เรื่องงานพักก่อน! ผลสำรวจ 'ฮาคูโฮโด' ชี้ คนไทยพร้อมมูฟออนจากโควิด สิ้นปีนี้เตรียมฉลองปีใหม่เต็มที่

08 Dec 2022

  • การได้ใช้ชีวิตมีค่ายิ่งกว่าเงินทอง แรงจับจ่ายคนไทยพุ่งสูงสุดในรอบ 2 ปี สะท้อนความพร้อมเพื่อซื้อความสุขให้ตนเองและครอบครัว
  • เลิกเครียดโควิดฯ ไม่คิดลบ ปรับแนวคิดมุ่งใช้เหตุผลตัดสินเหตุการณ์มากขึ้น เน้นใช้ชีวิตแบบ balance เติมพลังบวกเตรียมเดินหน้าสู่ปีใหม่
เรื่องงานพักก่อน! ผลสำรวจ 'ฮาคูโฮโด' ชี้ คนไทยพร้อมมูฟออนจากโควิด สิ้นปีนี้เตรียมฉลองปีใหม่เต็มที่

สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) หรือ Hakuhodo Institute of Life and Living ASEAN (THAILAND) ร่วมกับบริษัท ฮาคูโฮโด อินเตอร์เนชั่นแนล(จำกัด) Hakuhodo International (Thailand) Co.,Ltd เผยผลสำรวจเรื่องการคาดการณ์พฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคในประเทศไทยประจำเดือนธันวาคม พ.ศ.2565 ว่า คนไทยมีแนวโน้มในการใช้ชีวิตที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านความต้องการอยากใช้จ่ายที่แตะระดับสูงสุดในรอบ 2 ปี และความสุขที่ยังบวกขึ้นอีกเมื่อเทียบกับหลายเดือนที่ผ่านมา แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตคนไทยในตอนนี้มูฟออนจากโควิด-19 อย่างแท้จริง

ปลายปีหลายคนมุ่งเน้นเรื่องการเฉลิมฉลอง เตรียมจับจ่ายซื้อของเพื่อตอบสนองตนเองและครอบครัว ไม่ว่าจะเป็น เสื้อผ้า โทรศัพท์มือถือ ของฟุ่มเฟือยเพื่อเป็นของขวัญ หรืออาหาร เพื่องานเลี้ยงสังสรรค์ในช่วงเทศกาล นอกจากนี้ยังรวมไปถึงค่าใช้จ่ายในการเดินทางกลับภูมิลำเนาเพื่อกลับไปหาครอบครัว สะท้อนถึงพฤติกรรมการบริโภคเชิงบวกอย่างมาก ซึ่งในประเด็นนี้เอง คุณธีรเมศร์ นิติจรรยาวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนกลยุทธ์ บริษัท ฮาคูโฮโด อินเตอร์เนชั่นแนล (จำกัด) ได้ให้คำแนะนำเพื่อเป็นแนวทางให้แบรนด์ต่างๆ เตรียมพร้อมให้สอดคล้องกับแนวโน้มความต้องการใช้จ่ายสูงสุดในรอบสองปีนี้ว่า

คำว่า 'เปิด' เป็นกิมมิคที่ใช้ช่วงนี้แล้วปัง!

การจับจ่ายในช่วงท้ายปี คนไทยกำลังอินกับการเปิดรับสิ่งใหม่ ไม่ใช่แค่ให้รางวัลกับตัวเองแต่ซื้อเพื่อเติมเต็มความรู้สึกของผู้อื่นด้วย เช่น การแสดงความขอบคุณ ความรัก หรือ reconnect กับครอบครัว เพื่อก้าวสู่ปีใหม่ที่ดีกว่าเดิม ดังนั้นแบรนด์ควรกระตุ้นให้คนออกมาเปิดหูเปิดตา ด้วยกิจกรรมใหม่ๆ โดยใช้ keyword 'การเปิด' เพื่อสร้างอารมณ์การมีส่วนร่วมกับแบรนด์ทั้งในด้านการสื่อสาร (communication) และการสร้างประสบการณ์ร่วม (engagement) เช่น เปิดตู้เสื้อผ้า อัพลุคใหม่ เปิดประตูออกเดินทางไปเที่ยว เปิดลิฟต์เสพบรรยากาศสวยๆบน rooftop

'ผสมผสาน' การคือกลยุทธ์การตลาดที่ต้องทำ

โควิดฯ ทำให้วิถีชิวิตคนไทยเปลี่ยนอย่างถาวร ช่องทางจับจ่ายเปลี่ยนไปจากสิ่งที่ไม่เคยทำจนเป็นเรื่องคุ้นเคย แบรนด์ต้องประเมินช่องทางสร้างประสบการณ์กับลูกค้า (touchpoint) ทุกมิติทั้งออนไลน์หรือออฟไลน์ และจัดกิจกรรมสร้างการมีส่วนรวม (Interaction) ช่องการจำหน่าย (Distribution) และการสื่อสาร (Communication) เป็นลูกผสมกันไปเพื่อปิดรอยรั่วในช่วงลูกค้าที่มีกำลังซื้อที่ไหลเข้ามา เช่น หากปัจจุบันเน้นที่ลูกค้า online เป็นหลัก อาจต้องพิจารณาเพิ่มกิจกรรมการหน้าร้าน (physical) เพื่อตอบสนองลูกค้าที่หันกลับมาเดินกันมากขึ้น   

การชี้แนะแนวทางให้กับแบรนด์ เป็นผลมาจากการสำรวจของฮาคูโฮโดซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า คนไทยมูฟออนจากโควิด-19 ได้แล้วอย่างชิ้นเชิง เนื่องจากอาการป่วยสามารถรักษาให้หายได้ แต่สิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดคือ พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 

คุณสิตาพัชญ์ รุจิธันยพัชร์ เจ้าหน้าที่วางแผนกลยุทธ์อาวุโส บริษัท ฮาคูโฮโด อินเตอร์เนชั่นแนล (จำกัด) ชี้ประเด็นอ้างอิงจากผลสำรวจแนวโน้มความต้องการในการใช้จ่ายของคนไทยในเชิง insight พบความสนใจอยู่ 4 ประเด็น 

แนวโน้มการใช้จ่ายสูงทำลายทุกสถิติในรอบ 2 ปี ที่ 69% โดยเฉพาะสินค้าที่ตอบสนองด้านอารมณ์

แรงกระตุ้นเชิงบวกจากภาคเศรษฐกิจการท่องเที่ยวที่กลับมาคึกคัก เทศกาล festive และโปรโมชั่นจากแบรนด์ ล้วนส่งผลให้คนไทยอยาก 'ปลดล็อก' จากพันธนาการความกังวลทั้งปวง เช่น การหาของขวัญให้ครอบครัว จับฉลากปีใหม่ พบปะสังสรรค์ โดยสินค้าที่นิยม อาทิ โทรศัพท์ใหม่ เสื้อผ้า collection ใหม่ รถป้ายแดงคันใหม่ ร้านอาหารเปิดใหม่ที่ต้องไปลอง

ความสุข ความเอนจอยนี้เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะสาวๆ

ด้วยนักท่องเที่ยวที่กลับเข้ามา โบนัสที่กำลังรอรับ และสภาพจิตใจที่ดีขึ้น คนไทยมองว่า 'ไม่มีความสุขน้อยลงไปกว่านี้อีกแล้ว' นี่คือเสียงสนองของคนไทยผ่านตัวเลข แต่จะมีแต่ความสุขที่มากขึ้น (+1%) โดยเฉพาะจากสาวๆ (+2%) สะท้อนให้เห็นถึง 'ความเชื่อ'ที่มีทิศทางบวกในปี 2566 ที่จะมีแต่เรื่องดีๆเข้ามา

คนกรุงเทพฯ ตื่นเต้น วัยรุ่นเน้นช็อปเพื่อ self-branding สูงวัยเน้นช็อปเพื่อ reconnect

คนกรุงเทพฯ กลับมามีคะแนนบวกสูงสุดที่ +7% เนื่องด้วยการเตรียมตัวซื้อของฝาก ส่งเงินให้ที่บ้าน และเดินทาง ท่องเที่ยวที่มากกว่าภาคอื่น 

คนเหนือกลับติดลบ เนื่องด้วยปัญหาสภาพอากาศ เช่น ฝุ่นละออง PM2.5 ค่าตั๋วเครื่องบินที่ปรับราคาสูงขึ้นซึ่งอาจเกิดการชะลอตัวในการเดินทาง 

วัยรุ่นและวัยทำงานช่วงอายุ 20-39 เน้นการจับจ่ายที่แสดงความเป็นตัวตน รวมถึงไปร่วมกิจกรรมเพื่อทำคอนเทนท์โซเชียลในอีเวนท์เทศกาลต่างๆ 

วัยกลางคนช่วงอายุ 40-59 จับจ่ายเพื่อสานสัมพันธ์ ซื้อของฝาก ของขวัญแก่ลูกหลาน ญาติสนิทมิตรสหาย

พักงานไว้ก่อน ขอพักกายพักใจ เพราะชีวิตมีค่ามากกว่าเงินทอง

คนไทยเข้าสู่โหมดอยากพักผ่อนช่วงปีใหม่ แต่ก็กังวลใจเรื่องความปลอดภัย ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ความสำคัญด้าน 'ความปลอดภัย' เข้ามีติดอันดับ Top 5 สะท้อนให้เห็นว่า คนไทยใช้ชีวิตแบบ 'balance life' คือ ถึงแม้จะอยากเต็มที่กับความสุข แต่ยังใช้ชีวิตแบบระมัดระวังกับเหตุการณ์รอบตัวด้วย เช่น การเดินทาง การเลือกสถานที่เที่ยว หรือ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่เปลี่ยนมุกรายวัน

คุณพร้อมพร สุภัทรวณิช ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านวิจัยการตลาดและกลยุทธ์ สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน ประเทศไทย อธิบายความสนใจบ้านเมืองของคนไทยในภาพรวมว่า ในปัจจุบันความสนใจของผู้คนมีความผันผวนตลอดเวลาจากสถานการณ์บ้านเมืองที่มีให้ตกใจรายวัน เช่น  ข่าวการกราดยิง ข่าวน้ำท่วม ข่าวการเมืองที่ยังคงร้อนแรง หรืออื่นอีกหลายข่าวที่ปรากฎใน Top10 จนทำให้คนไทยไม่มีความสนใจเรื่องข่าวสารหรือความกังวลของโควิด-19 อีกแล้ว น สิ่งที่ควรจะตั้งข้อสังเกตุคือ 'คนไทยในขณะนี้ มีแนวโน้มที่จะเสพข่าวแบบมีสติและเหตุผลมากขึ้น ไม่ใช้อารมณ์ในการตัดสินใจเนื้อหาของข่าวนั้นเพียงอย่างเดียว จนกว่าจะได้รู้เนื้อหาของข่าวทั้งหมด และช่วยกัน comment เพื่อดึงสติไม่ให้ไหลไปตามกระแสอารมณ์ของโซเชียล ซึ่งทีมมองว่า เป็นนัยยะที่ดีและคาดหวังว่าคนไทยจะสามารถรับมือกับสถานการณ์ต่างๆได้อย่างมีสติ และรู้เท่าทันเพื่อความปลอดภัยในการใช้ชีวิตในปีหน้า' 

ทำงานกันมาอย่างต่อเนื่องจนผ่านมาได้ถึงช่วงท้ายปีนี้ ถึงเวลาพักเรื่องการทำงานเข้าสู่โหมดการพักผ่อนในช่วงเทศกาลปีใหม่ เพราะการได้ใช้ชีวิตอย่างเต็มที่มีค่ายิ่งกว่าเงินทอง เลิกเครียดโควิด-19 คิดบวก มองว่าเป็นสิ่งที่สามารถรักษาหายได้ พร้อมมูฟออนเพื่ออนาคตที่สดใสอย่างเต็มที่ 

เกี่ยวกับสถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย)

สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) หรือ Hakuhodo Institute of Life and Living ASEAN (THAILAND) ทำการศึกษาเกี่ยวกับ "การคาดการณ์พฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคในประเทศไทย" ทุก ๆ สองเดือน โดยผลสำรวจการคาดการณ์พฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคในประเทศไทยประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565 เป็นผลสำรวจจากการรวบรวมข้อมูลจากวันที่  19  ถึง วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2565 โดยมุ่งเน้นเกี่ยวกับแนวโน้มและพฤติกรรมการบริโภคของคนไทยในอนาคต ผ่านการทำแบบสอบถามเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ จากประชากรเพศชายและหญิงจำนวน 1,200 คน อายุระหว่าง 20-59 ปี จาก 6 ภูมิภาค ทั่วประเทศ  

Hakuhodo Institute of Life and Living ASEAN คือศูนย์วิจัยแห่งใหม่ของกลุ่มฮาคูโฮโดในภูมิภาคอาเซียน ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 2014 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือบริษัทต่างๆ ภายในประเทศสมาชิกภูมิภาคอาเซียนในเรื่องของข้อมูลการตลาด รวมทั้งสังเกตไลฟ์สไตล์ใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยการวิจัยของฮาคูโฮโดจะเป็นการวิจัยที่มุ่งเน้นการศึกษา Sei-katsu-sha หรือ ผู้คนที่ใช้ชีวิตอยู่ในสังคม (Life Living Person) ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของปรัชญาของฮาคูโฮโด ที่ไม่เพียงแค่อธิบายผู้คนในฐานะผู้บริโภคที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ แต่อธิบายถึงความเป็นบุคคลของผู้บริโภคที่มีชีวิต จิตใจ ไลฟ์สไตล์ แรงบันดาลใจ และความฝันที่แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล

ติดตามผลสำรวจเพิ่มเติมได้ที่

Hakuhodo Institute of Life and Living ASEAN (THAILAND)

https://www.facebook.com/hakuhodohillasean  

ฝากข่าวประชาสัมพันธ์?

ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit