ควัคควาเรลลี ซีมอนด์ส หรือ คิวเอส (Quacquarelli Symonds หรือ QS) ผู้เชี่ยวชาญในแวดวงการอุดมศึกษา ได้เปิดเผยผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก: ภูมิภาคเอเชีย (QS World University Rankings: Asia) ครั้งที่ 15 ซึ่งเป็นครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาด้วยจำนวนมหาวิทยาลัย 760 แห่ง ซึ่งผลปรากฏว่ามหาวิทยาลัย 61% มีอันดับลดลง ขณะที่ 14% มีอันดับดีขึ้น ส่วน 15% ไม่มีการเปลี่ยนแปลง และ 10% เข้ามาติดอันดับเป็นครั้งแรก
มหาวิทยาลัยปักกิ่งครองอันดับ 1 ในเอเชีย โค่นแชมป์เก่าอย่างมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ที่รั้งอันดับ 1 มานานถึง 4 ปี ก่อนที่จะหล่นมาอยู่ในอันดับ 2 ขณะที่มหาวิทยาลัยชิงหัวครองอันดับ 3 ส่วนในภาพรวมนั้น มหาวิทยาลัยจากจีนแผ่นดินใหญ่เข้ามาติดอันดับมากที่สุด (128 แห่ง) รองลงมาคืออินเดีย (118 แห่ง) และญี่ปุ่น (106 แห่ง)
20 อันดับแรก ปี 2566 ปี 2565 1 2 มหาวิทยาลัยปักกิ่ง (Peking University) จีนแผ่นดินใหญ่ 2 1 มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (National University of Singapore) สิงคโปร์ 3 5 มหาวิทยาลัยชิงหัว (Tsinghua University) จีนแผ่นดินใหญ่ 4 3= มหาวิทยาลัยฮ่องกง (University of Hong Kong) เขตบริหารพิเศษฮ่องกง 5 3= มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีหนานหยาง (Nanyang Technological University) สิงคโปร์ 6= 7 มหาวิทยาลัยฟูตัน (Fudan University) จีนแผ่นดินใหญ่ 6= 6 มหาวิทยาลัยเจ้อเจียง (Zhejiang University) จีนแผ่นดินใหญ่ 8 14 สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูงแห่งเกาหลี (KAIST) เกาหลีใต้ 9 8 มหาวิทยาลัยมาลายา (Universiti Malaya) มาเลเซีย 10 10 มหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้เจียวทง (Shanghai Jiao Tong University) จีนแผ่นดินใหญ่ 11 11= มหาวิทยาลัยโตเกียว (The University of Tokyo) ญี่ปุ่น 12= 11= มหาวิทยาลัยจีนแห่งฮ่องกง (CUHK) เขตบริหารพิเศษฮ่องกง 12= 16 มหาวิทยาลัยยอนเซ (Yonsei University) เกาหลีใต้ 14 9 มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งฮ่องกง (HKUST) เขตบริหารพิเศษฮ่องกง 15 13 มหาวิทยาลัยเกาหลี (Korea University) เกาหลีใต้ 16 15 มหาวิทยาลัยเกียวโต (Kyoto University) ญี่ปุ่น 17 18 มหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล (Seoul National University) เกาหลีใต้ 18 17 มหาวิทยาลัยซองคยุนกวาน (Sungkyunkwan University) เกาหลีใต้ 19 19 มหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน (National Taiwan University) ไต้หวัน 20 21 สถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว (Tokyo Institute of Technology) ญี่ปุ่น (C) QS https://www.topuniversities.com/
คุณเบน โซวเทอร์ (Ben Sowter) รองประธานอาวุโสของคิวเอส กล่าวว่า "การลงทุนด้านการอุดมศึกษาอย่างต่อเนื่องและมหาศาลของจีนเป็นรากฐานของความสำเร็จในปัจจุบัน โดยมหาวิทยาลัยปักกิ่งคว้าตำแหน่งมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในเอเชีย ขณะที่มหาวิทยาลัยชิงหัวก็สามารถคว้าอันดับ 3 ไปครอง ส่วนสิงคโปร์ยังคงทำผลงานได้ดี โดยมีมหาวิทยาลัยติด 5 อันดับแรกถึง 2 แห่ง อย่างไรก็ตาม ระบบการอุดมศึกษาของบางประเทศในเอเชียกำลังเผชิญกับความท้าทายเนื่องจากจำนวนประชากรที่ลดลง"
โลโก้ - https://mma.prnewswire.com/media/1503777/QS_World_University_Rankings_Logo.jpg
เผยอันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในเอเชีย ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยเอเชีย 2567 โดยคิวเอส (QS World University Rankings: Asia 2024) คือการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดยพิจารณาจากการเป็นที่ยอมรับในแวดวงวิชาการและในหมู่ผู้จ้างงาน ความสามารถในการวิจัย ทรัพยากรในการเรียนการสอน และความเป็นสากล โดยปีนี้เป็นการจัดอันดับครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา โดยมีมหาวิทยาลัย 857 แห่งจาก 25 ประเทศและดินแดนต่าง ๆ รวมถึงมหาวิทยาลัยใหม่ ๆ 149 แห่งที่ไม่ได้อยู่ในรายชื่อการจัดอันดับมาก่อน ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยปักกิ่ง รักษาตำ
วิทยาลัยธุรกิจเอชเอสบีซีแห่งมหาวิทยาลัยปักกิ่งผ่านการรับรองมาตรฐาน EQUIS คว้าสถานะ "3 มงกุฎ"
—
วิทยาลัยธุรกิจเอชเอสบีซีแห่งมหาวิทยาลัยปักกิ่ง (Peking Univ...
หัวเว่ยนำเสนอเครือข่ายคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงไร้การสูญเสียข้อมูลแบบอัจฉริยะ ยกระดับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในมหาวิทยาลัยปักกิ่ง
—
"ฉันต้องทำงานนี้ให้ทันกำหนดเ...
วิทยาลัยธุรกิจเอชเอสบีซีแห่งมหาวิทยาลัยปักกิ่ง วิทยาเขตสหราชอาณาจักร เฉลิมฉลองครบรอบ 125 ปีของมหาวิทยาลัยปักกิ่ง
—
เมื่อเร็ว ๆ นี้ วิทยาลัยธุรกิจเอชเอสบีซ...
เมืองชิงเต่าติดอันดับ "สิบเมืองที่สวยที่สุดในจีน"
—
เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคมที่ผ่านมา เมืองเฉิงตูได้จัดพิธีเปิดตัว "เมืองที่มีคุณภาพชีวิตแสนมหัศจรรย์ในจีน" ...
สองหลักสูตรปริญญาโทของวิทยาลัยธุรกิจเอชเอสบีซีแห่งมหาวิทยาลัยปักกิ่ง รั้งอันดับ 1 ของเอเชีย และ 20 อันดับแรกของโลก
—
สองหลักสูตรปริญญาโทของวิทยาลัยธุรกิจเ...
มหาวิทยาลัยปักกิ่งคว้ารางวัลเกือบครึ่งในการแข่งขันคณิตศาสตร์ระดับโลกของอาลีบาบา ประจำปี 2022
—
ในการแข่งขันคณิตศาสตร์ระดับโลกประจำปี 2022 ของอาลีบาบา (202...