"คอร์ดิส" เตรียมเข้าซื้อกิจการ "เม็ดอัลไลแอนซ์"

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

เม็ดอัลไลแอนซ์ (MedAlliance) บริษัทเทคโนโลยีการแพทย์จากสวิตเซอร์แลนด์ ประกาศว่าได้ทำข้อตกลงกับคอร์ดิส (Cordis) สำหรับการเข้าซื้อกิจการ ซึ่งประกอบด้วยเงินลงทุนเริ่มต้น 35 ล้านดอลลาร์, เงินชำระล่วงหน้า 200 ล้านดอลลาร์, เงินสูงสุด 125 ล้านดอลลาร์ตามความสำเร็จด้านการกำกับดูแล และเงินสูงสุด 775 ล้านดอลลาร์ตามความสำเร็จเชิงพาณิชย์ ไปจนถึงปี 2572 ซึ่งส่งผลให้ข้อตกลงนี้มีมูลค่ารวมสูงถึง 1.135 พันล้านดอลลาร์

คอร์ดิสเป็นผู้นำระดับโลกด้านการพัฒนาและการผลิตเทคโนโลยีสำหรับโรคหัวใจและหลอดเลือดและการสวนหลอดเลือด ขณะที่เม็ดอัลไลแอนซ์นำเสนอผลิตภัณฑ์เซลูชัน เอสแอลอาร์ (SELUTION SLR(TM) หรือ Sustained Limus Release) ซึ่งเป็นบอลลูนเคลือบยา (DEB) ไซโลลิมัสปล่อยยาสม่ำเสมอที่เปี่ยมด้วยนวัตกรรมและมุ่งปฏิวัติวงการ ซึ่งจะเข้ามาเติมเต็มผลิตภัณฑ์เดิมของคอร์ดิส รวมถึงส่งเสริมการขาย การตลาด และความเชี่ยวชาญด้านการจัดจำหน่าย อีกทั้งลูกค้าของคอร์ดิสจะได้รับประโยชน์จากโครงการศึกษาทางคลินิกที่กว้างขวางและแผนการเผยแพร่ผลการศึกษาของเม็ดอัลไลแอนซ์ เพื่อสานต่อมรดกของคอร์ดิสในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่เปี่ยมด้วยนวัตกรรมให้แก่ผู้ป่วย

เม็ดอัลไลแอนซ์มีสำนักงานใหญ่อยู่ในเมืองนียง ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยมีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำและการจำหน่ายอุปกรณ์ปลดปล่อยตัวยาขั้นสูงสำหรับรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย โดยมีผลิตภัณฑ์เรือธงคือเซลูชัน เอสแอลอาร์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีบอลลูนเคลือบยาไซโลลิมัสแบบใหม่

คุณเจฟฟรีย์ บี. จัมป์ (Jeffrey B. Jump) ประธานและซีอีโอบริษัทเม็ดอัลไลแอนซ์ กล่าวว่า "เราโชคดีมากที่ได้พบกับพาร์ทเนอร์อย่างคอร์ดิสที่สั่งสมประวัติอันโชกโชนด้านนวัตกรรม บริษัทเปิดตัวขดลวดเคลือบยาไซโลลิมัสเมื่อปี 2542 และกำลังจะเปิดตัวเซลูชัน เอสแอลอาร์ บอลลูนเคลือบยาไซโลลิมัสที่ปล่อยยาสม่ำเสมอ ซึ่งช่วยหลีกเลี่ยงการฝังโลหะถาวร และนำเสนอวิธีการขยายหลอดเลือดแบบไม่ใช้ขดลวดให้แก่ผู้ป่วยทั่วโลก"

คุณชาร์ มาติน (Shar Matin) ซีอีโอของคอร์ดิส กล่าวว่า "เกือบ 20 ปีที่แล้ว คอร์ดิสได้เปิดตัว ไซเฟอร์ (CYPHER (R)) ซึ่งเป็นขดลวดเคลือบยาตัวแรกที่พลิกโฉมการรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดสำหรับผู้ป่วยทั่วโลก ในฐานะบริษัทอิสระแห่งใหม่ เราภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้สานต่อมรดกด้านนวัตกรรมและพลิกโฉมตลาดร่วมกับเม็ดอัลไลแอนซ์และเซลูชัน เอสแอลอาร์ บอลลูนเคลือบยาไซโลลิมัสแบบไมโครเรเซอร์วัวร์ (MicroReservoirs) ตัวแรก"

"ผมรู้สึกตื่นเต้นที่ได้รายงานข้อมูลเชิงบวกของเซลูชัน เอสแอลอาร์ มาจนถึงตอนนี้ ด้วยประสบการณ์ตรงจากการสัมผัสกับผลลัพธ์ทางคลินิกอันน่าประทับใจของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยเซลูชัน เอสแอลอาร์ ในญี่ปุ่น อินเดีย ยุโรป และอเมริกาใต้ ปัจจุบัน เรากำลังพยายามสร้างผลลัพธ์เช่นนี้ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเทคโนโลยีนี้มีโอกาสอย่างมากในการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์การรักษาสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดแดงส่วนปลาย" คุณจอร์จ อดัม (George Adams) นักวิจัยหลักของการวิจัย US SELUTION4SFA IDE และผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดแดงส่วนปลาย โรงพยาบาลเร็กซ์ เมืองราลี รัฐนอร์ทแคโรไลนา สหรัฐอเมริกา กล่าว

เซลูชัน เอสแอลอาร์ ได้รับการรับรองมาตรฐานซีอี มาร์ค (CE Mark) สำหรับรักษาโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2563 และผ่านการรับรองให้ใช้รักษาโรคหลอดเลือดหัวใจเมื่อเดือนพฤษภาคม 2563 ด้านองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) ได้ให้การรับรองสถานะ Breakthrough Designation รวม 4 การรับรองแก่เซลูชัน เอสแอลอาร์ สำหรับรักษาโรคหลอดเลือดแดงแข็ง โรคหลอดเลือดที่เกิดการตีบซ้ำภายในขดลวด โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายบริเวณใต้เข่า และการผ่าตัดทำเส้นเลือดล้างไตสำหรับผู้ป่วยที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม นอกจากนี้ ข้อบ่งชี้ในการรักษาหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดบริเวณใต้เข่า (BTK) และหลอดเลือดแดงต้นขาชั้นตื้น (SFA) ยังผ่านการรับรอง Investigational Device Exemption (IDE) จาก FDA และปัจจุบันการศึกษาทางคลินิกของ IDE กำลังเปิดรับสมัครผู้ป่วยเข้าร่วม

ผู้ป่วยกว่า 500 คน จากเป้าหมาย 3,326 คน ได้เข้าร่วมการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม เพื่อประเมินประสิทธิภาพของเซลูชัน เอสแอลอาร์ เทียบกับขดลวดเคลือบยา (DES) ลิมัส เพื่อแสดงความเหนือกว่าของการใช้บอลลูนเคลือบยาเซลูชัน เอสแอลอาร์ เมื่อเทียบกับขดลวดเคลือบยา โดยเซลูชัน เดโนโว (SELUTION DeNovo) ถือเป็นการศึกษาบอลลูนเคลือบยาครั้งใหญ่ที่สุดและอาจมีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงเวชปฏิบัติ

เทคโนโลยีของเซลูชัน เอสแอลอาร์ ประกอบด้วยไมโครเรเซอร์วัวร์ (MicroReservoirs) ซึ่งผลิตขึ้นจากพอลิเมอร์แบบสลายได้ทางชีวภาพผสมเข้ากับยาไซโลลิมัส (Sirolimus) ลดการตีบตันซ้ำ โดยไมโครเรเซอร์วัวร์ทำหน้าที่ควบคุมการปลดปล่อยยาลิมัสให้สม่ำเสมอเป็นเวลาถึง 90 วัน ซึ่งการปลดปล่อยยาไซโลลิมัสอย่างต่อเนื่องจากขดลวดได้รับการพิสูจน์แล้วว่าได้ผลดีทั้งในระบบหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจและหลอดเลือดส่วนปลาย ขณะเดียวกัน เทคโนโลยี CAT(TM) (Cell Adherent Technology) อันเป็นกรรมสิทธิ์ของเม็ดอัลไลแอนซ์ ยังช่วยให้ไมโครเรเซอร์วัวร์เคลือบบนบอลลูนและติดเข้ากับช่องภายในหลอดเลือดขณะให้ยาผ่านบอลลูนขยายหลอดเลือด

เซลูชัน เอสแอลอาร์ มีวางจำหน่ายในยุโรป และประเทศอื่น ๆ ที่ยอมรับมาตรฐานซีอี มาร์ค

สื่อมวลชนติดต่อ:
ริชาร์ด เคนยอน (Richard Kenyon)
อีเมล: [email protected]
โทร. +44 7831 569940

เกี่ยวกับคอร์ดิส

คอร์ดิส (Cordis) เป็นผู้นำระดับโลกด้านการพัฒนาและการผลิตเทคโนโลยีการรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยมีประวัติยาวนานกว่า 60 ปีในการบุกเบิกการบำบัดรักษาผู้ป่วยหลายล้านคน ประกอบกับชื่อเสียงด้านความเชี่ยวชาญทางคลินิก การฝึกอบรม และการบริการ คอร์ดิสมีมรดกด้านนวัตกรรมผลิตภัณฑ์รักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดที่มีคุณภาพสูงและทำให้เกิดแผลน้อย พร้อมวางรากฐานที่แข็งแกร่งระดับโลกด้วยการดำเนินงานกว่าใน 70 ประเทศทั่วโลก

รูปภาพ: https://mma.prnewswire.com/media/1923959/MedAlliance_Image.jpg
โลโก้: https://mma.prnewswire.com/media/1196864/MedAlliance_Logo.jpg


ข่าวโรคหัวใจและหลอดเลือด+สวิตเซอร์แลนด์วันนี้

สถานทูตสวิตเซอร์แลนด์ ผนึกโนวาร์ตีส ประเทศไทย จัดเวทีมุ่งเน้น ขับเคลื่อนการดูแลรักษาโรคหัวใจ ในงาน 'Cardio Catalyst: Driving Change in Heart Health'

สถานเอกอัครราชทูตสวิตเซอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย นำโดย นายเปโดร สวาห์เลน เอกอัครราชทูตสมาพันธรัฐสวิสประจำประเทศไทย ร่วมกับ บริษัท โนวาร์ตีส (ประเทศไทย) จำกัด จัดงาน "Cardio Catalyst: Driving Change in Heart Health" ครั้งที่ 2 เพื่อตอกย้ำความมุ่งมั่นในการยกระดับคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ให้มีประสิทธิภาพ และเพื่อสร้างอนามัยและสุขภาวะที่ดีให้กับคนไทย โดยได้รับเกียรติจาก นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และ นายเควิน โจว Head, Asia Aspiring Cluster, Novartis

Cordis ซื้อกิจการ MedAlliance เรียบร้อยแล้ว มูลค่ารวมแตะ 1.135 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

MedAlliance บริษัทเทคโนโลยีการแพทย์จากสวิตเซอร์แลนด์ ถูก Cordis เข้าซื้อกิจการเป็นอันเสร็จสิ้น ซึ่งประกอบด้วยเงินลงทุนเริ่มต้นเมื่อปี 2565 รวม 35 ล้านดอลลาร์ เงินชำระล่วงหน้า 200 ล้านดอลลาร์ในปี 2566 เงินสูงสุด 125...

"โรคลิ้นหัวใจ" นับเป็นปัญหาสำคัญที่สัมพัน... โรคลิ้นหัวใจเอออร์ติก…ภัยร้ายที่อาจมองข้าม รู้ทันสัญญาณอันตราย! ก่อนสายเกินแก้ — "โรคลิ้นหัวใจ" นับเป็นปัญหาสำคัญที่สัมพันธ์กับสังคมผู้สูงอายุในประเทศไทย ...

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ขอเชิญพย... ขอเชิญชวนพยาบาลและบุคลากรสุขภาพเข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง ECG Interpretation and Nursing Care — คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ขอเชิญพยาบาลและบ...

เพราะทุกจังหวะของหัวใจมีค่า และทุกชีวิตสม... "OPEN BOX for OPEN HEART" คอนเสิร์ตแห่งการให้ รวมพลังศิลปินช่วยชีวิตผู้ป่วยโรคหัวใจ 200 ราย — เพราะทุกจังหวะของหัวใจมีค่า และทุกชีวิตสมควรได้รับโอกาสให้หั...

เดือนแห่งความรักนี้ มาลองเช็คสุขภาพหัวใจก... อาหารที่ดีต่อหัวใจ — เดือนแห่งความรักนี้ มาลองเช็คสุขภาพหัวใจกันหน่อยค่า หัวใจแข็งแรงดีอยู่ไหม? เพราะหัวใจเป็นอวัยวะที่สำคัญ การรักษาสุขภาพหัวใจเป็น...