีเวลอปเมนท์ จำกัด บริษัท ลัคกี้ ลิฟวิ่ง พร็อพเพอร์ตี้ส์ จำกัด ที่มีส่วนช่วยพัฒนาให้หอสมุดแห่งนี้ยังคงความงดงามทรงคุณค่าและสามารถเดินหน้าทำหน้าที่เป็นหอสมุดสาธารณประโยชน์ได้อย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต" นางสาวนลิน วนาสิน กล่าว
สำหรับการประกวดรางวัลเพื่อการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ประจำปี พ.ศ. 2565 มีโครงการส่งเข้าพิจารณาจำนวนทั้งสิ้น 50 โครงการจาก 11 ประเทศในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก โดยมีโครงการที่ได้รับรางวัล 13 โครงการ จาก 6 ประเทศ ได้แก่ อัฟกานิสถาน จีน อินเดีย อิหร่าน เนปาล และประเทศไทย อาทิ The Chhatrapati Shivaji Maharaj Vastu Sangrahalaya พิพิธภัณฑ์ในเมืองมุมไบ ประเทศอินเดีย Topdara Stupa สถูปหินในเมืองชาริการ์ ประเทศอัฟกานิสถาน และ Natian Buddhist Temple วัดในมณฑลฝูเจี้ยน สาธารณรัฐประชาชนจีน รวมถึงหอสมุดเนียลเซน เฮส์ ประเทศไทย
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ร่วมกับ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และองค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) จัดแถลงข่าวประกาศความร่วมมืออย่างเป็นทางการ เตรียมเป็นเจ้าภาพ จัดงานระดับโลก "The 3rd UNESCO Global Forum on the Ethics of AI 2025" ชูแนวคิด "Ethical Governance of AI in Motion" โดยจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 24-27 มิถุนายน 2568 ที่กรุงเทพฯ คาดมีผู้นำและผู้เชี่ยวชาญจากประเทศสมาชิกยูเนสโก กว่า 194 ประ
OPPO ฉลองครบรอบ 20 ปี จับมือ UNESCO ส่งเสริมเยาวชนสร้างสรรค์ และรักษามรดกวัฒนธรรมด้วยเทคโนโลยีภาพถ่าย
—
เพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 20 ปี OPPO จับมือกับองค์การเพ...
ประชุมวิชาการ "เมืองโบราณศรีเทพ มรดกทางวัฒนธรรรมของโลก"
—
สถาบันไทยศึกษา ร่วมกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และหลักสูตรการจัดการทางวัฒนธรรม บัณฑิตวิทยาลัย ...
สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา ร่วมงานแสดงดนตรีเทิดพระเกียรติฉลองครบรอบ 100 ปี วันประสูติ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ ณ ประเทศฝรั่งเศส
—
งานแสดงดนตร...
ก้าวสู่ความเสมอภาคไปด้วยกัน 2565 การประชุมวิชาการนานาชาติเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาครั้งที่ 2
—
องค์กรทั้งในและนานาชาติต่างร่วมกันใจกลางกรุงเทพมหานครฯ ระ...
ซีอีเอจับมือยูเนสโก เปิดนิทรรศการ “อินเทอร์เน็ต ยูนิเวอร์แซลลิตี้ บียอนด์ เวิดส์” โชว์ 3 ไฮไลท์สุดว้าว ส่งเสริมสิทธิการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของทุกคน
—
- ซีอีเอ ชี...