ม.มหิดล ศึกษาบทบาท "ล่ามทางการแพทย์" เป็นแนวทางสร้าง "เครือข่ายนักแปลและล่าม" ช่วยเหลือแรงงานอพยพและชาวต่างชาติที่ทำงานในไทย ช่วงวิกฤติ COVID-19

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

ในช่วงวิกฤติ COVID-19 ไม่ใช่แค่เพียง "หมอรักษาผู้ป่วย" เป็นที่ต้องการแต่เพียงเท่านั้น "หมอภาษาและวัฒนธรรม" หรือ ผู้ทำหน้าที่เป็น "ล่าม" หรือ  "บุคคลกลาง" คอยเชื่อมประสานระหว่าง "ผู้ป่วย" และ "แพทย์" ด้วยทักษะทางด้านภาษาและวัฒนธรรม ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้ที่ไม่ได้ใช้ภาษาและวัฒนธรรมเดียวกัน แต่ต้องอยู่ในสังคมเดียวกัน

ม.มหิดล ศึกษาบทบาท "ล่ามทางการแพทย์" เป็นแนวทางสร้าง "เครือข่ายนักแปลและล่าม" ช่วยเหลือแรงงานอพยพและชาวต่างชาติที่ทำงานในไทย ช่วงวิกฤติ COVID-19

อาจารย์ ดร.กรญาณ์ เตชะวงค์เสถียร ประธานศูนย์การแปลและบริการด้านภาษาและอาจารย์ประจำหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย (RILCA) มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ร่วมกับ อาจารย์ ดร.ณรงเดช พันธะพุมมี ซึ่งเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรเดียวกัน ศึกษาบทบาทของล่ามทางการแพทย์ และแนวทางการส่งเสริมการใช้ล่ามทางการแพทย์ เพื่อทำหน้าที่ "หมอภาษาและวัฒนธรรม" ผ่านงานวิจัย เรื่อง "ข้ามกำแพงทางภาษาในวิกฤติโรคระบาด: บทบาทการแปลและการล่ามช่วงภาวะ COVID -19 ในประเทศไทย"

แม้หลักสูตรปริญญาโทสาขาวิชาภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม RILCA จะเปิดสอน 3 วิชาเอก ได้แก่ การสอนภาษา (Language Teaching) การแปล(Translation) และการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมเพื่อการบริหาร (Intercultural Communication for Administration) ในขณะที่โจทย์ท้าทายที่ได้รับ คือ จะทำอย่างไรให้สามารถ "ข้ามกำแพงทางภาษา" ในฐานะ "ล่าม" (Interpreter) ผู้ทำหน้าที่เหมือนเป็น "หมอภาษาและวัฒนธรรม" ซึ่งเป็น "บุคคลกลาง" คอยเชื่อมประสานระหว่าง "ผู้ป่วย" และ "แพทย์" ให้เกิด "ความเข้าใจ" และ"ความร่วมมือ"

เนื่องด้วยทักษะ "การแปล" เป็นงานด้านเอกสารที่ต้องใช้เวลาในการวิเคราะห์ต้นฉบับ และการค้นคว้าองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องมาเพื่อการถอดความหมาย ตีความ และเลือกใช้คำให้ถูกต้องตามต้นฉบับ และทำให้ผู้อ่านที่ใช้ภาษาปลายทางเข้าใจได้มากที่สุด

ในขณะที่ทักษะของการทำหน้าที่ "ล่าม" นั้น เน้นการสื่อสารระหว่างสองภาษา ที่ต้องอาศัยทั้งทักษะในการถอดความหมาย การตีความ ความรอบรู้ ประสบการณ์ และไหวพริบปฏิภาณ ประมวลเข้าด้วยกันในสถานการณ์ที่ต้องแข่งกับเวลา

ที่ผ่านมา อาจารย์ ดร.กรญาณ์ เตชะวงค์เสถียร ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านสังคมวิทยาการแปล และ   อาจารย์ ดร.ณรงเดช พันธะพุมมี ได้ศึกษาบทบาทของล่ามทางการแพทย์ และแนวทางการส่งเสริมการใช้ล่ามทางการแพทย์ โดยใช้บริบทของสังคมและวัฒนธรรม ที่ผสมผสานกับทักษะของ "การสื่อสารสุขภาวะ" เพื่อให้ ล่ามทำหน้าที่ "หมอภาษาและวัฒนธรรม" ให้ความรู้เรื่อง COVID-19 ไปสู่แรงงานอพยพรวมถึงชาวต่างชาติที่พำนักในประเทศไทยอย่างเต็มที่

มีหลายคำในช่วงวิกฤติ COVID-19 ที่ผ่านมา ที่ ล่ามทางการแพทย์จะต้องอธิบายให้แรงงานอพยพ รวมถึงชาวต่างชาติที่พำนักในประเทศไทยเกิดความเข้าใจ ท่ามกลางความตื่นตระหนกเนื่องจากเป็นวิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดฝันพร้อมกันทั่วโลก อาทิ "Quarantine" หรือ "การกักโรค" และ "Home Isolation" หรือ "การกักโรคที่บ้าน" ฯลฯ หรือแม้แต่การทำความเข้าใจกับการแบ่งระดับการติดเชื้อและการป่วยด้วย COVID-19 ตามลักษณะของสีต่างๆซึ่งแสดงถึงความรุนแรงจากน้อยไปหามาก ตั้งแต่ "สีเขียว" "สีเหลือง" ไปจนถึง "สีแดง" เป็นต้น

จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ล่ามทางการแพทย์จะต้องสื่อความหมายด้วยความระมัดระวัง เพื่อให้เป็นไปตามมาตรการ และอยู่กันในสังคมด้วยความเข้าใจ และปลอดภัย โดยจะรอให้ "ด่านหน้า" ซึ่งได้แก่ แพทย์ และพยาบาล ซึ่งต้องปฏิบัติหน้าที่ดูแลผู้ป่วยเป็นจำนวนมากอยู่แล้ว มาคอยตอบคำถามเฉพาะรายโดยละเอียดคงไม่ได้

แม้สถานการณ์ COVID-19 ในปัจจุบันจะบรรเทาเบาบางและผู้คนส่วนใหญ่เริ่มกลับไปใช้ชีวิตวิถีใหม่กันแล้ว แต่มหาวิทยาลัยมหิดล ก็ยังคงพร้อมทำหน้าที่ศึกษาบทบาทของล่ามทางการแพทย์ และแนวทางการส่งเสริมการใช้ล่ามทางการแพทย์ เพื่อให้ล่ามทำหน้าที่ "หมอภาษาและวัฒนธรรม" ต่อไป

ซึ่งความภาคภูมิใจไม่ใช่เพียงการส่งเสริมให้มีสื่อสารข้ามวัฒนธรรมและภาษาเท่านั้น หากเป็นโอกาสในการศึกษาวิจัยเพื่อรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องขยายผลต่อยอดสู่การสร้าง "เครือข่ายนักแปลและล่าม" เพื่อรองรับในยามที่มีภาวะวิกฤติคับขันต่างๆ เกิดขึ้นอีก เพื่อให้สามารถร่วมให้ความช่วยเหลือทางภาษาและวัฒนธรรมได้อย่างทันท่วงทีได้ต่อไปในอนาคต

ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่www.mahidol.ac.th

สัมภาษณ์ และเขียนข่าวโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหม นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ) งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0-2849-6210


ข่าวชาวต่างชาติ+การสื่อสารวันนี้

"Rolling Loud Thailand" ปล่อยรถตุ๊กตุ๊กขบวนใหญ่รอบกรุงเทพฯ ผลักดัน Soft Power

"Rolling Loud Thailand 2024" ปล่อย "รถตุ๊กตุ๊ก" ขบวนใหญ่ 50 คัน ที่มีป้ายโปรโมทเทศกาลดนตรีฮิปฮอประดับโลก ซึ่งกำลังจะเกิดขึ้นในวันที่ 22-24 พฤศจิกายนนี้ ที่ Legend Siam พัทยา โดยรถตุ๊กตุ๊กได้วิ่งไปตามเส้นทางสำคัญในกรุงเทพฯ เพื่อสร้าง Awareness และเป็นที่จดจำให้กับนักท่องเที่ยวทุกคน โดยขบวนรถตุ๊กตุ๊กนี้เป็นเครื่องมือสร้างการรับรู้ ดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ สร้างการสื่อสารให้กับคอเพลงฮิปฮอป กับกลุ่มเป้าหมายของ "Rolling Loud Thailand 2024" ที่แบ่งเป็นชาวต่างชาติ 40%

"ร่มโพธิ์ พร็อพเพอร์ตี้" (TITLE) สานต่อคว... "ร่มโพธิ์ พร็อพเพอร์ตี้" (TITLE) สานต่อความสำเร็จ รุก Strategic Location ต่อเนื่อง — "ร่มโพธิ์ พร็อพเพอร์ตี้" (TITLE) สานต่อความสำเร็จ รุก Strategic Locat...

ปักมุดร้านอร่อยเจ้าเด็ดเจ้าดังไปกับรายการ... EATER THE JOURNEY เช็คร้านอร่อยย่านอุดมสุขพร้อมท่องอวกาศ Space Journey BKK — ปักมุดร้านอร่อยเจ้าเด็ดเจ้าดังไปกับรายการ "EATER THE JOURNEY" โดยพิธีกร สอง-น...

ปาร์ตี้ ขนมมันเทศผสมทอดกรอบเคลือบคาราเมล ... ปาร์ตี้ เจ้าตลาดขนมสายหวาน เปิดตัวรสชาติใหม่ เจาะกลุ่มชาไทยเลิฟเวอร์ — ปาร์ตี้ ขนมมันเทศผสมทอดกรอบเคลือบคาราเมล ภายใต้ บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหา...

Sontana (ซอนทานา) แพลตฟอร์มที่พักอาศัยราย... Sontana รุกตลาดห้องพักสำหรับนักธุรกิจและรีโมทเวิร์กเกอร์ สร้างโอกาสใหม่ให้เจ้าของอสังหาฯ — Sontana (ซอนทานา) แพลตฟอร์มที่พักอาศัยรายเดือนสำหรับนักธุรกิจ แ...

นายชัยวัฒน์ รังษีภโนดร ผู้อำนวยการเขตสัมพ... เขตสัมพันธวงศ์เร่งติดตามชาวต่างชาติลักลอบติดสติกเกอร์เสาไฟฟ้าย่านเยาวราช — นายชัยวัฒน์ รังษีภโนดร ผู้อำนวยการเขตสัมพันธวงศ์ กทม. กล่าวกรณีสื่อสังคมออนไลน์...

กทม. เข้มตรวจสอบคุณสมบัติครูต่างชาติ รร.ในสังกัดให้ถูกต้องตามคุณสมบัติ-หลักเกณฑ์ที่กำหนด

นางสาวพิศมัย เรืองศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักการศึกษา (สนศ.) กทม. กล่าวถึงการเข้มงวดตรวจสอบคุณสมบัติครูชาวต่างชาติในโรงเรียนสังกัด กทม. ให้เป็นไปตามระเบียบหลักเกณฑ์และกฎหมายที่กำหนดว่า สนศ. ได้ดำเนินโครงการโรง...