ธนาคารกรุงเทพ แนะ 5 แนวทาง ใช้ดิจิทัลแบงก์กิ้งอย่างสบายใจ สกัดภัยทางไซเบอร์ ยึดหลัก "ช้าแต่ชัวร์" อย่ารีบตัดสินใจ เสี่ยงตกเป็นเหยื่อ ชี้มิจฉาชีพหันโจมตีจุดอ่อนเรื่องพฤติกรรม-ประมาท ย้ำเพิ่มความระมัดระวัง โดยเฉพาะช่วงเทศกาลปีใหม่ เหตุเงินสะพัด-ปริมาณธุรกรรมสูงกว่าปกติ
ย้ำ! ให้ยึดหลัก "ช้าแต่ชัวร์" ไม่ตกเป็นเหยื่อการโจรกรรมทางไซเบอร์ ชี้ช่วงเทศกาลปีใหม่มีปริมาณธุรกรรมสูงกว่าปกติ เพิ่มความระมัดระวัง หลังพบพฤติกรรมแฮกเกอร์ เจาะจุดอ่อนพฤติกรรมผู้ใช้มุ่งโจมตีที่ตัวบุคคลมากขึ้น
นายกิตติ โฆษะวิสุทธิ์ ผู้จัดการจัดการความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปัจจุบันผู้บริโภคเลือกใช้บริการด้านการเงินผ่านช่องทางออนไลน์และดิจิทัลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยสอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของลูกค้าที่ต้องการทำธุรกรรมได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และลดการใช้เงินสด ซึ่งธนาคารได้มุ่งมั่นพัฒนาบริการต่างๆ ที่ตอบโจทย์การใช้งานดังกล่าว รวมถึงการให้ความมั่นใจแก่ลูกค้าในด้านความปลอดภัยสำหรับการทำธุรกรรมบนหลักการที่เป็นมาตรฐานสากล
อย่างไรก็ตาม ธนาคารพบว่า ภัยทางไซเบอร์ที่พบค่อนข้างมากช่วงที่ผ่านมา จะพบได้บ่อยใน 5 รูปแบบ ได้แก่ 1.) การชักจูงเพื่อให้เปิดเผยข้อมูลด้วยฟิชชิงอีเมลหรือ SMSที่มักมีลิงก์ให้กรอกข้อมูล 2.) การหลอกล่อให้ทำตามที่ต้องการ เช่น การดาวน์โหลดโปรแกรม 3.) การเข้าถึงเครื่องที่ใช้งานทางช่องโหว่ 4. แอบอ้างหน่วยงานภาครัฐ เพื่อเร่งรับบังคับให้ทำตาม 5.) ส่งเอกสารที่มีมัลแวร์มากับเมล
ทั้งนี้ ในฐานะธนาคารที่มีความมุ่งมั่นในบทบาทการเป็น "เพื่อนคู่คิด" ให้แก่ลูกค้า ธนาคารขอแนะนำ 5 แนวทางเพื่อช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้ทุกการทำธุรกรรมของลูกค้า
นายกิตติ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันพบว่าแฮกเกอร์ มุ่งเน้นการโจรกรรมไปยังผู้ใช้งานโดยตรง เนื่องจากผู้บริโภคมีการใช้งานเทคโนโลยีในชีวิตประจำมากขึ้น ซึ่งอาจจะมีความรู้ ประสบการณ์และความระมัดระวังเกี่ยวกับการใช้งานแตกต่างกัน ซึ่งแฮกเกอร์จะอาศัยช่องโหว่หรือจุดอ่อนของพฤติกรรมผู้ใช้งานในการโจมตี โดยใช้เทคนิคการโน้มน้าวเหล่านี้
"สิ่งสำคัญ! ที่ผู้ใช้งานควรเพิ่มความใส่ใจ คือ การวิเคราะห์และเข้าใจในตัวเองว่า เราเป็นคนแบบไหน มีพฤติกรรมแบบใด เช่น เมื่อได้รับข้อความจากกลุ่มเพื่อน แล้วส่งต่อเลย โดยไม่ได้อ่านให้ละเอียด หรือ ตัดสินใจเร็วด้วยความประมาท เมื่อเข้าใจตัวเองรวมถึงพฤติกรรมของตัวเราแล้ว พฤติกรรมสำคัญที่จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยได้ คือ การลดความเร็วในการตัดสินใจ และ การกระทำที่เรียกว่า 'ช้าแต่ชัวร์' คือ ตรึกตรองและใคร่ครวญวัตถุประสงค์ก่อนทุกครั้ง ทบทวนอีกรอบ จะช่วยให้สามารถพิจารณาได้อย่างละเอียดรอบคอบมากยิ่งขึ้น ไม่ตกเป็นเหยื่อของการหลอกลวงและการโจรกรรมทางไซเบอร์ โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลปีใหม่ รวมถึงเทศกาลต่าง ๆ ที่เป็นช่วงจับจ่ายใช้สอย มีเงินสะพัดและปริมาณธุรกรรมที่สูง ดังนั้น ผู้บริโภคก็ควรต้องเพิ่มความระมัดระวังมากเป็นพิเศษด้วยเช่นกัน" นายกิตติ กล่าว
ธนาคารไทยพาณิชย์ เดินหน้ายกระดับประสบการณ์ดิจิทัลแบงก์อย่างต่อเนื่อง ล่าสุด ต่อยอดความร่วมมือกับ ฮั่วเซ่งเฮง ผู้นำด้านแพลตฟอร์มการลงทุนซื้อ-ขายทองคำในระบบออนไลน์ เปิดให้บริการ "เทรดทองคำออนไลน์ ชำระหรือรับเงินผ่านบัญชี e-FCD ของ SCB บนแอป USD GOLD TRADE" เพียงเชื่อมต่อบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศอิเล็กทรอนิกส์ ประเภทออมทรัพย์ (e-FCD) ที่แอป SCB EASY ตามขั้นตอนของธนาคาร เข้ากับแอป USD GOLD TRADE จากฮั่วเซ่งเฮง ลูกค้าก็สามารถทำธุรกรรมซื้อ-ขาย ทองคำ 99.99% ด้วยสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ (USD) ลดแรงกดดัน
ทีทีบี เพิ่มทางเลือกต่อยอดเงินบริจาคให้เพิ่มพูน ด้วยบัญชีฝากประจำ ดอกเบี้ยสูงสุด 1.75% ต่อปี สำหรับมูลนิธิและองค์กรสาธารณกุศลเท่านั้น
—
ทีเอ็มบีธนชาต หรือ...
ไทยพาณิชย์ ตอกย้ำผู้นำดิจิทัลแบงก์กิ้ง ส่ง "EASY Store" บนแอป SCB EASY สร้างประสบการณ์ดิจิทัลแบงก์เฉพาะบุคคลครั้งแรกในไทย ด้วย "AI ที่รู้ใจยู"
—
ธนาคารไทยพา...
ธนาคารกรุงเทพ แนะนำผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง ต้องพิมพ์ URL เองทุกครั้ง หลังพบมิจฉาชีพลวงลูกค้ากรอกข้อมูลในเว็บปลอม ก่อนสวมรอยโอนเงินออก
—
ตามที่มีข่า...
ธนาคารกรุงเทพ โชว์ 5 นวัตกรรมการเงินช่วยให้ชีวิตยุคดิจิทัลง่ายขึ้น ในงาน BOT Digital Finance Conference 2022
—
ธนาคารกรุงเทพ ร่วมโชว์ 5 นวัตกรรมทางการเงิ...
TB-CERT แนะ 6 สิ่งควรทำ เมื่อข้อมูลส่วนตัวรั่วไหลจากผู้ให้บริการ
—
ดร.กิตติ โฆษะวิสุทธิ์ ประธานกรรมการศูนย์ประสานงานด้านความมั่นคงปลอดภัย เทคโนโลยีสารสนเท...
ภาพข่าว: สมาคมธนาคารไทย จัดตั้งศูนย์ประสานงานด้านความมั่นคงปลอดภัย
—
นายวิรไท สันติประภพ (ที่ 2 จากซ้าย) ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย นายปรีดี ดาวฉาย (ที่...