บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็กโก กรุ๊ป ขยายพอร์ตโฟลิโอธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ซื้อหุ้นเพิ่มอีก 10% ในโรงไฟฟ้าพลังงานลม "ชัยภูมิ วินด์ฟาร์ม" และ "เทพพนา วินด์ฟาร์ม" จ.ชัยภูมิ ส่งผลให้เอ็กโกกลายเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมดของโรงไฟฟ้าทั้ง 2 แห่ง รวมทั้งยังสามารถรับรู้รายได้ตามสัดส่วนการลงทุนเพิ่มทันที พร้อมกันนี้ยังช่วยสนับสนุนเป้าหมายการมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี 2593
นายเทพรัตน์ เทพพิทักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอ็กโก กรุ๊ป เปิดเผยว่า "เอ็กโกได้ซื้อหุ้นเพิ่มในสัดส่วน 10% ของบริษัท ชัยภูมิ วินด์ฟาร์ม จำกัด และบริษัท เทพพนา วินด์ฟาร์ม จำกัด ซึ่งเป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการโรงไฟฟ้าพลังงานลม "ชัยภูมิ วินด์ฟาร์ม" และ "เทพพนา วินด์ฟาร์ม" จ.ชัยภูมิ ตามลำดับ ซึ่งเป็นการซื้อหุ้นทั้งหมดจากกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิม โดยการซื้อและโอนหุ้นจากผู้ถือหุ้นเดิมได้เสร็จสิ้นแล้ว เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2565 เป็นผลให้เอ็กโกถือหุ้นทั้งหมดในโรงไฟฟ้าทั้ง 2 แห่ง"
โรงไฟฟ้า "ชัยภูมิ วินด์ฟาร์ม" ตั้งอยู่ใน อ.ซับใหญ่ จ.ชัยภูมิ มีกำลังผลิตติดตั้ง 80 เมกะวัตต์ มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ภายใต้สัญญาซื้อขายไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (Small Power Producer - SPP) ประเภทสัญญา Non-firm ในขณะที่โรงไฟฟ้า "เทพพนา วินด์ฟาร์ม" ตั้งอยู่ใน อ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิ มีกำลังผลิตติดตั้ง 7.5 เมกะวัตต์ มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ในโครงการผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (Very Small Power Producer - VSPP) เริ่มเดินเครื่องเชิงพาณิชย์และจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเมื่อปี 2559 และ ปี 2556 ตามลำดับ ทั้งนี้ โรงไฟฟ้าทั้ง 2 แห่ง มีผลการดำเนินงานที่ดี มีค่าความพร้อมจ่ายสูง เครื่องจักรได้รับการบำรุงรักษาอยู่ในสภาพที่ดี และยังตั้งอยู่ในทำเลที่มีศักยภาพและมีลมตลอดทั้งปี
"การเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นในครั้งนี้สอดคล้องกับทิศทางการดำเนินธุรกิจเพื่อขับเคลื่อนองค์กรสู่ความยั่งยืนของเอ็กโก กรุ๊ป ด้วยแนวคิด "Cleaner, Smarter and Stronger to Drive Sustainable Growth" เพื่อให้สอดรับกับยุคเปลี่ยนผ่านของอุตสาหกรรมพลังงาน ตลอดจนสนับสนุนให้บริษัทได้บรรลุเป้าหมายทั้งระยะกลางในการเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเป็น 30% และลดการปล่อยปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อหน่วยไฟฟ้าที่ผลิตได้ (Carbon Emission Intensity) ลง 10% ภายในปี 2573 ในขณะที่เป้าหมายระยะยาว คือ การมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) ภายในปี 2593" นายเทพรัตน์กล่าวสรุป
'บมจ. อุบล ไบโอ เอทานอล' หรือ UBE ผู้ผลิตและแปรรูปมันสำปะหลังแบบครบวงจร มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจเอทานอลก้าวสู่คาร์บอนเป็นศูนย์ และเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ประกาศคว้าใบรับรอง ISO 14064-1:2018 มาตรฐานระดับสากลเป็นรายแรกในอุตสาหกรรมเอทานอล ที่ว่าด้วยการรายงานและการตรวจสอบปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมขององค์กร เดินหน้าโครงการบริหารจัดการพลังงาน การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ตลอดซัพพลายเชน พร้อมขับเคลื่อนเทคโนโลยีต่อเนื่อง มุ่งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกปี 2568
วว. จัดอบรมฟรี ! เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนของอุตสาหกรรมในพื้นที่ EEC
—
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถาบันวิจ...
A5 กางโรดแมปสู่ Carbon Neutrality ปี 2050 ปักธงใช้ วัสดุรักษ์โลก 80% ปี 2030 ผนึก 4 พันธมิตรยักษ์ใหญ่ขับเคลื่อน ESG ร่วมสร้างโลกยั่งยืน
—
A5 ประกาศเจตนารม...
ทีวีโอ ผู้ผลิตน้ำมันถั่วเหลืองตราองุ่น ผนึกกำลัง บีไอจี นำไนโตรเจนคาร์บอนต่ำ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอุตสาหกรรมน้ำมันพืช
—
บริษัท น้ำมันพืชไทย จำกัด (มห...
ไทย-ญี่ปุ่น หนุนอุตสาหกรรมสีเขียว ล่าสุด เจโทร จับมือ บีโอไอ และ สกพอ. จัดตั้ง Sustainable Business Desk
—
ไทย-ญี่ปุ่น หนุนอุตสาหกรรมสีเขียว ล่าสุด เจโทร ...
บางจากฯ ร่วมผลักดันการตระหนักรู้ด้านวิกฤตสภาพภูมิอากาศในห่วงโซ่อุปทาน
—
เสริมความพร้อมของภาคธุรกิจด้วยเครื่องมือประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์และกลไกตลาดคาร์บอน...
กรีน เยลโล่ ธุรกิจพลังงานสีเขียว เผยแนวคิดสู่ความยั่งยืน
—
กรีน เยลโล่ (GreenYellow) แนวร่วมด้านความยั่งยืนผู้นำด้านการสร้างผลกระทบเชิงบวก หรือ Impact Mak...
กรีน เยลโล่ ธุรกิจพลังงานสีเขียว เผยแนวคิดสู่ความยั่งยืน
—
กรีน เยลโล่ (GreenYellow) แนวร่วมด้านความยั่งยืนผู้นำด้านการสร้างผลกระทบเชิงบวก หรือ Impact Mak...