นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยระหว่างการเข้าเยี่ยมชมการผลิตเมล็ดพันธุ์ผักคุณภาพสูง ณ ศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์ไบเออร์ อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร ว่า สืบเนื่องจากการประชุม APEC High-Level Policy Dialogue on Agricultural Biotechnology: HLPDAB ที่ให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนการใช้เทคโนโลยีชีวภาพระดับสูงทางการเกษตรร่วมกับเทคโนโลยีการผลิตพืชอย่างปลอดภัยสู่เป้าหมายความมั่นคงด้านอาหารในปี 2573 กรมวิชาการเกษตรจึงได้ดำเนินงานตามนโยบาย "ตลาดนำการวิจัย"และ "ตลาดนำการผลิต" โดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพและชีวภาพขั้นสูงเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพสูงในราคาเป็นธรรมต่อเกษตรกร และได้เน้นย้ำต่อที่ประชุม Asian Seed Congress 2022 ว่าประเทศไทยได้ตั้งเป้าหมายสู่การเป็นผู้นำด้านเมล็ดพันธุ์ผักในระดับโลก (World Leader of Tropical Seed) ด้วยกลยยุทธ์การขับเคลื่อนเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนสู่ความเข้มแข็งของชุมชนและการเติบโตของอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์อย่างยั่งยืน
ศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์ไบเออร์ จังหวัดสกลนคร ได้นำเสนอภาพรวมการผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพสูงของศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์ไบเออร์ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตและแหล่งเรียนรู้การผลิตเมล็ดพันธุ์ผักคุณภาพสูงตามมาตรฐานในระบบ Good Seed and Plant Practices (GSPP) โดยมีเกษตรกรเครือข่ายเป็นผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์แบบบูรณาการระหว่างภาครัฐ เอกชน และเกษตรกร ซึ่งเกษตรกรได้รับความรู้วิธีปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีในการจัดการโรคและแมลงศัตรูพืช เกิดความสำเร็จในการผลิตเมล็ดพันธุ์ที่ปลอดโรคที่สำคัญ สู่การได้ราคาเมล็ดพันธุ์ที่ยุติธรรมและสมเหตุสมผล
"ผมแสดงความยินดีกับบริษัทไบเออร์ไทย จำกัด ที่จะได้รับหนังสือการยอมรับความสามารถของห้องปฏิบัติการตรวจสอบศัตรูพืช (Seed Test Lab Accreditation Certification) จากกรมวิชาการเกษตร เป็นการเสริมสร้างความเชื่อมั่นในระบบการตรวจสอบศัตรูพืชของไทย เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายเมล็ดพันธุ์สนับสนุนเป้าหมายการส่งออกเมล็ดพันธุ์มูลค่ามากกว่า 15,000 ล้านบาทต่อปี โดยหลังจากนี้กรมวิชาการเกษตรและบริษัทไบเออร์จะมีโครงการความร่วมมือในลักษณะการสร้างและขยายเครือข่ายผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งในการผลักดันให้ประเทศไทยเป็น World Leader of Tropical Seed และส่งเสริมอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ไทยให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืนตามวัตถุประสงค์ต่อไป" อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าว
นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ปัจจุบันเทคนิคด้านเทคโนโลยีชีวภาพเข้ามามีบทบาทด้านการเกษตรเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในงานปรับปรุงพันธุ์พืชให้มีลักษณะที่ดีตรงตามความต้องการ เช่น เทคโนโลยีเครื่องหมายโมเลกุลมีประโยชน์ในการศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมและการจำแนกพันธุ์ รวมทั้งบางเครื่องหมายโมเลกุลยังมีความสัมพันธ์กับลักษณะทางการเกษตร เช่น ผลผลิตสูง ไซยาไนด์ต่ำ และความต้านทานโรค ซึ่งการนำเครื่องหมายโมเลกุลที่สัมพันธ์กับลักษณะทางการเกษตรเหล่านี้มาใช้เป็นเครื่องมือในการคัด
มนัญญา เตรียมเปิดประชุม APEC ระดับสูงด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร
—
มนัญญา ไทยเศรษฐ์ เตรียมเปิดประชุม APEC ระดับสูงด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร เดินหน...
กรมวิชาการเกษตรพร้อมเป็นผู้นำจัดประชุมหารือระดับสูง ด้านเทคโนโลยีชีวภาพในการประชุมเอเปคปี 65
—
กรมวิชาการเกษตร ตอกย้ำความพร้อมเป็นผู้นำจัดประชุมหารือระดับ...
กรมวิชาการเกษตร ขยายผลเทคโนโลยีสยบโรครากเน่าโคนเน่าทุเรียน สู่กลุ่มเกษตรกร 2 แหล่งปลูกสำคัญในภาคตะวันออก
—
นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร...
ศูนย์รวบรวมเชื้อพันธุ์เห็ดแห่งประเทศไทย หนุนอาชีพเพาะเห็ด ให้บริการเชื้อเห็ดสายพันธุ์ดี 27 ชนิด 41 สายพันธุ์
—
นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเ...
กรมวิชาการเกษตรโชว์นวัตกรรมแผ่นเทียบสีประเมินความสุกแก่ผลกาแฟ สะดวก รวดเร็ว ง่ายต่อการใช้งาน สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกร
—
นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดี...
เจียไต๋ยกระดับมาตรฐานการตรวจสอบศัตรูพืช การันตีห้องปฏิบัติการ รับรองโดยกรมวิชาการเกษตร
—
เมล็ดพันธุ์เจียไต๋ โดยบริษัท เจียไต๋ จำกัด ผู้นำธุรกิจนวัตกรรมการ...
ไทย - จีน จับมือสร้างความสัมพันธ์ พร้อมเปิดตลาดสินค้าด้านการเกษตร
—
ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกั...
กรมวิชาการเกษตร ผนึกกำลัง สำนักงานเกษตรอำเภอทับสะแก ลุยสาธิตวิธีปราบ 2 แมลงศัตรูมะพร้าว สร้างความมั่นใจให้เกษตรกร
—
ดร.ภัสชญภณ หมื่นแจ้ง รองอธิบดีกรมวิชาก...