การประชุม ฟิวเจอร์ มิเนอรัลส์ ฟอรัม (Future Minerals Forum หรือ FMF) ครั้งที่ 2 ซึ่งจัดโดยกระทรวงอุตสาหกรรมและทรัพยากรธรณีของซาอุดีอาระเบีย เผยแพร่เอกสารทางวิชาการเกี่ยวกับอนาคตของการทำเหมืองแร่และแนวทางการปฏิรูปอุตสาหกรรม
ปีเตอร์ ไบรอันต์ (Peter Bryant) ประธานสถาบันหุ้นส่วนการพัฒนา (Development Partner Institute) และประธานบริษัทคลาเรโอ (Clareo) ได้สำรวจตรวจสอบเรื่องดังกล่าวในรายงานที่ท้าทายอุตสาหกรรม โดยเขาโต้แย้งว่า อุตสาหกรรมเหมืองแร่ต้องปฏิรูปตัวเองด้วยการดำเนินแนวทางฐานราก ได้แก่ วิธีการสกัดแร่ธาตุและโลหะ การนำเสนอตัวเองต่อโลก และอธิบายบทบาทของอุตสาหกรรมในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งการมีส่วนร่วมในเป้าหมายของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์
เอกสารนี้เรียกร้องให้อุตสาหกรรมแร่และโลหะดำเนินการวิจัยเชิงลึกและสนับสนุนนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ไม่เพียงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความยั่งยืนให้กับเทคนิคการทำเหมืองแร่เท่านั้น แต่ยังเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย บัดนี้เป็นเวลาที่จะขยายการเข้าถึงเพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไปว่าการทำเหมืองแร่เป็นส่วนสำคัญในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ในขณะที่สังคมต้องการพลังงานสะอาดมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่หลายคนกลับยังไม่ทราบว่าวัตถุดิบที่จำเป็นสำหรับการผลิตพลังงานให้กับรถยนต์ไฟฟ้า ไมโครชิป แผงโซลาร์เซลล์ และแบตเตอรี่แบบชาร์จไฟได้ ล้วนมาจากการสกัดแร่และโลหะมีค่า เช่น ลิเธียม โคบอลต์ ทองแดง และกราไฟต์ ตัวอย่างเช่น หากไม่มีทองแดง ทุ่งกังหันลมก็ไม่สามารถทำงานได้
ซาอุดีอาระเบียมีแหล่งแร่สำรองที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์คิดเป็นมูลค่าถึง 1.3 ล้านล้านดอลลาร์ ด้วยเหตุนี้ ซาอุฯ จึงสามารถเป็นผู้นำในการคิดใหม่ทำใหม่โดยใช้เทคนิคการทำเหมืองแร่แบบใหม่ อันจะเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ของความเป็นห่วงเป็นใยด้วยการเชื่อมโยงอุตสาหกรรมเหมืองแร่ทั่วโลกเข้ากับชุมชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอีกครั้ง โดยโน้มน้าวให้พวกเขาได้ตระหนักถึงประโยชน์พื้นฐานที่ได้จากแร่และโลหะ "เราจำเป็นต้องเร่งผลักดันการลงทุนด้านนวัตกรรมเพื่อให้การพัฒนาแร่เป็นตัวกระตุ้นความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ" รายงานระบุ
คุณไบรอันต์ยังระบุอีกด้วยว่า อุตสาหกรรมเหมืองแร่ต้องเป็น "ผู้ให้" มากกว่า "ผู้รับ" ต้องดำเนินมาตรการที่ใหญ่ขึ้นเพื่อแสดงให้ชุมชน รัฐบาล และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเห็นว่า อุตสาหกรรมให้ประโยชน์แก่สังคม ส่งเสริมการลดการปล่อยคาร์บอน และต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างไร
แผนงานระดับโลกจะช่วยสร้างรากฐานและความร่วมมือซึ่งจำเป็นต่อการมียุทธศาสตร์ที่เข้มแข็งและการดำเนินการที่ชัดเจน อันจะทำให้เกิดความเชื่อมั่นว่าภาระต่าง ๆ จะไม่ตกอยู่กับผู้ที่ไม่สามารถแบกรับภาระเหล่านั้น ขณะที่ผลประโยชน์จะไม่ตกเป็นของคนไม่กี่กลุ่ม แต่จะสร้างความเจริญรุ่งเรืองในระยะยาว เสมอภาค และยั่งยืน
สื่อมวลชนติดต่อ :
โอมาร์ ชีรีน (Omar Shereen)
อีเมล: [email protected]
โทร. +966 50 663 0489
โลโก้ - https://mma.prnewswire.com/media/1973377/Future_Minerals_Forum_Logo.jpg
สำนักเลขาธิการคณะกรรมการจัดงานดิจิทัล ไชนา ซัมมิต เมื่อวันที่ 29 เมษายนที่ผ่านมา การประชุมสุดยอด ดิจิทัล ไชนา ซัมมิต หรือ Digital China Summit (DCS) ครั้งที่ 8 ได้เปิดฉากอย่างเป็นทางการที่นครฝูโจว มณฑลฝูเจี้ยน งานนี้จัดขึ้นภายใต้ความร่วมมือของหน่วยงานสำคัญหลายแห่ง ได้แก่ คณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติ สำนักงานข้อมูลแห่งชาติ สำนักงานบริหารไซเบอร์สเปซแห่งประเทศจีน กระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ และรัฐบาลประชาชนมณฑลฝูเจี้ยน รวมทั้งได้รับความร่วมมือในการจัดงานจากคณะกรรมการพัฒนา
กลุ่มเหล็กรุ่นใหม่ เข้าพบ 'เอกนัฏ' ประสานเสียงให้กำลังใจ ดันยกเลิกเหล็ก IF กันเหล็กนำเข้าไร้มาตรฐาน
—
วันที่ 23 เมษายน 2568 นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรี...
เปิดแล้ว.....เวทีอัญมณีและเครื่องประดับอาเซียนนานาชาติ Jewellery & Gem ASEAN Bangkok 2025 (JGAB 2025)
—
นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหก...
"JGAB 2025" เวทีอัญมณีและเครื่องประดับอาเซียนระดับโลก ดันไทยสู่ศูนย์กลางการค้าและนวัตกรรมเครื่องประดับอย่างยั่งยืน
—
การรวมพลังรัฐ-เอกชน-ผู้ประกอบการ หนุน...
ปั้นแบรนด์ Beauty ไทยให้เฉิดฉาย!! DIPROM เปิดรับผู้ประกอบการความงามร่วมแจ้งเกิดสู่ "Fashion Hero Brand
—
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) กระทร...
ดีพร้อมระดมพล ปั้นนักรบซอฟต์พาวเวอร์แฟชั่น ปักธงไทยในใจตลาดโลก!
—
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) กระทรวงอุตสาหกรรม ขับเคลื่อนนโยบาย Soft Powe...
ดีพร้อม เปิดโปรเจ็กต์สุดปังหนุนผู้ประกอบการพัฒนาผลิตภัณฑ์แฟชั่นสายมูมงคล ดึงวัฒนธรรม ศรัทธา เสริมพลังบวก เชื่อมโยงซอฟต์พาวเวอร์ไทย
—
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม...