"โอย ปวดท้องจัง!" เมื่อได้ยินคนข้าง ๆ ร้องขึ้นมาแบบนี้ เราอาจคิดถึงอาการที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารหลัก ๆ ไม่กี่แบบ เช่น โรคกระเพาะอาหาร อาหารเป็นพิษ หรือท้องอืดท้องเฟ้อ แต่แพทย์เตือนให้เราสังเกตลักษณะอาการปวดท้องให้ดี เพราะอาการเจ็บป่วยทั่วไปนี้อาจเป็นเพียงยอดภูเขาน้ำแข็งที่ซ่อนภาวะโรคร้ายแรงอื่น ๆ ไว้โดยที่เราไม่รู้ตัว
อาการปวดท้อง ไม่เท่ากับ โรคกระเพาะเสมอไป
โรคกระเพาะอาหาร เป็นคำเรียกรวมกว้าง ๆ ของอาการปวดท้องที่คาดว่าน่าจะมีความผิดปกติที่กระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็กส่วนต้น เช่น กระเพาะอาหารอักเสบ หรือมีแผล อาการปวดด้วยโรคกระเพาะมักจะปวดใต้ลิ้นปี่ เป็นอาการปวดจุก เสียด แน่น หรือแสบท้อง อึดอัดท้องหลังมื้ออาหาร หรืออิ่มเร็วกว่าปกติ โดยบางรายอาจมีอาการของกรดไหลย้อนร่วมด้วย เช่น แสบร้อนกลางหน้าอก เรอเปรี้ยว
พญ.สาวินี จิริยะสิน แพทย์ผู้ชำนาญการโรคระบบทางเดินอาหาร ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลวิมุต กล่าวว่า "เรื่องหนึ่งที่หมออยากแก้ไขความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคกระเพาะอาหารก็คือการกินข้าวไม่ตรงเวลาไม่ใช่สาเหตุหลักของการเกิดโรคกระเพาะ โดยทั่วไป อาการกระเพาะอาหารอักเสบหรือแผลในกระเพาะอาหารมี 2 สาเหตุที่พบได้บ่อย ได้แก่ การติดเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้นที่ชื่อว่า Helicobacter pylori และการกินยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs ซึ่งก่อให้เกิดการระคายเคืองหรือทำให้กระเพาะอาหารหรือลำไส้เกิดเป็นแผลได้ สาเหตุที่เหลืออาจเป็นอย่างอื่น เช่น โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ถ้าสงสัยว่าอาการปวดท้องเป็นจากโรคกระเพาะ สามารถทานยาลดกรดเพื่อรักษาเบื้องต้นก่อนได้ ถ้าอาการไม่ดีขึ้นแนะนำมาพบแพทย์เพื่อพิจารณาตรวจหาสาเหตุและทำการรักษาต่อไป"
ดังที่กล่าวไปว่าหากรักษาเบื้องต้นไม่หาย เราควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาความผิดปกติที่แท้จริง เช่น หากปวดจุกลิ้นปี่สงสัยโรคกระเพาะก็พิจารณาส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น หากปวดท้องหนักมาก ปวดเกร็งทั้งท้อง นอนไม่ได้เลย อาจเป็นอาการจากกระเพาะอาหารทะลุ ซึ่งการเอกซเรย์ธรรมดาก็สามารถเห็นได้และสามารถผ่าตัดได้เลย นอกจากนี้ยังมีการอัลตราซาวด์ช่องท้องซึ่งใช้ตรวจความผิดปกติของตับ โรคนิ่วในถุงน้ำดีหรือนิ่วในท่อน้ำดี นอกจากนี้ยังมีการสืบค้นด้วยวิธีอื่นๆ ได้แก่ การตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ หรือ การตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) ตามดุลยพินิจของแพทย์
เราจะทราบได้อย่างไรว่าอาการปวดท้องของเราเป็นแบบไหน?
"ในทางการแพทย์ เราแบ่งลักษณะการปวดท้องออกเป็น 3 แบบ" พญ.สาวินี จิริยะสิน อธิบาย "แบบที่ 1 คือปวดจากอวัยวะภายใน ซึ่งจะเป็นการปวดแบบปวดลึก ปวดบิด ไม่สามารถระบุตำแหน่งได้ชัดเจน ส่วนแบบที่ 2 คือการปวดท้องตามตำแหน่งของอวัยวะนั้น ๆ สามารถระบุตำแหน่งได้ชัดเจน และแบบที่ 3 คือการปวดร้าว ซึ่งเป็นการปวดที่ร้าวหรือแผ่ไปยังบริเวณอื่น ๆ ตามการลำเลียงของเส้นประสาท เช่น ปวดท้องใต้ลิ้นปี่แล้วปวดร้าวไปที่บริเวณหลัง คิดถึงโรคตับอ่อนอักเสบ หรือ ปวดท้องแล้วร้าวลงขาหนีบ คิดถึงนิ่วในท่อไต เป็นต้น"
ลักษณะอาการปวดท้องที่คนไข้สามารถสังเกตตัวเองได้คือแบบที่ 2 หรือการปวดท้องตามตำแหน่งของอวัยวะ ซึ่งในทางการแพทย์จะแบ่งช่องท้องของคนไข้เป็น 9 โซน ได้แก่
โพรไบโอติกส์ ช่วยสร้างสมดุลระบบทางเดินอาหารได้จริงหรือ?
ลำไส้ใหญ่ของเราเป็นที่อยู่อาศัยของจุลินทรีย์ราวห้าร้อยชนิดซึ่งมีทั้งชนิดที่ดีและไม่ดี การศึกษาทางการแพทย์พบว่าจุลินทรีย์ชนิดดีที่มีความสำคัญต่อสุขภาพหลัก ๆ มีอยู่ 2 ชนิด ได้แก่ แลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) กับ ไบฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium) โดยพบว่าในลำไส้ของคนที่ป่วยมักมีจุลินทรีย์สองชนิดนี้น้อยกว่าคนปกติ ฉะนั้น หากเราเติมจุลินทรีย์ที่ดีในรูปแบบของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโพรไบโอติกส์เข้าสู่ร่างกายก็จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคได้ และมีงานวิจัยสนับสนุนด้วยว่าโพรไบโอติกส์สามารถช่วยรักษาอาการท้องเสียหรือลำไส้แปรปรวน ตลอดจนช่วยปรับสมดุลลำไส้ได้
อาการปวดท้องแบบไหนที่ต้องไปพบแพทย์
"หากเรามีอาการปวดท้องรุนแรงมากและต่อเนื่องเกิน 6 ชม. ร่วมกับมีไข้ อาเจียนอย่างมาก มีเลือดออกทางเดินอาหาร ปวดร้าวทะลุหลัง ปวดเกร็งทั้งท้อง ฯลฯ อาการเหล่านี้อาจเป็นโรคที่ต้องมีการผ่าตัดเร่งด่วน หรือได้รับการรักษาทันที เช่น กระเพาะทะลุ ไส้ติ่งอักเสบ ถุงน้ำดีอักเสบ ท่อน้ำดีอุดตัน ตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน เป็นต้น หรือ อาการปวดท้องน้อยในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ ร่วมกับมีเลือดออกทางช่องคลอด ซึ่งอาจเกิดจากการแท้งบุตร หรือท้องนอกมดลูกก็ต้องรีบมาพบแพทย์ทันทีเช่นกัน" พญ.สาวินี จิริยะสิน กล่าวสรุป
ผู้สนใจรับการตรวจรักษาโรคหรือปรึกษากับแพทย์เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร สามารถติดต่อได้ที่ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลวิมุต ชั้น 5 โรงพยาบาลวิมุต พหลโยธิน หรือโทรศัพท์นัดหมายหมายเลข 02-079-0054
บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP ต่อยอดความเชี่ยวชาญด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ "Ultramild Foaming Hand Wash' ภายใต้แบรนด์ ALMIND by SCGP โฟมล้างมือสูตรอ่อนโยน ตัวช่วยเพื่อสุขอนามัยที่ดี เหมาะกับผู้ที่มีผิวแพ้ง่ายและเด็กที่มีผิวบอบบาง สามารถลดการสะสมของเชื้อแบคทีเรียและสิ่งสกปรกที่อาจเป็นสาเหตุในการก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ อาทิ อาหารเป็นพิษ, ท้องร่วง, ลำไส้อักเสบ, การติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินหายใจ และ การติดเชื้อบริเวณผิวหนัง เนื้อโฟมเปลี่ยนสีได้
เตือน ปชช.พื้นที่น้ำท่วมระวังท้องร่วง ท้องเสีย
—
ผอ.สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จ.อุบลราชธานี เตือนประชาชนเขตน้ำท่วมระวังโรคอาหารเป็นพิษ แนะยึดหลัก...
รพ.เมดพาร์ค ชูแคมเปญใหม่ ชวนประชาชน ตรวจคัดกรองมะเร็งระบบทางอาหาร
—
โรงพยาบาลเมดพาร์ค เปิดตัวแคมเปญ "Stay Healthy, Stay Safe from Cancer" ชวนประชาชนตรวจคั...
เคล็ดลับความสำเร็จจากศิษย์เก่าของ มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ ในวันสตรีสากลสำหรับแพทย์หญิงรุ่นใหม่
—
เนื่องในโอกาสวันสตรีสากล คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ...
โรต้าไวรัสโรคฮิต.. ที่พบบ่อยในเด็กเล็ก
—
พญ.นฤภร ต่อศิริสุข กุมารแพทย์เฉพาะทางโรคต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม คลินิกเด็ก ศูนย์แม่และเด็ก โรงพยาบาลหัวเฉียว...
รู้ทันสัญญาณอันตราย "โนโรไวรัส (Norovirus)"
—
หน้าหนาวแบบนี้ มีโรคใหม่กำลังระบาดอีกแล้ว!! นั่นก็คือ "โนโรไวรัส" มักเกิดขึ้นในเด็ก ซึ่งตอนนี้มีเด็ก ๆ ติด...
ระวัง! "โนโรไวรัส" ระบาดหนักหน้าหนาว! ใครบ้างที่เสี่ยง?
—
ระวัง! "โนโรไวรัส" ระบาดหนักหน้าหนาว! ใครบ้างที่เสี่ยง? จากข่าว "โนโรไวรัส" ที่กำลังระบาดในหลายพ...