กว่างซีเดินหน้าพัฒนาเขตความร่วมมือด้านนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่ออาเซียน

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

เมื่อไม่นานมานี้ การประชุมว่าด้วยความร่วมมือด้านนวัตกรรมและการถ่ายทอดเทคโนโลยี จีน-อาเซียน ครั้งที่ 10 (The 10th Forum on China-ASEAN Technology Transfer and Collaborative Innovation) ซึ่งเป็นการประชุมระดับสูงภายใต้มหกรรมแสดงสินค้า จีน-อาเซียน (China-ASEAN Expo หรือ CAEXPO) ได้จัดขึ้นที่เมืองหนานหนิงในเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ซึ่งตรงกับวาระครบรอบหนึ่งปีของการสถาปนาความสัมพันธ์หุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์อย่างรอบด้าน จีน-อาเซียน (China-ASEAN Comprehensive Strategic Partnership) โดยภายในงานมีการประกาศแผนปฏิบัติการพิเศษว่าด้วยการถ่ายทอดเทคโนโลยีระหว่างจีนกับอาเซียน ซึ่งครอบคลุมเทคโนโลยีขั้นสูงและเทคโนโลยีประยุกต์กว่า 1,000 รายการในด้านความยั่งยืนที่ได้รับการคัดเลือกมาจากทั่วประเทศและพร้อมใจกันนำเสนอให้แก่ชาติอาเซียน นอกจากนี้ กลุ่มความร่วมมือด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยี จีน-อาเซียน (China-ASEAN Technology Transfer Alliance) ซึ่งเป็นกลไกความร่วมมือแรกในการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากจีนสู่อาเซียน ยังได้จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยมีการผนึกกำลังกับสถาบันนวัตกรรมระดับมณฑลและระดับเทศบาลของจีนที่มีศักยภาพด้านนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่แข็งแกร่ง และรวมทรัพยากรเข้าด้วยกันเพื่อตอบสนองความต้องการด้านนวัตกรรมของชาติอาเซียนอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ขณะเดียวกันยังมีพิธีเปิดการแข่งขันนวัตกรรมและความเป็นผู้ประกอบการ จีน-อาเซียน (China-ASEAN Innovation and Entrepreneurship Competition) และพิธีเปิดค่ายนวัตกรรมและความเป็นผู้ประกอบการ จีน-อาเซียน (China-ASEAN Innovation and Entrepreneurship Camp) โดยมุ่งมั่นผลักดันให้เป็นการแข่งขันนวัตกรรมและความเป็นผู้ประกอบการที่ทรงอิทธิพลที่สุด มีผู้เข้าร่วมมากที่สุด และมีโครงการส่งเข้าประกวดคุณภาพสูงที่สุดในอาเซียน พร้อมกับเปิดเวทีสำหรับการแบ่งปันทรัพยากร การเพิ่มมูลค่า และการสำแดงศักยภาพ

กว่างซีเดินหน้าพัฒนาเขตความร่วมมือด้านนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่ออาเซียน

ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ กว่างซีรับบทบาทสำคัญในการเป็นประตูที่เปิดกว้างอย่างเต็มที่สำหรับความร่วมมือระหว่างจีนกับประเทศสมาชิกอาเซียน ยกตัวอย่างเช่น ได้มีการยกให้อาเซียนเป็นเป้าหมายสำคัญของความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างประเทศ รวมถึงมีการจัดตั้งเขตความร่วมมือด้านนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่ออาเซียน ตลอดจนดำเนินโครงการความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จีน-อาเซียน และแผนปฏิบัติการส่งเสริมนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภายใต้โครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (Belt and Road) อย่างครอบคลุม นอกจากนี้ กว่างซียังจัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือกับประเทศสมาชิกอาเซียนในด้านต่าง ๆ เช่น การแลกเปลี่ยนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและมนุษยศาสตร์ การร่วมกันสร้างห้องปฏิบัติการและอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การถ่ายทอดเทคโนโลยี รวมถึงการส่งเสริมนวัตกรรมและความเป็นผู้ประกอบการ

สำนักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ระบุว่า ปัจจุบัน กว่างซีได้จัดตั้งกลไกการถ่ายทอดเทคโนโลยีระดับทวิภาคีระหว่างรัฐบาลร่วมกับ 9 ประเทศสมาชิกอาเซียน (รวมถึงประเทศไทยและกัมพูชา) ตลอดจนจัดตั้งคณะทำงานร่วมว่าด้วยการถ่ายทอดเทคโนโลยีร่วมกับ 7 ประเทศสมาชิกอาเซียน และสร้างเครือข่ายความร่วมมือว่าด้วยการถ่ายทอดเทคโนโลยี จีน-อาเซียน ที่มีสมาชิกมากกว่า 2,600 ราย จาก 10 ประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศในโครงการโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางบางส่วน

ขณะเดียวกัน ด้วยการสนับสนุนจากศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี จีน-อาเซียน (China-ASEAN Technology Transfer Center) และการประชุมว่าด้วยความร่วมมือด้านนวัตกรรมและการถ่ายทอดเทคโนโลยี จีน-อาเซียน กว่างซีได้ดำเนิน "โครงการกว่างซีเพื่อนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์คนเก่งจากอาเซียน" (ASEAN Talented Young Scientists Guangxi Program) อย่างต่อเนื่อง และได้ดึงดูดกลุ่มนักวิทยาศาสตร์และช่างเทคนิคจากประเทศสมาชิกอาเซียน ยกตัวอย่างเช่น บริษัทบีจีไอ (BGI) ได้สร้างห้องปฏิบัติการ "ฮัว เหยียน" (Huo Yan) ให้แก่ประเทศบรูไน เพื่อทำการทดสอบกรดนิวคลีอิก ขณะที่ศูนย์ข้อมูลจีน-อาเซียน (China-ASEAN Information Harbor) ได้กลายเป็นพันธมิตรผู้สนับสนุนโซลูชันเมืองอัจฉริยะให้แก่ประเทศอินโดนีเซีย โดยสองโครงการนี้เป็นตัวอย่างความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ลึกซึ้งและครอบคลุมระหว่างจีนกับอาเซียน

ณ เดือนพฤษภาคม 2565 กว่างซีได้จัดกิจกรรมด้านนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการถ่ายทอดเทคโนโลยีสำหรับอาเซียนมากกว่า 140 รายการทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเกือบหนึ่งในสามจัดขึ้นในประเทศสมาชิกอาเซียน ครอบคลุมมากกว่า 7,800 โครงการ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อองค์กรกว่า 9,900 แห่ง และช่วยให้เกิดการทำข้อตกลงความร่วมมือมากถึง 653 ฉบับ เพื่อส่งเสริมการทำเกษตรสมัยใหม่และความสำเร็จด้านเทคโนโลยีขั้นสูงอื่น ๆ ในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน

ที่มา: สำนักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง

ลิงก์รูปภาพประกอบข่าว:

ลิงก์: http://asianetnews.net/view-attachment?attach-id=432264

คำบรรยายภาพ: ความสำเร็จมากมายภายใต้ความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างกว่างซีกับประเทศสมาชิกอาเซียน ได้รับการนำเสนอในการประชุมว่าด้วยความร่วมมือด้านนวัตกรรมและการถ่ายทอดเทคโนโลยี จีน-อาเซียน ครั้งที่ 10


ข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี+มหกรรมแสดงสินค้าวันนี้

สสวท. พาเยาวชนซึมซับวิทย์กับธรรมชาติด้วยสื่อเรียนรู้ "วันฝนพรำ"

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เปิดประตูสู่ฤดูฝนกับสื่อการเรียนรู้ที่ควงคู่กันมา เป็นแพค ทั้งแอนิเมชันน่ารักและหนังสือการ์ตูนออนไลน์ "วันฝนพรำ" ที่กระตุ้นให้เห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์ กับธรรมชาติ มุ่งให้เด็ก ๆ เข้าใจความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงระหว่างสิ่งต่าง ๆ รอบตัวและประโยชน์ที่มีต่อสิ่งมีชีวิตทั้งคน พืชและสัตว์ เพื่อให้ช่วยกันดูแลรักษาอย่างยั่งยืน อ่านเพลินแล้วเติมเต็มพลังงานกับ "เกร็ดน่ารู้" ที่แทรกท้ายหน้า อาทิ รู้หรือไม่ว่ามนุษย์ใช้น้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภคประมาณ 200-500

ดร.จิตรา ชัยวิมล รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์แล... วว. จับมือ ธนาคารออมสิน เสริมสร้างศักยภาพกลุ่มองค์กรชุมชน ยกระดับผลิตภัณฑ์สู่มาตรฐานสากล — ดร.จิตรา ชัยวิมล รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์และจัดการนวัตกรรมการ สถา...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... วว. โชว์งานบริการเพื่อภาคอุตสาหกรรม @ Boilex Asia and Pumps and Valves Asia 2025 — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย ศูนย์พัฒนาแ...

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดก... สจล. จัดวิ่งเทรลครั้งแรก "KMITL DANCHANG Trail 2025" เปิดประสบการณ์วิ่งท่ามกลางธรรมชาติที่สุพรรณบุรี — สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล...

ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัย... วว. โชว์ผลงาน วทน. สนับสนุนส่งเสริมไม้ดอกไม้ประดับ @ Pride Flower Music — ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ว...

ศูนย์โอมิกส์แห่งชาติ (National Omics Cent... ศูนย์โอมิกส์แห่งชาติ สวทช. นำไทยสู่เศรษฐกิจชีวภาพ ด้วยเทคโนโลยีชีวภาพขั้นสูง — ศูนย์โอมิกส์แห่งชาติ (National Omics Center) ภายใต้ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทค...