ณ การประชุมสุดยอดนักวิเคราะห์ระดับโลกของหัวเว่ยประจำปี 2566 (Huawei Global Analyst Summit 2023) หัวเว่ยได้จัดการเสวนาในธีม "Stride to Net5.5G, Boost New Growth" (ก้าวสู่ยุคเน็ต 5.5G ผลักดันการเติบโตใหม่) เพื่อแบ่งปันเทรนด์ของเทคโนโลยีและตัวอย่างการใช้งานในอนาคตแก่เหล่าพันธมิตรในอุตสาหกรรมและลูกค้า ตลอดจนร่วมกันหารือเกี่ยวกับทิศทางการพัฒนาของอินเทอร์เน็ต 5.5G
คุณชิว เยว่เฟิง (Qiu Yuefeng) รองประธานสายผลิตภัณฑ์การสื่อสารข้อมูลของหัวเว่ย กล่าวว่า เนื่องด้วยการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลเริ่มเร่งตัวขึ้น ในไม่ช้าทุกคน ทุกครัวเรือน และทุกองค์กรก็จะสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็ว 10 Gbps ได้ อินเทอร์เน็ต 5.5G จะช่วยมอบนวัตกรรมเทคโนโลยีแบบครบวงจรเพื่อการปรับตัวต่อสถานการณ์การบริการที่แตกต่างกันได้ดียิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ในสถานการณ์การบริการแบบ 2C, 2H และ 2B นั้น อินเทอร์เน็ต 5.5G จะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีล้ำสมัยจำนวนมาก เช่น เครือข่ายผู้ให้บริการสัญญาณแบบรวม 800GE, เครือข่ายดิจิทัลส่วนตัว 800GE, เครือข่ายศูนย์ข้อมูล (DCN) AI Fabric 800GE และ Wi-Fi รุ่นล่าสุด เพื่อให้สามารถเข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็ว 10 Gbps ได้ทุกที่ทุกเวลา
ปัจจุบัน มีบริการที่กินแบนด์วิดท์สูงมากมายเช่น วิดีโอความละเอียดสูง (HD) และเทคโนโลยีความจริงขยาย (XR) เกิดขึ้นในสถานการณ์การบริการแบบ 2C และ 2H ดังนั้น เพื่อที่จะรองรับบริการใหม่ ๆ เหล่านี้ได้ดียิ่งขึ้น อินเทอร์เน็ตมือถือและอินเทอร์เน็ตบ้านจึงกำลังพัฒนาไปเป็นแบบ 5.5G และ F5.5 ตามลำดับ ผ่านการสรรค์สร้างนวัตกรรมเทคโนโลยีอัลตราบรอดแบนด์ และเพื่อรักษาความเร็วในการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเอาไว้ เครือข่ายการสื่อสารข้อมูล เช่น เครือข่ายผู้ให้บริการพื้นฐาน กำลังพัฒนาไปสู่การเป็นเครือข่ายผู้ให้บริการสัญญาณแบบรวม 800GE เพื่อให้สามารถส่งมอบบริการสุดยอดอินเทอร์เน็ตความเร็ว 10 Gbps ในสถานการณ์การบริการข้างต้นได้
ทั้งนี้ ในสถานการณ์การบริการแบบ 2B ยิ่งเราดำดิ่งลึกลงไปในการเปลี่ยนอุตสาหกรรมสู่ความเป็นดิจิทัลมากขึ้นเท่าไร ความต้องการที่แตกต่างกันของประสิทธิภาพเครือข่ายก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น จุดนี้เองที่อินเทอร์เน็ต 5.5G จะเข้ามามีบทบาท โดยอาศัยศักยภาพของเทคโนโลยีเครือข่ายดิจิทัลส่วนตัว 800GE มาช่วยให้อินเทอร์เน็ต 5.5G สามารถสร้างเครือข่ายผู้ให้บริการดิจิทัลที่หลากหลายเพื่อตอบสนองต่ออุตสาหกรรมที่มีความแตกต่างกันได้ และด้วยการเสริมแกร่งจาก Wi-Fi รุ่นล่าสุด (Wi-Fi 7) และอุปกรณ์สลับสัญญาณ 10GE ความหนาแน่นสูง (high-density 10GE switches) ทำให้อินเทอร์เน็ต 5.5G สามารถนำพาอินเทอร์เน็ตความเร็ว 10 Gbps ไปได้ทั่วทั้งบริการในเครือข่ายแคมปัสขององค์กร นอกจากนี้ ด้วยการที่บริการต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมหันไปใช้ระบบคลาวด์ ประสบการณ์การใช้งานจึงยังขึ้นอยู่กับความเร็วในการตอบสนองของคลาวด์ต่อความต้องการของบริการนั้น ๆ อีกด้วย นั่นหมายความว่า การใช้งานเทคโนโลยี DCN AI Fabric 800GE ช่วยให้อินเทอร์เน็ต 5.5G เปิดทางสู่การโต้ตอบแบบเรียลไทม์ระหว่างการใช้งานคลาวด์และข้อมูล ทำให้มั่นใจได้ว่าผู้ใช้ปลายทางจะได้รับประสบการณ์การบริการครบถ้วน
อย่างไรก็ตาม กรุงโรมไม่ได้สร้างเสร็จในวันเดียว คุณชิว เยว่เฟิง ชี้ให้เห็นว่า อินเทอร์เน็ต 5.5G จะเดินหน้าทำลายขีดจำกัดศักยภาพต่อไปเพื่อให้สามารถตอบรับการเปลี่ยนมาใช้ระบบดิจิทัลของอุตสาหกรรมได้ดียิ่งขึ้น ขณะเดียวกัน หัวเว่ยเองก็จะเดินหน้าร่วมงานกับพันธมิตรในอุตสาหกรรมทั่วโลกเพื่อศึกษาทิศทางการพัฒนาของอินเทอร์เน็ต 5.5G และส่งเสริมการพัฒนาอย่างแข็งแกร่งของอินเทอร์เน็ต 5.5G
ในการประชุมครั้งนี้ แขกผู้มีเกียรติมากมายได้ร่วมแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกที่น่าคิด ตัวอย่างเช่น คุณหยาง เตา (Yang Tao) เลขาธิการของสมาพันธ์แอปพลิเคชัน WLAN โลก (World WLAN Application Alliance หรือ WAA), คุณหม่า เก้อ (Ma Ke) จากสถาบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งประเทศจีน (China Academy of Information and Communications Technology หรือ CAICT) และศาสตราจารย์ฟาน ชุน (Fan Chun) จากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง (Peking University) ซึ่งได้หารือร่วมกันเกี่ยวกับบทบาทที่สำคัญของระบบเครือข่ายในการอำนวยความสะดวกให้กับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลที่เกิดขึ้นทั่วอุตสาหกรรมต่าง ๆ ตลอดจนอุปสรรคและแนวทางการรับมือของเครือข่ายการสื่อสารข้อมูลในการเปิดทางสู่การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลทั่วทั้งอุตสาหกรรม ยิ่งไปกว่านั้น พวกเขายังได้เปิดเผยมุมมองและข้อเสนอแนะที่มีต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการสื่อสารข้อมูลอีกด้วย
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/2059809/Qiu_Yuefeng_Vice_President_Huawei_Data_Communication.jpg
คำบรรยายภาพ - ชิว เยว่เฟิง รองประธานสายผลิตภัณฑ์การสื่อสารข้อมูลของหัวเว่ย
มหกรรมอินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ระดับโลก World IoT Expo ประจำปี 2566 เปิดฉากแล้วเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม ที่เมืองอู๋ซี มณฑลเจียงซู ทางภาคตะวันออกของจีน ในวันเดียวกันนั้นเองยังมีการประชุมสุดยอดอู๋ซี IoT โลก (World IoT Wuxi Summit) ประจำปี 2566 อีกด้วย โดยมีการลงนามใน 22 โครงการสำคัญ และดึงดูดผู้เชี่ยวชาญด้าน IoT ทั่วโลกมาร่วมกันส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรม มณฑลเจียงซูอยู่ในระดับแนวหน้าของจีนในด้านการพัฒนา IoT โดยในปี 2565 เจียงซูได้คะแนนอยู่ที่ระดับ 66.4 ในการพัฒนาสารสนเทศวิวัฒน์และอุตสาหกรรมวิวัฒน์
หัวเว่ยเปิดตัวโซลูชันโครงสร้างพื้นฐานอินเทอร์เน็ตรุ่นใหม่ มุ่งส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสำหรับอุตสาหกรรม ISP
—
ในระหว่างการ...
นครฝูโจว มณฑลฝูเจี้ยน เปิดฉากการประชุมสุดยอด ดิจิทัล ไชนา ซัมมิต ครั้งที่ 8
—
สำนักเลขาธิการคณะกรรมการจัดงานดิจิทัล ไชนา ซัมมิต เมื่อวันที่ 29 เมษายนที่ผ่...
จัดการประชุมสุดยอด One NTT DATA Summit เปิดเวทีชูพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงของ AI และนวัตกรรมดิจิทัล
—
จัดการประชุมสุดยอด One NTT DATA Summitเปิดเวทีชูพลังแห่...
โจ ไช่ ประธานของอาลีบาบา กับ มุมมองด้านการพัฒนา AI
—
นายโจ ไช่ ประธานของอาลีบาบา กรุ๊ป แลกเปลี่ยนมุมมองของอาลีบาบาเกี่ยวกับอนาคตของ AI ในระหว่างการประชุ...
นักวิชาการจีน-ผู้แทนต่างชาติตบเท้าร่วมงานประชุมสุดยอดนานาชาติครั้งที่ 3 ว่าด้วยการใช้ระบบ BDS ที่เมืองซูโจว
—
คณะกรรมการจัดการประชุมสุดยอดว่าด้วยการใช้งาน...