นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า กรมวิชาการเกษตรได้ให้ความสำคัญกับการศึกษาวิจัยพืชไร่เศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทยที่มีศักยภาพในการดูดซับก๊าซเรือนกระจกและกักเก็บคาร์บอนไว้ในพืชและในดินเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการร่วมมือเพื่อป้องกันปัญหาภาวะโลกร้อน (Global Warming) และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ซึ่งเป็นบทบาทและภารกิจที่สำคัญอีกด้านหนึ่งของกรมวิชาการเกษตร โดยนอกเหนือจากพื้นที่ป่าไม้แล้วพื้นที่เพาะปลูกพืชยังเป็นแหล่งดูดซับก๊าซเรือนกระจกและกักเก็บคาร์บอนที่สำคัญเช่นกัน
อ้อย เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย โดยข้อมูลในปี 2563/2564 ที่มีพื้นที่ปลูกอ้อยรวม 10.8 ล้านไร่ ดังนั้นจึงมีโอกาสที่จะกักเก็บคาร์บอนไว้ในระบบปลูกอ้อยได้ และสามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์จากบรรยากาศ โดยกระบวนการสังเคราะห์แสงและนำมาสะสมในรูปของมวลชีวภาพในส่วนต่าง ๆ ของอ้อย จากการประเมินศักยภาพการดูดซับก๊าซเรือนกระจกและการกักเก็บคาร์บอนในพืช พบว่า อ้อยแต่ละพันธุ์มีศักยภาพการดูดซับก๊าซเรือนกระจกและการกักเก็บคาร์บอนแตกต่างกันขึ้นอยู่กับระยะการเจริญเติบโตของพืช ตำแหน่งใบ สภาพพื้นที่ปลูกและการจัดการดินและน้ำ เป็นต้น
นอกจากนี้ งานวิจัยยังสรุปได้ว่าการปลูกอ้อย 1 ไร่ ให้ผลผลิตเฉลี่ย 18.1 ตัน สามารถดูซับคาร์บอนในรูปส่วนเหนือดินอ้อยเฉลี่ย 3,698 กก.CO2 หรือช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศได้ 13,559 กก.CO2 โดยอ้อย 1 ตันสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ได้ 581 กก.CO2 ดังนั้นในปีการผลิต 2563/2564 ที่มีพื้นที่ปลูก 10.8 ล้านไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 7.21 ตัน/ไร่จะสามารถช่วยดูดซับคาร์บอนในบรรยากาศมาอยู่ในรูปของลำอ้อยทั้งหมดได้ 215.1 ล้านตัน อย่างไรก็ตาม การเลือกพันธุ์อ้อยและการจัดการแปลงปลูกที่เหมาะสมนอกจากจะช่วยเพิ่มผลผลิตของอ้อยแล้วยังสามารถเพิ่มการกักเก็บคาร์บอนในพืชได้อีกด้วย
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า จากงานวิจัยบ่งชี้ได้ว่าปริมาณอินทรีย์คาร์บอนมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับปริมาณชีวมวล ดังนั้นการปลูกอ้อยให้ได้อินทรีย์คาร์บอนจำนวนมากจึงต้องใช้หลักการเดียวกันกับการเพิ่มผลผลิต ซึ่งมีลักษณะทางการเกษตรที่เกี่ยวข้อง คือ จำนวนลำกับความสูง เส้นผ่านศูนย์กลางลำ และน้ำหนักลำ ดังนั้นเมื่อพิจารณาพันธุ์อ้อยที่มีศักยภาพการกักเก็บคาร์บอนสูงควรเป็นพันธุ์อ้อยที่ให้ผลผลิตสูง และมีการจัดการสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมเพื่อช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตและการสร้างผลผลิต ส่งผลให้มีการดูดซับก๊าซเรือนกระจกและกักเก็บคาร์บอนได้สูงขึ้น ผู้ที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ที่ [email protected] โทรศัพท์ 0813998209
นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า โรครากเน่าโคนเน่าของทุเรียนเป็นปัญหาที่สำคัญของเกษตรกร เนื่องจากเป็นโรคที่ร้ายแรงที่สุดในต้นทุเรียน สามารถเข้าทำลายได้ทุกส่วนของต้นทุเรียน ทำให้ต้นทุเรียนที่เป็นโรคนี้เสียหายอย่างรวดเร็วและไม่สามารถเจริญเติบโตได้ตามปกติ ส่งผลให้ทุเรียนยืนต้นตาย ปริมาณและคุณภาพผลผลิตลดลง โดยเฉพาะการผลิตเพื่อการส่งออก ซึ่งการควบคุมโรคนี้ต้องทำความเข้าใจในหลักการควบคุมโรคอย่างถูกวิธี แต่เกษตรกรส่วนใหญ่ยังขาดความเข้าใจในแนวทางการควบคุมโรคแบบผสมผสาน
ศูนย์รวบรวมเชื้อพันธุ์เห็ดแห่งประเทศไทย หนุนอาชีพเพาะเห็ด ให้บริการเชื้อเห็ดสายพันธุ์ดี 27 ชนิด 41 สายพันธุ์
—
นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเ...
กรมวิชาการเกษตรโชว์นวัตกรรมแผ่นเทียบสีประเมินความสุกแก่ผลกาแฟ สะดวก รวดเร็ว ง่ายต่อการใช้งาน สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกร
—
นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดี...
เจียไต๋ยกระดับมาตรฐานการตรวจสอบศัตรูพืช การันตีห้องปฏิบัติการ รับรองโดยกรมวิชาการเกษตร
—
เมล็ดพันธุ์เจียไต๋ โดยบริษัท เจียไต๋ จำกัด ผู้นำธุรกิจนวัตกรรมการ...
ไทย - จีน จับมือสร้างความสัมพันธ์ พร้อมเปิดตลาดสินค้าด้านการเกษตร
—
ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกั...
กรมวิชาการเกษตร ผนึกกำลัง สำนักงานเกษตรอำเภอทับสะแก ลุยสาธิตวิธีปราบ 2 แมลงศัตรูมะพร้าว สร้างความมั่นใจให้เกษตรกร
—
ดร.ภัสชญภณ หมื่นแจ้ง รองอธิบดีกรมวิชาก...
กรมวิชาการเกษตร ลุยขยายพันธุ์สับปะรด กวก. เพชรบุรี 2 เร่งถ่ายทอดเทคโนโลยีผลิตหน่อพันธุ์อย่างง่ายให้เกษตรกร
—
นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษ...
กาแฟฟ้าห่มปก มรดกคู่ผืนป่า โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ตามพระราชดำริ สร้างรายได้เกษตรกรทะลุหลักล้าน/ปี
—
นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเ...
สายส้มมีเฮ! กรมวิชาการเกษตรแจ้งเกิดส้มโอพันธุ์ใหม่ กวก.พิจิตร 1 เปิดคุณสมบัติเด่นผลผลิตสูง เนื้อกุ้งนิ่ม สีขาวอมชมพู รสชาติหวาน กลิ่นหอมเฉพาะตัว
—
นายระพีภัทร...
เครือ UBE ทำสัญญาซื้อสิทธิ์กับกรมวิชาการเกษตร
—
ร่วมส่งเสริมการใช้ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์ ช่วยเกษตรกรลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตอย่างยั่งยืน นางสาวสุรียส โคว...