บริษัทเกมมือถือ "วีเมด เพลย์" เตรียมเข้าร่วมงาน จี-สตาร์ 2022 พร้อมบริษัทในเครือ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

บริษัท วีเมด เพลย์ (Wemade Play) (www.wemadeplay.com) ซึ่งมีคุณอีโฮแท (Hodae Lee) เป็นตัวแทน ประกาศเมื่อวันที่ 18 ตุลาคมว่า วีเมด เพลย์ และบริษัทในเครือ จะเข้าร่วมงาน "จี-สตาร์ 2022" บีทูบี หรือ "G-STAR" 2022 BTB (Business to Business) มหกรรมเกมระดับนานาชาติที่จะจัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมปูซาน (BEXCO) เมืองปูซาน ประเทศเกาหลีใต้

บริษัทเกมมือถือ "วีเมด เพลย์" เตรียมเข้าร่วมงาน จี-สตาร์ 2022 พร้อมบริษัทในเครือ

วีเมด เพลย์ จะเปิดตัว "อนิปัง คลับ" (Anipang Club) บริการสมาชิกภาพทั่วโลกที่อิง NFT และธุรกิจการสร้างรายได้จากโฆษณา ที่ได้รับการยกย่องจากการสร้างธุรกิจโฆษณาในเกมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในเกาหลีใต้ ขณะเดียวกัน วีเมด คอนเนกต์ (Wemade Connect) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการเกมโซเชียลเน็ตเวิร์กยอดนิยมของเกาหลีอย่าง "เอฟวรี ทาวน์" (Every Town) รวมถึง "อาบิสเรียม" (ABYSSRIUM)' เกมแนวไอเดิลที่มีผู้เล่นกว่า 60 ล้านคนทั่วโลก ก็ตั้งใจว่าจะมาพบนักพัฒนาทั่วโลกระหว่างการแนะนำเกมแนวเพลย์แอนด์เอิร์น (P&E) และเกมมือถืออีกหลากหลายแนว

คุณอีโฮแท ตัวแทนของวีเมด เพลย์ กล่าวว่า "เราคาดว่าสามบริษัทในเครือของเรา ซึ่งรวมถึง "วีเมด เพลย์" ผู้พัฒนาเกมระดับชาติของเกาหลี จะสร้างโอกาสเพื่อความร่วมมือที่ดีที่สุดและการเติบโตร่วมกันกับบรรดาพันธมิตร พร้อมกับนำเสนอจุดแข็งของแต่ละบริษัท เช่น การเป็นสมาชิก NFT, ธุรกิจโฆษณา, ธุรกิจ P&E และอีกมากมาย ในงาน จี-สตาร์ 2022"

ในงาน "จี-สตาร์ 2022" บีทูบี บริษัท วีเมด เพลย์, วีเมด คอนเนกต์ และ เพลย์ ลิงก์ส (Play Links) เตรียมเปิดฮอลล์ใหญ่ขนาด 20 บูธเป็นเวลาสามวัน ตั้งแต่วันที่ 17-19 พฤศจิกายนนี้

วีเมด เพลย์

วีเมด เพลย์ (Wemade Play) ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2552 เป็นผู้พัฒนาเกมระดับชาติของเกาหลี และเกมพัซเซิล "อนิปัง" (Anipang) ที่โด่งดังที่สุด โดยนับตั้งแต่ประสบความสำเร็จกับธุรกิจโฆษณาในเกม "อนิปัง" บริษัทก็ได้เตรียมพัฒนา "อนิปัง คลับ" (Anipang Club) บริการสมาชิกภาพทั่วโลกที่อิง NFT โดยใช้อนิปัง ไอพี (Anipang IP)

รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/1922343/WEMADE_PLAY.jpg
คำบรรยายภาพ - บริษัทเกมมือถือ วีเมด เพลย์


ข่าวบริษัทในเครือ+ระดับนานาชาติวันนี้

มหาวิทยาลัยฉาง ร่วมมือกับ เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ และมหาวิทยาลัยชั้นนำของไทย ในโครงการความร่วมมือสามชาติ พัฒนาบัณฑิตปริญญาโทระดับนานาชาติ

นักศึกษาชั้นปีที่ 4 จำนวน 25 คนจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL) ในประเทศไทย จะเริ่มต้นหลักสูตรปริญญาโทแบบสองปริญญา (3+2) เป็นเวลาสองปี ที่มหาวิทยาลัยฉางกังตั้งแต่ปี 2567 โดยหลักสูตรนี้ได้รับการสนับสนุนโดยบริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของเดลต้า อีเลคโทรนิคส์ โดยได้มอบทุนการศึกษาจำนวน 20 ทุน พร้อมโอกาสฝึกงานในช่วงฤดูร้อนและการจ้างงานในบริษัท ในวันที่ 26 สิงหาคม ที่ผ่านมานั้น ประธานมหาวิทยาลัยฉางกัง นายถัง

"บมจ. คอมเซเว่น (COM7)" เดินหน้าปักหมุดเม... COM7 เดินหน้าเต็มสปีด "EV7" ส่งมอบแท็กซี่ไฟฟ้าล็อตแรก ดันเมกะเทรนด์ EV สู่หัวใจเมือง — "บมจ. คอมเซเว่น (COM7)" เดินหน้าปักหมุดเมกะเทรนด์ EV ส่งบริษัทในเคร...