ดร.พิบูลย์ฤทธิ์ วิริยะผล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทองคำ ดัชนีความเชื่อมั่นราคาทองคำประจำเดือน พฤศจิกายน 2565 ปรับลดลงเมื่อเทียบกับเดือน ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา จากระดับ 57.15 จุด มาอยู่ที่ระดับ 53.44 ลดลง 3.71 จุด หรือคิดเป็น 6.50% โดยปัจจัยที่ทำให้ดัชนีฯ ปรับลดลงมานั้น มีสาเหตุมาจาก ความกังวลเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED), อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้น, แรงขายเก็งกำไรของกองทุน และเศรษฐกิจโลกส่งสัญญาณการฟื้นตัว ตามลำดับ
คาดการณ์ความต้องการซื้อทองคำในช่วงเดือน พฤศจิกายน 2565 จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 322 ราย ในจำนวนนี้มี 168 ราย หรือเทียบเป็น 52% จะซื้อทองคำ ส่วนจำนวน 112 ราย หรือเทียบเป็น 35% ไม่แน่ใจว่าจะซื้อทองคำ ในเดือนนี้ หรือไม่ และจำนวน 42 ราย หรือเทียบเป็น 13% ไม่ซื้อทองคำ
สรุปกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ประกอบกิจการค้าทองคำรายใหญ่ และ ผู้ประกอบกิจการนายหน้าซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงกับราคาทองคำ จำนวน 13 ราย ในจำนวนนี้มี 6 ราย หรือเทียบเป็น 46% เชื่อว่าราคาทองคำในเดือน พฤศจิกายน 2565 จะลดลง ส่วนจำนวน 4 ราย หรือเทียบเป็น 31% คาดว่าใกล้เคียงกับราคาทองคำในเดือน ตุลาคม 2565 และ จำนวน 3 ราย หรือเทียบเป็น 23% คาดว่าจะเพิ่มขึ้น
สำหรับการคาดการณ์ราคาทองคำในเดือน พฤศจิกายน 2565 ของผู้ประกอบกิจการค้าทองคำรายใหญ่มีมุมมอง ดังนี้ Gold Spot ให้กรอบเฉลี่ยบริเวณ 1,602 - 1,732 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อออนซ์ ด้านราคาทองคำแท่งในประเทศความบริสุทธิ์ 96.5% ให้กรอบเฉลี่ยบริเวณ 29,100 - 30,500 บาทต่อน้ำหนัก 1 บาททองคำ และด้านค่าเงินบาท ให้กรอบเฉลี่ยบริเวณ 37.23 - 38.31 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ
การลงทุนทองคำในเดือน พฤศจิกายน 2565 ผู้ค้าทองคำรายใหญ่ให้ความเห็นว่า ราคาทองเคลื่อนไหวในกรอบโดยพยายามทรงตัวรักษาระดับไว้ ในระยะสั้นหากราคาทองสามารถผ่านแนวต้านที่ระดับ 1,735 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อออนซ์ ได้ (ซึ่งเป็นระดับสูงสุดของเดือน กันยายน ที่ผ่านมา) อาจเห็นการฟื้นตัวของราคาทองคำได้อีกครั้ง จึงแนะนำการลงทุนซื้อขายเป็นรอบสั้น ๆ และติดตามข้อมูลข่าวสารการลงทุนอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการบริหารพอร์ตการลงทุน เนื่องจากนักลงทุนยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์เงินเฟ้อ และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ FED
ดร.พิบูลย์ฤทธิ์ วิริยะผล แถลงดัชนีความเชื่อมั่นราคาทองคำประจำเดือน กันยายน 2564 ใกล้เคียงกับเดือน สิงหาคม 2564 ที่ระดับ 69.25 จุด จากระดับ 69.52 จุด เพิ่มขึ้น 0.27 จุด หรือคิดเป็น 0.39% โดยมีปัจจัยที่ทำให้ดัชนีฯ ปรับขึ้นมานั้น เกิดจากนโยบายทางเศรษฐกิจของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) สถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19 ระลอกใหม่ และการอ่อนค่าของเงินบาทหนุนราคาทองในประเทศ คาดการณ์ความต้องการซื้อทองคำในช่วงเดือน กันยายน 2564 จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 322 ตัวอย่าง พบว่า 46% ไม่แน่ใจว่าจะซื้อทองคำในเดือนนี้ หรือไม่
ดัชนีราคาทองเดือน ส.ค. 64 นักลงทุนกังวลโควิดระลอกใหม่ ทำบาทอ่อนต่อเนื่อง
—
ดร.พิบูลย์ฤทธิ์ วิริยะผล แถลงดัชนีความเชื่อมั่นราคาทองคำประจำเดือน สิงหาคม 2564...
ดัชนีเชื่อมั่นราคาทองคำ เดือน สิงหาคม 2562 พุ่งแรง กังวลเศรษฐกิจโลก มองทองสินทรัพย์ปลอดภัย
—
ดร.พิบูลย์ฤทธิ์ วิริยะผล ดัชนีความเชื่อมั่นราคาทองคำประจำเดือ...
ทิศทางราคาทองคำ เดือน มิถุนายน 2562 นักลงทุนจับตา FED ลดดอกเบี้ย ผู้ค้าแนะย่อซื้อเก็งกำไร
—
ดร.พิบูลย์ฤทธิ์ วิริยะผล ดัชนีความเชื่อมั่นราคาทองคำประจำเดือน...
ดัชนีราคาทองช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2562 นี้ คงตัว ผู้ค้าแนะรอซื้อแตะแนวรับ
—
ดัชนีราคาทองช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2562 นี้ คงตัว ผู้ค้าแนะรอซื้อแตะแนวรับดร.พิบูลย์ฤ...
นักลงทุนกังวลเงินบาทแข็ง แรงขายทำกำไร ทำดัชนีฯ เดือน กุมภาพันธ์ ลด ส่วนผู้ค้ามองทองขึ้นต่อ
—
ดร.พิบูลย์ฤทธิ์ วิริยะผล แถลงดัชนีความเชื่อมั่นราคาทองคำประจำ...
ดัชนีฯ เดือน มกราคม 2562 เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่สาม นักลงทุน และผู้ค้าเห็นตรงกันทองขึ้นต่อ
—
ดร.พิบูลย์ฤทธิ์ วิริยะผล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทองคำ แถ...
นักลงทุนเชื่อมั่นราคาทองปลายปี 2561 สดใส ดัชนีทองคำ เพิ่มขึ้นสองเดือนติด
—
ดร.พิบูลย์ฤทธิ์ วิริยะผล แถลงดัชนีความเชื่อมั่นราคาทองคำประจำเดือน ธันวาคม 2561...
ดัชนีความเชื่อมั่นราคาทองคำ พ.ย. 61 นักลงทุนมั่นใจราคาทองฟื้น ผู้ค้าแนะลงซื้อ ขึ้นขาย
—
ดร.พิบูลย์ฤทธิ์ วิริยะผล แถลงดัชนีความเชื่อมั่นราคาทองคำประจำเดือน...