นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร พร้อมด้วย ดร.พงศ์ไท ไทโยธิน รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร ให้การต้อนรับคุณเซซิเลีย กาลาเรตา เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเปรูประจำประเทศไทย โดยเข้าเยี่ยมคารวะเนื่องในโอกาสที่เข้ารับตำแหน่งใหม่ และหารือความร่วมมือทางการเกษตรระหว่างไทย-เปรู ซึ่งทั้ง 2 ประเทศมีความสัมพันธ์ทางการทูตที่ราบรื่นและฉันท์มิตร ตั้งแต่ปี 2508 นับถึงปัจจุบันเป็นเวลา 58 ปี ณ. ห้องประชุม ชั้น 2 สำนักงานอธิบดีกรมวิชาการเกษตร
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า นับเป็นโอกาสดีที่จะได้กระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐเปรูให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ทั้งด้านการขยายความร่วมมือทางการค้าและความร่วมมือด้านการเกษตร ซึ่งปัจจุบันสินค้าเกษตรที่ประเทศไทยอนุญาตให้นำเข้าจากเปรู ได้แก่ เมล็ดพันธุ์มะเขือเทศ ผลองุ่นสด ผลอะโวกาโดสดพันธุ์แฮส และ บลูเบอรี่ ซึ่งสาธารณรัฐเปรูสามารถส่งออกผลอะโวกาโดพันธุ์แฮสมายังประเทศไทยได้ตั้งแต่ปี 2562 โดยต้องปฏิบัติตามประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลอะโวกาโดสดจากสาธารณรัฐเปรู พ.ศ. 2562 ซึ่งจะต้องมีการบริหารจัดการแมลงศัตรูพืชกักกัน นอกจากนี้จะต้องมีการตรวจสอบระบบการส่งออกผลอาโวกาโดสดพันธุ์แฮส โดยกรมวิชาการเกษตรเป็นเวลา 3 ปีติดต่อกัน
ทั้งนี้ กรมวิชาการเกษตร ได้ดำเนินการตรวจสอบระบบ ครั้งที่ 1 เมื่อปี 2562 ระหว่างวันที่ 12-24 มิ.ย.โดยครั้งที่ 2 ได้เลื่อนออกไปเนื่องจากการระบาดของสถานการณ์โควิค (ระหว่างปี 2563-2565) แต่ทางกรมวิชาการเกษตรยังอนุญาตให้นำเข้าได้ ส่วนการตรวจสอบระบบครั้งที่ 2 กำหนดระหว่างวันที่ 14-24 เม.ย 2566 ซึ่งกรมวิชาการเกษตรคาดว่าผลการตรวจสอบระบบครั้งที่ 2 จะประสบผลสำเร็จด้วยดี นอกจากนี้สาธารณรัฐเปรูยังได้ยื่นขอเปิดตลาดผลทับทิมสดจากเปรูมายังประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันกรมวิชาการเกษตรได้เริ่มต้นกระบวนการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชสำหรับการนำเข้าผลทับทิมสดจากเปรูแล้วตามแผนการดำเนินงานในปี 2566
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวต่อไปว่า จากการหารือในเบื้องต้นกรมวิชาการเกษตรมีแผนที่จะเปิดตลาดส่งมะพร้าวน้ำหอมไปยังสาธารณรัฐเปรู เพื่อเป็นการส่งเสริมการส่งออกสินค้าพืชของไทยอีกทางหนึ่งด้วย เนื่องจากมะพร้าวถือเป็นสุดยอดสินค้าที่มีความนิยมเพิ่มขึ้น อีกทั้งมะพร้าวยังถูกจัดอยู่ในประเภทสุดยอดอาหารเพื่อสุขภาพ หรือ Superfoods ซึ่งปัจจุบันผู้บริโภครับทราบถึงคุณประโยชน์ที่ดีทางด้านสุขภาพ ซึ่งทางเปรูได้ให้ความเห็นว่ามะพร้าวน้ำหอม มะม่วง และแก้วมังกรจากประเทศไทยเป็นสินค้าที่มีศักยภาพในตลาดเปรู
นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า โรครากเน่าโคนเน่าของทุเรียนเป็นปัญหาที่สำคัญของเกษตรกร เนื่องจากเป็นโรคที่ร้ายแรงที่สุดในต้นทุเรียน สามารถเข้าทำลายได้ทุกส่วนของต้นทุเรียน ทำให้ต้นทุเรียนที่เป็นโรคนี้เสียหายอย่างรวดเร็วและไม่สามารถเจริญเติบโตได้ตามปกติ ส่งผลให้ทุเรียนยืนต้นตาย ปริมาณและคุณภาพผลผลิตลดลง โดยเฉพาะการผลิตเพื่อการส่งออก ซึ่งการควบคุมโรคนี้ต้องทำความเข้าใจในหลักการควบคุมโรคอย่างถูกวิธี แต่เกษตรกรส่วนใหญ่ยังขาดความเข้าใจในแนวทางการควบคุมโรคแบบผสมผสาน
ศูนย์รวบรวมเชื้อพันธุ์เห็ดแห่งประเทศไทย หนุนอาชีพเพาะเห็ด ให้บริการเชื้อเห็ดสายพันธุ์ดี 27 ชนิด 41 สายพันธุ์
—
นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเ...
กรมวิชาการเกษตรโชว์นวัตกรรมแผ่นเทียบสีประเมินความสุกแก่ผลกาแฟ สะดวก รวดเร็ว ง่ายต่อการใช้งาน สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกร
—
นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดี...
เจียไต๋ยกระดับมาตรฐานการตรวจสอบศัตรูพืช การันตีห้องปฏิบัติการ รับรองโดยกรมวิชาการเกษตร
—
เมล็ดพันธุ์เจียไต๋ โดยบริษัท เจียไต๋ จำกัด ผู้นำธุรกิจนวัตกรรมการ...
ไทย - จีน จับมือสร้างความสัมพันธ์ พร้อมเปิดตลาดสินค้าด้านการเกษตร
—
ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกั...
กรมวิชาการเกษตร ผนึกกำลัง สำนักงานเกษตรอำเภอทับสะแก ลุยสาธิตวิธีปราบ 2 แมลงศัตรูมะพร้าว สร้างความมั่นใจให้เกษตรกร
—
ดร.ภัสชญภณ หมื่นแจ้ง รองอธิบดีกรมวิชาก...
กรมวิชาการเกษตร ลุยขยายพันธุ์สับปะรด กวก. เพชรบุรี 2 เร่งถ่ายทอดเทคโนโลยีผลิตหน่อพันธุ์อย่างง่ายให้เกษตรกร
—
นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษ...
กาแฟฟ้าห่มปก มรดกคู่ผืนป่า โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ตามพระราชดำริ สร้างรายได้เกษตรกรทะลุหลักล้าน/ปี
—
นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเ...
สายส้มมีเฮ! กรมวิชาการเกษตรแจ้งเกิดส้มโอพันธุ์ใหม่ กวก.พิจิตร 1 เปิดคุณสมบัติเด่นผลผลิตสูง เนื้อกุ้งนิ่ม สีขาวอมชมพู รสชาติหวาน กลิ่นหอมเฉพาะตัว
—
นายระพีภัทร...
เครือ UBE ทำสัญญาซื้อสิทธิ์กับกรมวิชาการเกษตร
—
ร่วมส่งเสริมการใช้ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์ ช่วยเกษตรกรลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตอย่างยั่งยืน นางสาวสุรียส โคว...