เมื่อวันที่ 20 เมษายนที่ผ่านมา ทาวเวอร์เครนขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งรวมความสำเร็จด้านการวิจัยนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ 158 รายการ และสิทธิบัตรการประดิษฐ์ 305 รายการ ได้ถูกส่งออกจากสายการผลิตที่โรงงานทาวเวอร์เครนอัจฉริยะของซูมไลออน (Zoomlion Tower Crane Intelligent Factory) ในเมืองฉางเต๋อ เครนที่ทำลายสถิติโลกดังกล่าวถือเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญสำหรับซูมไลออน ผู้ผลิตเครื่องจักรก่อสร้างของจีน ในการเดินหน้าขยายการผลิตขั้นสูงของบริษัทไปสู่ระดับโลก
เทคโนโลยีขั้นสูงเบื้องหลังความสำเร็จของ "ทาวเวอร์เครนที่ใหญ่ที่สุดและแข็งแกร่งที่สุดในโลก"
R2000-720 คือทาวเวอร์เครนขนาดใหญ่ที่สุดในโลก สามารถยกรถ 500 คันขึ้นไปถึง 130 ชั้นด้วยอัตราแรงบิด 20,000 ตัน/เมตร ความจุ 720 ตัน และความสูง 400 เมตร เครนรุ่นนี้รวมความสำเร็จด้านการวิจัยนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ 158 รายการ และสิทธิบัตรการประดิษฐ์ 305 รายการ ซึ่งรวมถึงเทคโนโลยีหลักมากกว่า 60 รายการ และเทคโนโลยีบุกเบิกวงการ 12 รายการ หลังจากส่งมอบแล้ว เครนรุ่น R2000-720 จะถูกนำไปใช้ในการก่อสร้างสะพานขึงสามเสาที่มีสะพานข้ามแม่น้ำแยงซีหม่าอันซาน (Ma'anshan Yangtze River-Railway Bridge) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
"R2000-720 สร้างนวัตกรรมและความก้าวหน้าในการปรับสมดุลน้ำหนัก โครงสร้าง การควบคุมอัจฉริยะ และเทคโนโลยีอื่น ๆ ซึ่งช่วยแก้ปัญหาความท้าทายระดับโลกหลายประการในการใช้งานทาวเวอร์เครนขนาดใหญ่พิเศษภายใต้สภาพการทำงานที่ซับซ้อนอย่างยิ่ง เช่น ลมแรง ความชื้นสูง และโหลดหนัก ซึ่งหมายความว่า R2000-720 ไม่เพียงเป็นทาวเวอร์เครนที่ใหญ่ที่สุดในโลกเท่านั้น แต่ยังแข็งแกร่งที่สุดด้วย" โฆษกของซุมไลออน กล่าว
R2000-720 ใช้เทคโนโลยีการถ่วงน้ำหนักแบบเคลื่อนที่ซึ่งซูมไลออนเป็นผู้บุกเบิก เพื่อเคลื่อนที่อย่างแม่นยำด้วยแรงบิดยก ทำให้ประสิทธิภาพการยกดีขึ้นมากกว่า 60% นอกจากนี้ เครนรุ่น R2000-720 ยังสร้างสรรค์นวัตกรรมโดยใช้โครงสร้างน้ำหนักเบาที่รับน้ำหนักได้สูง และโครงสร้างแบบแยกส่วนที่รองรับงานหนัก และลดโครงสร้างส่วนบนของทาวเวอร์เครนลงมากกว่า 20% เมื่อเทียบกับเครนทั่วไป ทำให้การขนส่ง การติดตั้ง และการถอดประกอบง่ายขึ้น
นอกจากนี้ ซูมไลออนยังลงทุนอย่างมากในเทคโนโลยีการควบคุมอัจฉริยะเพื่อปรับปรุงความคล่องตัวของทาวเวอร์เครน ด้วยการพัฒนาระบบควบคุมขั้นสูงที่ใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะ 50 รายการเพื่อให้ได้การตอบสนองในระดับมิลลิวินาที
สายการผลิตอัจฉริยะ
แม้จะเป็นทาวเวอร์เครนที่ใหญ่ที่สุดในโลก แต่ R2000-720 มีรอบการส่งมอบที่ค่อนข้างสั้นเพียง 8 เดือน ตั้งแต่การออกแบบไปจนถึงการผลิตที่โรงงานทาวเวอร์เครนอัจฉริยะของซูมไลออนในเมืองฉางเต๋อ ที่โรงงานแห่งนี้ ซูมไลออนควบคุมโครงการหลักแปดโครงการ ประเมินและพัฒนาโครงการคู่ขนาน 18 โครงการ และสร้างสถิติใหม่ด้านระยะเวลาการส่งมอบ โดยส่งมอบเร็วกว่ารุ่น W12000-450 ถึงสองเดือน
ความสำเร็จของซูมไลออนในการผลิต R2000-720 เป็นผลมาจากการคิดค้นนวัตกรรมเครื่องจักรวิศวกรรมมาอย่างต่อเนื่องยาวนานถึง 67 ปี ทำให้บริษัทสามารถสร้างแพลตฟอร์มการวิจัย การพัฒนา และการออกแบบชั้นนำของโลก และสร้างโรงงานทาวเวอร์เครนอัจฉริยะที่ใหญ่ที่สุดในโลก
โรงงานทาวเวอร์เครนอัจฉริยะของซูมไลออนมีสายการผลิตอัจฉริยะ 40 สายการผลิต ซึ่งรวมถึงสายการผลิตแบล็กไลต์ไร้คนขับ 12 สายการผลิต พร้อมเครื่องมือที่ยืดหยุ่น อุปกรณ์เครื่องจักรกลหนักที่มีความแม่นยำสูง และช่างฝีมือด้านทาวเวอร์เครนที่มีทักษะสูงเกือบ 1,000 คน การผลิตอัจฉริยะช่วยให้ซูมไลออนประสบความสำเร็จทั้งด้านปริมาณและคุณภาพในการผลิตทาวเวอร์เครนขนาดใหญ่พิเศษ โรงงานแห่งนี้สามารถรองรับการผลิตทาวเวอร์เครนขนาดใหญ่ได้ 13 รุ่น (500-20,000 ตัน/เมตร) ซึ่งตอบสนองความต้องการเกือบทั้งหมดของโครงการขนาดใหญ่ในปัจจุบัน
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/2060296/Zoomlion.jpg
อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ คิดค้นสูตรดูแลผิวจากไมโครไบโอมและเทคโนโลยี 4 P-biotics สร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์เซรั่มและโลชั่นกันแดด แบรนด์ THANARA หนุนสมดุลไมโครไบโอมบนผิวหน้า เพื่อสุขภาพผิวดี อ่อนเยาว์ ใส ไร้สิว ผิวสุขภาพดี สวย ใส ดูอ่อนกว่าวัย - ใคร ๆ ก็ปรารถนา การที่จะได้มาซึ่งผิวสุขภาพดีนั้น นอกจากจะ "สวยจากภายใน" ด้วยการดูแลเรื่องอาหารการกิน น้ำดื่ม การพักผ่อน อารมณ์ และการออกกำลังกายให้สมดุลและเพียงพอแล้ว การดูแลผิวจากภายนอกก็สำคัญ ซึ่งในเรื่องนี้ "จุลินทรีย์ตัวดี" ช่วยได้ "ไมโครไบ
สสวท. กระตุกต่อมรักฟิสิกส์กับ "ไขปริศนาวิทยากล"
—
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เชิญใช้ฟรีสื่อการเรียนรู้ฟิสิกส์สร้างสรรค์แรงบันดาล...
สวทช. วช. SCB ผนึกกำลังพัฒนานักวิทย์รุ่นเยาว์ (YSC) ต่อเนื่อง ส่งเยาวชนไทยแสดงศักยภาพ 3 เวทีวิทยาศาสตร์ระดับโลก
—
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่ง...
กรมวิทย์ฯ บริการ ต่อยอดภูมิปัญญาจัดอบรม "เทคนิคการเขียนเทียนบนผืนผ้าด้วยปากกาจันติ้งไฟฟ้าแบบพกพา" ณ จังหวัดสงขลา
—
นางอาภาพร สินธุสาร ผู้อำนวยการสถาบันวิท...
เปิดตัวตำราอาหาร "สุขภาพดี วิถีสำรับไทย" จับคู่เมนูเด็ด อร่อยคงเอกลักษณ์ ครบถ้วนโภชนาการ
—
อาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ และทีมงานจ...
ทีมหุ่นยนต์ iRAP_ECONOMY มจพ. สู่รอบชิงชนะเลิศ จากการแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท. ชิงแชมป์ประเทศไทย ประจำปี 2568
—
ทีมหุ่นยนต์ iRAP_ECONOMY มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี...
SNPS ร่วมเวทีเสวนา งานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ "การสร้างคุณค่าผลิตภัณฑ์สมุนไพรสู่ตลาดใหม่มูลค่าสูง"
—
ดร.ธีรญา กฤษฎาพงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สเปเ...
"เอ็นไอเอ" มั่นใจพร้อมดันยูนิคอร์นกลุ่มกรีนเทคแจ้งเกิดใน 3 ปี
—
ส่งออก 4 สตาร์ตอัปร่วมอวดศักยภาพสู่ตลาดกาตาร์ใน "Web Summit Qatar 2025" พร้อมชี้โอกาสนวัตก...
คลังความรู้ SciMath สสวท. พาหายสงสัย "น้ำท่วมอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินได้หรือไม่ ?"
—
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) พาคลายข้อกังขากับบทคว...