ม.มหิดลเผยกลยุทธ์ใช้เกณฑ์ TQA เพื่อการเรียนรู้-พัฒนาสู่World Class University

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

เป้าหมายสู่มหาวิทยาลัยระดับโลกจะต้องมีการบริหารจัดการที่ดี โดยให้ความสำคัญของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นกำลังสำคัญในการนำพามหาวิทยาลัยมหิดลบรรลุสุ่เป้าหมาย

ม.มหิดลเผยกลยุทธ์ใช้เกณฑ์ TQA เพื่อการเรียนรู้-พัฒนาสู่World Class University

เมื่อเร็วๆ นี้จากการประกาศผลรางวัลคุณภาพแห่งชาติ(Thailand Quality Award - TQA) ประจำปี พ.ศ. 2565 จัดโดย สำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ กระทรวงอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยมหิดลสามารถคว้ารางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศที่มีความโดดเด่นด้านบุคลากร (Thailand Quality Class Plus : People) ประจำปี พ.ศ. 2565 หรือ "TQC Plus : People 2022"

ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า องค์กรที่เป็นเลิศ จะต้องประกอบด้วยทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ ด้วยระบบการบริหารจัดการที่ดี ซึ่งภายใต้กรอบการพัฒนาคุณภาพ TQA ที่ใช้เป็นเกณฑ์เดียวกันกับการประเมินรางวัลคุณภาพแห่งชาติ The Malcolm Baldrige National Quality Award ของสหรัฐอเมริกา ทำให้ที่ผ่านมาเกิด "Journey to the Excellence" หรือเส้นทางสู่เป้าหมายที่ทำให้เกิดการเรียนรู้มากมายระหว่างทาง

แม้ในบริบทของการมุ่งสู่มหาวิทยาลัยระดับโลก (World Class University) มหาวิทยาลัยมหิดลจะมีความโดดเด่นในด้านการเป็นผู้นำด้านสุขภาวะ ตลอดจนได้มีการนำ SDGs มาขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ แต่ในด้านการพัฒนาระบบการบริหารจัดการที่เป็นเลิศ จะต้องอาศัยปัจจัยสนับสนุนจากทุกองคาพยพ

ซึ่งการพัฒนาคุณภาพที่ยั่งยืน จะต้องทำให้เหมือนเป็น "การแข่งขันมาราธอน" ที่จะต้องทำอย่างต่อเนื่อง ไม่ได้แสดงเป็นเพียง "ภาพ Snapshot" ให้เห็นเพียงจุดใดจุดหนึ่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่ท้าทายที่มหาวิทยาลัยมหิดลในฐานะ "สถาบันอุดมศึกษาในกำกับรัฐแห่งแรก" ที่สามารถไต่อันดับจากการคว้ารางวัลTQC ขึ้นสู่รางวัล TQC Plus จะฝ่าฟันเป็นก้าวต่อไปสู่จุดหมายปลายทางของการคว้ารางวัลคุณภาพแห่งชาติ(Thailand Quality Award - TQA) ซึ่งเป็นรางวัลสูงสุดของประเทศด้านการพัฒนาคุณภาพให้ได้ในเร็ววัน

และด้วยความมุ่งมั่นเพื่อประชาชนได้เชื่อมั่นถึงคุณภาพของการศึกษาที่มีระบบการบริหารจัดการเป็นเลิศ มหาวิทยาลัยมหิดลพร้อมเดินหน้าสร้างบัณฑิตให้เป็นพลเมืองโลก(Global Citizen) ที่มีคุณภาพ เพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศ ตลอดจนสร้างสรรค์งานวิจัยและนวัตกรรมสู่เวทีโลกอย่างสง่างามต่อไป

รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรสมภพ ประธานธุรารักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพและบริการวิชาการมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวเพิ่มเติมว่า มหาวิทยาลัยมหิดลมุ่งมั่นพัฒนาองค์กรต่อเนื่องไปสู่รางวัลคุณภาพแห่งชาติ(Thailand Quality Award - TQA) จะต้องทำคะแนนประเมินให้ได้ไม่ต่ำกว่า 650 คะแนน และในขณะเดียวกันจะผลักดันให้ส่วนงานต่างๆ ได้ยกระดับสู่มาตรฐานรางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ (Thailand Quality Class  : TQC) เป็นด่านแรกสู่การก้าวสู่รางวัล TQC Plus และ TQA ตามลำดับ

แม้ว่างานวิจัยเป็นสิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยมหิดล แต่การทำให้เกิดความพร้อมด้านทรัพยากรบุคคลเป็นเรื่องเร่งด่วนที่จะต้องมาก่อน โดยทางทีมบริหารมหาวิทยาลัยมหิดล ได้วางกลยุทธ์พัฒนาบุคลากรโดยยกระดับการพัฒนาทักษะ และส่งเสริมความผูกพันที่มีต่อองค์กรอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้พร้อมเป็น "พลัง" ร่วมขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยมหิดลสู่การบรรลุวิสัยทัศน์ที่ได้วางไว้เพื่อการบรรลุเป้าหมายแห่งการคว้ารางวัล TQA ในอนาคตอันใกล้ต่อไป

ซึ่งในการผลักดัน และส่งเสริมส่วนงานต่างๆ ให้มีการยกระดับสู่มาตรฐานรางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ(Thailand Quality Class  : TQC) ต่อไปนั้น จะเป็นไปโดยไม่เลือกปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นส่วนงานใดๆ ของมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งรวมถึงวิทยาเขตที่อยู่ในส่วนภูมิภาค ต่างมีจุดเด่นที่พร้อมฉายแววสู่การรับการประเมินเพื่อรับรางวัล TQC ซึ่งเป็นระดับแรกของรางวัลดังกล่าว

เช่นเดียวกับ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะส่วนงานแรกของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่สามารถคว้ารางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ(Thailand Quality Class : TQC) ในปี พ.ศ. 2559 และรางวัล TQC Plus : Operation ในปี พ.ศ. 2563 พร้อมกับคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ที่สามารถคว้ารางวัล TQC Plus : Innovation ในปีพ.ศ. 2564

นอกจากนี้ รางวัล TQC ยังมีอีก 3 ส่วนงานของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่สามารถคว้ารางวัลดังกล่าว ได้แก่ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล สามารถคว้ารางวัล TQC ได้ในปีพ.ศ. 2564 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลสามารถคว้ารางวัล TQC ได้ถึง 2 ปีซ้อน คือ ปี พ.ศ. 2563 และ 2565 และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับรางวัล TQC ในปี 2565

จึงมั่นใจได้ว่าประชาชนชาวไทยที่คอยส่งกำลังใจให้มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะ "ปัญญาของแผ่นดิน" ที่พร้อมอุทิศสร้างองค์ความรู้เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาประเทศชาติเสมอมา จะไม่รู้สึกผิดหวังอย่างแน่นอน


ข่าวรางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ+สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติวันนี้

EXIM BANK ถ่ายทอดกลยุทธ์บริหารจัดการองค์กรโดยมุ่งเน้นลูกค้าเป็นสำคัญ ในฐานะองค์กรที่ได้รับรางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศที่มีความโดดเด่นด้านลูกค้า ประจำปี 2565

ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร EXIM BANK ให้การต้อนรับนางสาวรัชฎา อสิสนธิสกุล รักษาการผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมโครงการพิเศษ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ นางสาววลีพร ธนาธิคม ผู้ชำนาญการด้านรางวัลคุณภาพแห่งชาติ คณะผู้บริหารจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน และลูกค้า EXIM BANK ที่ร่วมออกร้านแสดงสินค้าในกิจกรรม Learning and Sharing with Winner Organizations จัดโดยสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ เพื่อศึกษาดูงานการบริหารจัดการของ EXIM

ในงานประกาศผลรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ครั้งที... วิศวะมหิดล...รายแรกวิศวศึกษาของไทย คว้ารางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ TQC ประจำปี 2565 — ในงานประกาศผลรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 21 ประจำปี 2565 เมื่อเ...

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ สถาบันเครือข่าย... ร่วมยินดีกับก้าวแห่งความสำเร็จขององค์กรไทย สู่การคว้ารางวัลคุณภาพแห่งชาติ ประจำปี 2563 — สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ สถาบันเครือข่ายของกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐ...

นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการ ธนาคาร... ภาพข่าว: ธอส. รับรางวัล "การบริหารสู่ความเป็นเลิศ"ประจำปี 2561 — นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์(ธอส.) รับรางวัล"การบริหารสู่ความเ...

ธนาคารอาคารสงเคราะห์(ธอส.) คว้ารางวัล "กา... ธอส. คว้ารางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ Thailand Quality Class (TQC) ปี 2561 — ธนาคารอาคารสงเคราะห์(ธอส.) คว้ารางวัล "การบริหารสู่ความเป็นเลิศ" Thailand Q...

กระทรวงอุตสาหกรรม โดยสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่... องค์กรไทยชั้นนำคว้ารางวัล Thailand Quality Class Plus และรางวัล Thailand Quality Class ประจำปี 2560 — กระทรวงอุตสาหกรรม โดยสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ สถาบั...