การดำเนินการจาก USSEC รองรับความพยายามของลูกค้าในการตรวจสอบถั่วเหลืองที่มีความยั่งยืน
ลูกค้าถั่วเหลืองสหรัฐทั่วโลกตลอดทั้งซัพพลายเชนสามารถแสดงพันธสัญญาที่มีในการจัดหาส่วนประกอบที่มีความยั่งยืนได้แล้ว โดยสหรัฐได้ขยายเกณฑ์รับรองความยั่งยืนของถั่วเหลืองสหรัฐ ( U.S. Soy Sustainability Assurance Protocol หรือ SSAP) เพื่อให้โอนใบรับรอง SSAP ได้ถึง 4 ครั้ง
ลูกค้าถั่วเหลืองสหรัฐได้มองหาช่องทางเพิ่มความโปร่งใสมานานแล้วในเรื่องความยั่งยืนของผลผลิตที่ซื้อ โดยการที่บริษัทซอย เอ็กซ์พอร์ท ซัสเทนอบิลิตี ( Soy Export Sustainability, LLC ) ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนส่วนหนึ่งจากเงินที่หักจากยอดขายถั่วเหลืองทั่วประเทศ ได้ปรับเปลี่ยนเกณฑ์ SSAP นั้น เปิดโอกาสให้ลูกค้าติดตามรายการซื้อถั่วเหลืองสหรัฐที่มีความยั่งยืนของตนได้ นำรายการซื้อเหล่านี้ไปปฏิบัติตามเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG) และรายงานความคืบหน้าเทียบกับเป้าหมายเหล่านี้ได้ ผู้นำเข้าจะได้รับใบรับรองที่ระบุชื่อของตนจากผู้ส่งออก และผู้นำเข้าก็จะโอนใบรับรองนี้ถึงลูกค้าได้ ซึ่งใบรับรองดังกล่าวนำไปโอนต่อได้ถึง 4 ครั้งหลังส่งออก
เดสซิสลาวา บาร์แซคคา ( Dessislava Barzachka) ผู้จัดการฝ่ายความยั่งยืน บริษัทบันจ์ (Bunge) กล่าวว่า "การทำให้แน่ใจว่าการจัดหาสินค้านั้นมีความยั่งยืนเป็นหัวใจหลักในความมุ่งมั่นของเรา เพื่อทำให้ซัพพลายเชนเชื่อถือได้ เรามีความยินดีที่เห็นการรับรอง SSAP พัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับเกณฑ์ที่โปร่งใสและเชื่อถือได้ในการวัดความยั่งยืน ใบรับรองที่โอนได้เป็นกุญแจสำคัญที่ลูกค้าและภาคธุรกิจนำไปใช้ติดตามและตรวจสอบได้ว่า ผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองที่ซื้อนั้นมีขึ้นอย่างยั่งยืนหรือไม่ ซึ่งช่วยเพิ่มความยั่งยืนให้ระบบอาหารของโลก"
SSAP มีขึ้นเมื่อปี 2556 เป็นแนวทางรวมที่พิสูจน์ยืนยันแล้ว และได้รับการตรวจสอบจากบุคคลที่สาม โดยทำหน้าที่ยืนยันการผลิตถั่วเหลืองที่มีความยั่งยืนในระดับประเทศ ระบบดังกล่าวออกแบบมาเพื่อรักษาสมดุลมวลของถั่วเหลืองที่พิสูจน์แล้วว่ายั่งยืนในการเคลื่อนย้ายแต่ละครั้ง ทั้งยังนำการดำเนินการในภาคอุตสาหกรรมมาคำนวณรวมในระบบด้วย โดยมีซอย เอ็กซ์พอร์ท ซัสเทนอบิลิตี เป็นองค์กรที่ออกและติดตามใบรับรองดังกล่าว
แม้ในระยะสั้นนั้น การเปลี่ยนแปลงนี้สอดรับกับความต้องการของผู้ซื้อในการแสดงพันธสัญญาที่มีในการจัดหาถั่วเหลืองที่มีความยั่งยืน แต่เมื่อมองในระยาวแล้ว การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวยังช่วยสร้างความต้องการสินค้าด้วย เพราะผู้บริโภคหันมาให้ความสำคัญกับสินค้าที่มีความยั่งยืนมากขึ้น
ผู้เพาะปลูกถั่วเหลืองในสหรัฐได้ปฏิบัติตามแนวทาง SSAP โดยมีผลงานด้านความยั่งยืนดีขึ้นต่อเนื่อง ทำให้ได้สินค้าที่มีความยั่งยืนมากขึ้นอีกในอนาคต ทุกวันนี้ถั่วเหลืองสหรัฐได้รับการยอมรับอยู่ก่อนแล้วว่ามีคาร์บอนฟุตพริ้นท์น้อยที่สุดเมื่อเทียบกับถั่วเหลืองจากที่อื่น นอกจากนี้ SSAP ยังครอบคลุมการตรวจสอบฟาร์มที่ดำเนินการโดยหน่วยงานภายนอกอย่างกระทรวงเกษตรสหรัฐ (USDA) ด้วย และไม่นานมานี้ SSAP ได้รับการรับรอง Silver Level Equivalence เมื่อเทียบจากแบบประเมินความยั่งยืนของฟาร์ม (FSA) เวอร์ชัน 3.0 ของซัสเทนเอเบิล อกริคัลเจอร์ อินิชิเอทีฟ แพลตฟอร์ม (Sustainable Agriculture Initiative Platform) หรือเอสเอไอ แพลตฟอร์ม (SAI Platform) ด้วย ทั้งยังได้รับการยอมรับเมื่อวัดตามแนวทางจัดหาถั่วเหลืองของสมาพันธ์ผู้ผลิตอาหารสัตว์ยุโรป (FEFAC) ผ่านศูนย์การค้าระหว่างประเทศ (ITC) และได้รับการยอมรับในแนวทางจัดหาถั่วเหลืองอย่างยั่งยืนของคอนซูเมอร์ กู๊ดส์ ฟอรัม (Consumer Goods Forum) และแนวปฏิบัติด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีที่สุดของโกลบอล ซีฟู๊ด อัลไลแอนซ์ (Global Seafood Alliance)
แอบบี รินน์ ( Abby Rinne) ผู้อำนวยการฝ่ายความยั่งยืน สภาส่งออกถั่วเหลืองสหรัฐ (USSEC) กล่าวว่า "ผู้เพาะปลูกถั่วเหลืองสหรัฐมีความมุ่งมั่นอย่างหนักแน่นในเรื่องความยั่งยืน เราจึงมุ่งสำรวจแนวทางสนับสนุนความพยายามเหล่านั้นเสมอมา เพื่อรับรองความยั่งยืนของผลผลิตเหล่านั้น SSAP ทำเช่นนั้นได้ แต่เมื่อโอนใบรับรองได้ด้วยแล้ว ก็จะให้ส่งต่อการยืนยันดังกล่าวถึงลูกค้ารายอื่น ๆ ได้ด้วย" โดยสภาส่งออกถั่วเหลืองสหรัฐเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งรายหนึ่งของซอย เอ็กซ์พอร์ท ซัสเทนอบิลิตี โดยมุ่งสร้างความแตกต่าง ยกระดับความพึงพอใจ และหาทางเจาะตลาดให้ถั่วเหลืองสหรัฐ
เกี่ยวกับสภาส่งออกถั่วเหลืองสหรัฐ (USSEC)
สภาส่งออกถั่วเหลืองสหรัฐมุ่งสร้างความแตกต่าง ยกระดับความพึงพอใจ และหาตลาดโปรโมทถั่วเหลืองสหรัฐเพื่อใช้ในการบริโภค เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และใช้ผลิตอาหารสัตว์ในกว่า 80 ประเทศทั่วโลก สมาชิกสภาส่งออกถั่วเหลืองสหรัฐเป็นตัวแทนของซัพพลายเชนถั่วเหลือง ไม่ว่าจะเป็นผู้เพาะปลูก แปรรูป ขนส่ง ค้าขาย ธุรกิจการเกษตรที่เกี่ยวพันกัน และองค์กรการเกษตร สภาส่งออกถั่วเหลืองได้รับเงินสนับสนุนโดยหักจากยอดขายถั่วเหลืองสหรัฐ กองทุนสมทบบริการการเกษตรต่างประเทศ (FAS) ในสังกัดกระทรวงเกษตร และภาคอุตสาหกรรม ดูข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับโซลูชันถั่วเหลืองสหรัฐและข่าวสารเกี่ยวกับสภาส่งออกถั่วเหลืองสหรัฐและถั่วเหลืองสหรัฐทั่วโลกได้ที่ www.ussec.org
ข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้ได้รับทุนสนับสนุนส่วนหนึ่งจากผู้เพาะปลูกถั่วเหลืองสหรัฐ เงินที่หักจากยอดขาย และห่วงโซ่คุณค่าถั่วเหลือง
สื่อมวลชนติดต่อ : คริส แซมมวล ( Chris Samuel) เคอร์รีย์ เคอร์-เอ็นสกัต ( Kerrey Kerr-Enskat) ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารระดับโลก ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายการสื่อสาร สภาส่งออกถั่วเหลืองสหรัฐ สภาส่งออกถั่วเหลืองสหรัฐ โทร : +1.314.306.1273 I อีเมล: [email protected] โทร : +1.515.823.1848 I อีเมล: [email protected] บิล แร็ค ( Bill Raack) แอนดี ไลค์ส ( Andy Likes) ผู้อำนวยการ ผู้อำนวยการอาวุโส แลมเบิร์ต แลมเบิร์ต โทร : +1.314.602.0696 I อีเมล: [email protected] โทร : +1.314.606.1878 I อีเมล: [email protected]
โลโก้ - https://mma.prnewswire.com/media/1907832/USSEC_USSOY_Logo.jpg
นางสาวซาบีดา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.3) และคณะ พร้อมด้วยคณะกรรมการและผู้บริหารการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ลงพื้นที่ทำ Step Test ค้นหาท่อแตกรั่วในโครงการ Step Test Day ปี 2568 ของ กปภ. ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี มุ่งยกระดับบริการเพื่อให้ประชาชนได้ใช้น้ำประปาอย่างทั่วถึง นางสาวซาบีดา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.3) เปิดเผยว่า การดำเนินการลดน้ำสูญเสียของในโครงการ Step Test Day ของ กปภ. ที่ได้ดำเนินการต่อเนื่อง เป็นการตอบสนองต่อนโยบายของกระทรวงมหาดไทยที่
ท็อปส์ ในเครือเซ็นทรัล รีเทล จับมือ เอฟแอลเอส กรุ๊ป เปิดตัว 'EV TRUCK' รถพลังไฟฟ้าขนส่งของสด! ยกระดับกรีนโลจิสติกส์ช่วยกระจายสินค้าทั่วไทย
—
ตั้งเป้าลดคาร...
"QTC" หนึ่งใน 72 องค์กร ร่วมประกาศเจตนารมณ์เครือข่ายอนุรักษ์พลังงาน "Energy Beyond Standards 2025" กับ กระทรวงพลังงาน
—
เมื่อเร็วๆ นี้ นายพจน วงศ์คำ รองกร...
กทม. ขานรับนโยบาย ศธ. ยกเว้นแต่งชุดลูกเสือ-เนตรนารี-ยุวกาชาดโรงเรียนในสังกัด พร้อมจัดสวัสดิการ 20 รายการ
—
นางสาวพิศมัย เรืองศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักการศึกษ...
เขตดอนเมืองเร่งแก้ปัญหาสุนัขจรจัดบริเวณซอยช่างอากาศอุทิศ 5 แยก 2
—
นายสมบัติ กนกทิพย์วรรณ ผู้อำนวยการเขตดอนเมือง กทม. กล่าวถึงการแก้ปัญหาสุนัขจรจัด บริเวณ...
MGC-ASIA ดำเนินมาตรการเชิงรุก ตรวจสอบความปลอดภัย อาคารในเครือทั่วประเทศ หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว
—
บริษัท มิลเลนเนียม กรุ๊ป คอร์ปอเรชั่น (เอเชีย) จำกัด (มหา...
EXIM BANK ร่วมกับกระทรวงการคลังและกระทรวงพาณิชย์ ออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะ SMEs รับมือนโยบายภาษีแบบตอบโต้ของสหรัฐฯ
—
นายบัณฑิต สะเพียรชั...
คปภ. ทำงานร่วมกับ กทม. ลงพื้นที่ประสานงานกรณีตึกถล่มจากเหตุแผ่นดินไหว เร่งตรวจสอบสิทธิประโยชน์ด้านประกันภัยเพื่อดูแลผู้ประสบภัยอย่างเร่งด่วน
—
นายอดิศร พิ...