จุฬาฯ นำเสนอนวัตปะการังสามมิติ มุ่งฟื้นฟูระบบนิเวศทะเลไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

นวัตปะการัง (Innovareef) ผลงานของศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (VMARCE) เพื่อเร่งฟื้นฟูแนวปะการัง ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และเฝ้าระวังสภาพแวดล้อมทางทะเลนั้น คว้ารางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ (NIAWARDS) ประจำปี 2563 ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการมาได้

จุฬาฯ นำเสนอนวัตปะการังสามมิติ มุ่งฟื้นฟูระบบนิเวศทะเลไทย

ปะการังเทียมในอดีตนั้น มักสร้างมลภาวะทางสายตา และส่วนใหญ่ไม่ได้ผล ด้วยเหตุนี้ ทีมวิจัยจากจุฬาฯ นำโดยรศ.สพ.ญ.ดร.นันทริกา ชันซื่อ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำฯ และหัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัยสัตว์น้ำสวยงามและสัตว์น้ำเพื่อการอนุรักษ์ (OAAC) คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้คิดค้นปะการังเทียมที่มีความสวยงามเหมือนจริงใกล้เคียงกับธรรมชาติ  ลดแรงต้านของน้ำขึ้นลงได้ดี ช่วยให้ตัวอ่อนปะการังลงเกาะได้ดี เป็นถิ่นที่อยู่สำหรับสัตว์ทะเลสายพันธุ์ต่าง ๆ และช่วยเร่งฟื้นฟูแนวปะการัง

นวัตปะการังมีข้อได้เปรียบมากกว่าปะการังเทียมทั่วไปดังนี้

1.  บนตัวนวัตปะการังมีการพ่นเคลือบสารอาหารจำพวกแคลเซียมและฟอสเฟตที่ปะการังตามธรรมชาติใช้ในการเติบโต ซึ่งจากการเก็บข้อมูลพบว่า ตั่วอ่อนปะการังที่มาเกาะบนนวัตปะการังโตเร็วกว่าปะการังตามธรรมชาติ เฉลี่ยละ 3-4 เซนติเมตรต่อปี

2. เลียนแบบลักษณะตามธรรมชาติของปะการัง รองรับการลงเกาะของตัวอ่อนปะการังได้ดี ทั้งยังเหมาะเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเล

3. ลดแรงต้านกระแสน้ำ ออกแบบโดยใช้เทคโนโลยีไฮโดรไดนามิก

4. สถานีอัจฉริยะเพื่อตรวจวัดสภาวะโลกร้อน โดยติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางทะเล เช่น อุณหภูมิของน้ำ การไหลของกระแสน้ำ วัดความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) เป็นต้น

5.  การออกแบบระดับรางวัล ใช้ซีเมนต์ที่มีค่าความเป็นกรดด่างใกล้เคียงน้ำทะเล ออกแบบตามแนวคิดเลโก้ คือการทำเป็นบล็อกถอดประกอบชิ้นส่วนได้ เพื่อความสะดวกในการขนย้ายนวัตปะการัง รวมแล้วค่าใช้จ่ายในการผลิตอยู่ที่ราว 26,000 บาทต่อนวัตปะการังหนึ่งตัวเท่านั้น

นวัตปะการังไทย : สวรรค์แห่งใหม่ของนักดำน้ำ

แนวนวัตปะการังสามารถพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ได้ ทั้งชาวไทยและต่างชาติที่เพิ่งเริ่มหัดดำน้ำใหม่ ๆ นักดำน้ำสน็อกเกิล และผู้ที่ต้องการเดินใต้ทะเล เพื่อสร้างรายได้ให้ประเทศชาติ

อนาคต : นวัตปะการังรุ่นต่อ ๆ ไป

ทางทีมวิจัยมีแผนที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตลดลงอีก โดยจะออกแบบให้มีลักษณะเฉพาะเจาะจงเหมาะสมกับสัตว์น้ำแต่ละชนิดในละแวกนั้น นอกจากนี้ ทีมวิจัยกำลังวิจัยต่อยอดร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ในการออกแบบนวัตปะการังที่ผสานนาโนเทคโนโลยี เพื่อให้ปกป้องปะการังจากสภาวะโลกร้อนได้

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โทร : 02 251 8887, 02 218 9510 อีเมล: [email protected]

อ่านข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับเต็มและดูรูปภาพเพิ่มเติมได้ที่

https://www.chula.ac.th/highlight/87503/

รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/1926686/image_1.jpg


ข่าวรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ+จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยวันนี้

ปตท.สผ. คว้ารางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ด้านองค์กรนวัตกรรมดีเด่น

บริษัท ปตท.?สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. โดยนายดิษฐพล สุทธิโอสถ (ที่ 2 จากขวา) ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานบริหารเทคโนโลยี พร้อมด้วยผู้บริหาร ปตท.สผ. รับ?มอบรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ประจำปี 2567 ด้านองค์กรนวัตกรรม ประเภทองค์กรวิสาหกิจขนาดใหญ่ จาก ดร.?กริชผกา บุญเฟื่อง (ขวาสุด) ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ณ โรงแรมสยามเคมปินสกี้ กรุงเทพฯ ปตท.สผ. ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการนวัตกรรมภายในองค์กร

เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท เจียไต๋ จำกัด ผู้นำ... เจียไต๋คว้ารางวัลนวัตกรรมแห่งชาติจาก สนช. ตอกย้ำจุดยืนการเป็นผู้นำนวัตกรรมการเกษตรของไทย — เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท เจียไต๋ จำกัด ผู้นำธุรกิจนวัตกรรมการเกษตร...

เอสซีจี คว้ารางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ด้านอง... เอสซีจี คว้ารางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ด้านองค์กรนวัตกรรม ประจำปี 2567 — เอสซีจี คว้ารางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ด้านองค์กรนวัตกรรม ประจำปี 2567 สร้าง "คน" ดันนวัต...

รศ.ภญ.ดร.จิตติมา ลัคนากุล CTO (Chief tech... แนบโซลูท (Nabsolute) คว้ารางวัล NIA Award นวัตกรรมแห่งชาติ ด้านเศรษฐกิจ — รศ.ภญ.ดร.จิตติมา ลัคนากุล CTO (Chief technical officers) และภญ.พุทธิมน ศรีบนฟ้า ...

มูลนิธิเอสซีจี ผนึกกำลัง นักศึกษาหลักสูตร... มูลนิธิเอสซีจีและ SCGP คว้ารางวัล "นวัตกรรมแห่งชาติ" "เตียงสนามกระดาษ" ลดเหลื่อมล้ำสังคม — มูลนิธิเอสซีจี ผนึกกำลัง นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรธรรมาภิบา...