โมเดลโมเลกุลยาของ "หัวเว่ย คลาวด์" ช่วยเร่งการคิดค้นยาใหม่ จากใช้เวลาหลายปีเหลือเพียงเดือนเดียว

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

ในวันที่ 19 กันยายน มหกรรมเทคโนโลยี หัวเว่ย คอนเนกต์ ประจำปี 2565 หรือ HUAWEI CONNECT 2022 ได้เปิดฉากขึ้นที่กรุงเทพฯ ภายในงาน คุณเคน หู (Ken Hu) ประธานหมุนเวียนของหัวเว่ย ได้กล่าวสุนทรพจน์ในหัวข้อ "ปลดปล่อยพลังแห่งดิจิทัล" หรือ "Unleash Digital" โดยได้แสดงให้เห็นว่าหัวเว่ยสามารถช่วยเหลือองค์กรต่าง ๆ ให้ใช้ประโยชน์สูงสุดจากคลาวด์เพื่อการพัฒนาแบบก้าวกระโดด

โมเดลโมเลกุลยาของ "หัวเว่ย คลาวด์" ช่วยเร่งการคิดค้นยาใหม่ จากใช้เวลาหลายปีเหลือเพียงเดือนเดียว

คุณเคน หู ได้ยกตัวอย่างโรงพยาบาลลำดับที่ 1 ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยซีอานเจียวทง (First Affiliated Hospital of the Medical School at Xi'an Jiaotong University) ซึ่งใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการเร่งการวิจัยและพัฒนายา รวมถึงการคิดค้นยาใหม่

ในอุตสาหกรรมยานั้น โดยทั่วไปแล้วต้องใช้เงินลงทุนเฉลี่ยมากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และใช้เวลามากถึง 10 ปีในการนำยาตัวหนึ่งออกสู่ตลาด นับตั้งแต่ขั้นตอนของการพัฒนาไปจนถึงการอนุมัติ ส่วนการพัฒนายาปฏิชีวนะนั้น บางครั้งก็มีการค้นพบแบคทีเรียดื้อยาก่อนที่ยาปฏิชีวนะตัวใหม่จะเสร็จสิ้นการทดลองทางคลินิกด้วยซ้ำ

การใช้บริการออกแบบยาด้วย AI โดยอาศัยโมเดลโมเลกุลยาผานกู่ (Pangu Drug Molecule Model) ของหัวเว่ย คลาวด์ ช่วยให้ศาสตราจารย์ หลิว ปิง และทีมงานจากโรงพยาบาลลำดับที่ 1 ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยซีอานเจียวทง สามารถพัฒนายาต้านจุลชีพใหม่ได้ในเวลาเพียงหนึ่งเดือน ขณะที่ต้นทุนการวิจัยและพัฒนาก็ลดลงถึง 70%

ความท้าทายที่สำคัญในการคิดค้นยาใหม่คือการคัดกรองโมเลกุลยาที่มีมากมายหลายร้อยล้านโมเลกุล ซึ่งแต่เดิมนั้น การคัดกรองยาทำโดยผู้เชี่ยวชาญในห้องปฏิบัติการ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง ใช้เวลานาน และมีอัตราความผิดพลาดสูง

โมเดลโมเลกุลยาผานกู่ได้รับการป้อนข้อมูลโมเลกุลยามากถึง 1.7 พันล้านข้อมูล โดยสามารถคาดการณ์คุณสมบัติทางเคมีฟิสิกส์ของสารประกอบยา และให้คะแนนตามความเหมือนตัวยา (drug likeness) จากนั้นนักวิจัยสามารถทำการทดลองเพื่อพิสูจน์สารประกอบยาที่มีคะแนนสูงสุด

ยิ่งไปกว่านั้น โมเดลโมเลกุลยาผานกู่ยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพโครงสร้างโมเลกุลของสารประกอบยา และลดผลข้างเคียงจากยาใหม่ที่อาจเกิดขึ้นกับเซลล์ของมนุษย์ให้เหลือน้อยที่สุด

ทุกวันนี้ คลาวด์ได้กลายเป็นสื่อกลางที่สำคัญสำหรับบริษัทดิจิทัล และหัวเว่ย คลาวด์ ได้นำเสนอ 4 บริการด้านการพัฒนา หนึ่งในนั้นคือ โมเดลอาร์ตส์ (ModelArts) สำหรับการพัฒนา AI ซึ่งลูกค้าและพาร์ทเนอร์จากทุกอุตสาหกรรมสามารถเข้าถึงได้ตามต้องการ เพื่อมอบงานทางเทคนิคให้เป็นหน้าที่ของหัวเว่ย คลาวด์ และสามารถโฟกัสกับการทำสิ่งอื่น ๆ ที่มีความสำคัญมากที่สุดสำหรับแต่ละองค์กร

รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/1901474/Ken_Hu_HUAWEI.jpg
คำบรรยายภาพ - คุณเคน หู กล่าวสุนทรพจน์ในงานหัวเว่ย คอนเนกต์ ประจำปี 2565


ข่าวมหาวิทยาลัยซีอานเจียวทง+เทคโนโลยี หัวเว่ยวันนี้

นักการทูตและผู้เชี่ยวชาญจากนานาประเทศเข้าร่วมการประชุมด้านการศึกษาระดับโลกของมหาวิทยาลัยซีอานเจียวทง-ลิเวอร์พูล

การประชุมด้านการศึกษาระดับโลกของมหาวิทยาลัยซีอานเจียวทง-ลิเวอร์พูล ประจำปี 2566 (2023 XJTLU Global Education Forum) ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน ณ มหาวิทยาลัยซีอานเจียวทง-ลิเวอร์พูล (Xi'an Jiaotong-Liverpool University หรือ XJTLU) มีนักการทูตและผู้แทน 11 ท่าน จาก 7 ประเทศเข้าร่วมการประชุม โดยประเทศและองค์กรที่เข้าร่วมการประชุมประกอบด้วยสถานกงสุลใหญ่อังกฤษประจำเซี่ยงไฮ้ ราชอาณาจักรเลโซโท สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สาธารณรัฐมาลาวี สาธารณรัฐนามิเบีย สาธารณรัฐซิมบับเว และสถานเอกอัครราชทูตไทย ใน

เปิดวิทยาเขตไท่ชางอย่างเป็นทางการ ในฐานะบ... มหาวิทยาลัยซีอานเจียวทง-ลิเวอร์พูล เปิดวิทยาเขตไท่ชาง — เปิดวิทยาเขตไท่ชางอย่างเป็นทางการ ในฐานะบ้านใหม่ของวิทยาลัยผู้ประกอบการแห่งมหาวิทยาลัยซีอานเจียวทง...

มหาวิทยาลัย XJTLU เปิดตัว Academy of Pharmacy ตอบรับอุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์

มหาวิทยาลัยซีอานเจียวทง-ลิเวอร์พูล (XJTLU) ประกาศเปิดตัวสถาบันแห่งใหม่ XJTLU Wisdom Lake Academy of Pharmacy เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายนที่ผ่านมา Dr Yimin Ding รองประธาน XJTLU กล่าวว่า "อุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์เป็นหนึ่ง...

การประชุมว่าด้วยการพัฒนาเขตการค้าเสรีนำร่... การประชุมว่าด้วยการพัฒนาเขตการค้าเสรีนำร่องจีน (ส่านซี) มุ่งส่งเสริมการพัฒนาและเปิดประเทศ — การประชุมว่าด้วยการพัฒนาเขตการค้าเสรีนำร่องจีน (ส่านซี) จัดขึ้...

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยซีอานเจียวทง-ลิเวอร์พูล ประสบความสำเร็จในการพัฒนาการทำแผนที่กระบวนการดัดแปลง RNA

คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยซีอานเจียวทง-ลิเวอร์พูล (Xi'an Jiaotong-Liverpool University: XJTLU) ได้ทำการศึกษาการทำนายกระบวนการดัดแปลง m6A RNA ทั้งหมดหรือทรานสคริปโตม (whole-transcriptome)...

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยซีอานเจียวทง-ลิเวอร์พูล ไขความลับในการจดจำรหัสผ่าน

เบื่อกับการลืมพาสเวิร์ดใช่หรือไม่ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยซีอานเจียวทง-ลิเวอร์พูล ได้ค้นพบวิธีแก้ปัญหาอย่างง่าย ๆ แต่มีประสิทธิภาพ ด้วยการใช้งานระบบพาสเวิร์ดแบบสัญลักษณ์ (icon-based) ที่สร้างขึ้นจากความสามารถในการบอกเล่า...