การฉีดพลาสมาเกล็ดเลือดแบบเข้มข้น หรือ PRP (Platelet Rich Plasma) เป็นเทคนิคทางการแพทย์ที่ใช้ในการรักษาอาการอักเสบของข้อ เอ็น และกล้ามเนื้อ ที่ได้รับการบาดเจ็บ บทความให้ความรู้โดย นพ.ฉัตรดนัย พันธุ์อุดม ศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสะโพกและข้อเข่า ศูนย์กล้ามเนื้อกระดูกและข้อ (Musculoskeletal Center) โรงพยาบาลนวเวช ได้อธิบายความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการรักษาข้อเสื่อม ลดปวด ลดการอักเสบ ของข้อ เอ็น และกล้ามเนื้อ ด้วยพลาสมา ไว้อย่างละเอียด สำหรับนำไปสังเกตตนเองและคนรอบข้าง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของวิธีการรักษาอาการดังกล่าว
PRP Therapy คือการนำเลือดมาปั่นและแยกเกล็ดเลือดกับพลาสมาออกมา สารประกอบที่เข้มข้นมีสารเร่งหรือ Growth factor ต่าง ๆ ที่ช่วยเร่งกระบวนการซ่อมแซมเนื้อเยื่อโดยธรรมชาติ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายอีกทั้งยังทำให้ลดอาการปวด ระยะยาว โดยไม่ต้องผ่าตัด หลังทำประมาณ 4-6 สัปดาห์จะเห็นว่าได้ผลการรักษาที่ดี มีผลข้างเคียงต่ำ และไม่มีอาการแพ้ รักษาได้ทั้งผู้ป่วยที่มีอาการปวดข้อเรื้อรัง หรือนักกีฬาที่ได้รับบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาก็สามารถรักษาด้วยวิธีนี้ได้
การฉีดยาลดปวด VS การฉีดเกล็ดเลือดแบบเข้มข้น ต่างกันอย่างไร
PRP เหมาะกับใครบ้าง
เวลาในการรักษา และผลการรักษาอยู่ได้นานเท่าไหร่
โดยปกติแพทย์จะทำการรักษา โดยการฉีด PRP ตรงบริเวณที่ปวด ทั้งหมด 3 เข็ม ห่างกันเข็มละ 2 สัปดาห์ - 1 เดือน ในแต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 30 นาที ผลของการรักษาอยู่ได้นานประมาณ 6 -12 เดือน และสามารถฉีดซ้ำได้การรักษาด้วยเกล็ดเลือดมีความปลอดภัยสูง เพราะใช้เลือดของตัวผู้ป่วยเองในการเยียวยาอาการบาดเจ็บให้หายเร็วขึ้น อย่างไรก็ตามการฉีด PRP ต้องอาศัยความชำนาญของแพทย์ จึงจะให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
การฉีดเกล็ดเลือดแบบเข้มข้น เป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดีขึ้น ลดความเจ็บปวด ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในทางเลือกการรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด
"โรงพยาบาลนวเวช" มุ่งมั่นให้บริการทางการแพทย์ที่ดี และเข้าถึงง่าย (Accessible Quality Healthcare) พร้อมดูแลสุขภาพของทุกคนอย่างเข้าอกเข้าใจ ด้วยบริการทางการแพทย์ที่ครอบคลุมทุกช่วงวัย และทีมแพทย์เฉพาะทาง หากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามรายละเอียดและขอรับคำปรึกษาได้ที่ ศูนย์กล้ามเนื้อกระดูกและข้อ (Musculoskeletal Center) โรงพยาบาลนวเวช โทร. 02 483 9999 I Line: @navavej I www.navavej.com
โรคข้อเข่าเสื่อม เป็นโรคที่พบเจอได้มากในกลุ่มผู้สูงวัย แต่การรักษาไม่จำเป็นต้องจบด้วยการผ่าตัดเสมอไป แพทย์มักจะเริ่มต้นวิธีการรักษาจากการรับประทานยาแก้อักเสบ หรือการรับประทานยาบำรุงไขข้อ ประกอบกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วย เช่น การลดน้ำหนัก และการออกกำลังกายเป็นประจำและการทำกายภาพบำบัด ซึ่งบทความให้ความรู้โดย นพ.ฉัตรดนัย พันธุ์อุดม ศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสะโพกและข้อเข่า ศูนย์กล้ามเนื้อกระดูกและข้อ (Musculoskeletal Center) โรงพยาบาลนวเวช ได้อธิบายความรู้ความเข้าใจ
รพ.เมดพาร์ค อาสาดูแลหัวใจหมอ 2025 ชวนหมอทั่วไทยร่วมคัดกรองโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
—
โรงพยาบาลเมดพาร์ค จัดแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ "อาสาดูแลหัวใจหมอ 2025 (ครั้...
งานสัมมนา "เมื่อไหร่ควรพบแพทย์? อาการปัสสาวะเล็ด ราด บ่อย ลำบาก, ติดเชื้อ, นิ่วในไต, ต่อมลูกหมากโต"
—
หากคุณหรือคนใกล้ตัวเคยมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินปัส...
รพ.ธนบุรี จับมือ รพ.ศิริราช จัดงานประชุมวิชาการแพทย์ด้านกระดูกสันหลังนานาชาติ
—
รพ.ธนบุรี ในเครือ THG นำโดย ศ.คลินิก.นพ.วิศิษฏ์ วามวาณิชย์ ประธานเจ้าหน้าท...
ไขข้อข้องใจโรคไส้เลื่อน
—
นพ.ศิรสิทธิ์ เลาหทัย ศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านการผ่าตัดส่องกล้องขั้นสูง กล่าวว่า ใครที่กำลังคิดว่า ไม่ใส่กางเกงชั้นในแล้วจะเป็นไส้...
5 อาการ ควรเฝ้าระวังโรคต่าง ๆ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์
—
เข้าสู่ช่วงฤดูร้อนของประเทศไทยกันแล้ว "ฝนก้อตก แดดก้อออก" ไปพร้อม ๆ กันเลยทีเดียว เรียกได้ว่า อากาศ...
รพ.บางมด ก้าวสู่ รพ.ความงามและการดูแลสุขภาพแบบครบวงจร Bangmod Aesthetic Hospital ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านความงามระดับเอเชีย
—
โรงพยาบาลบางมด โดย นพ.สุรสิทธ...
วิธีป้องกันและข้อมูลเกี่ยวกับโรคที่พบบ่อยจากการเปียกน้ำ
—
โรคที่มักจะมากับความเปียกชื้นและอาจจะเป็นแหล่งของไวรัสและเชื้อแบคทีเรียที่ติดมากับน้ำ ซึ่งเป็นสา...
โรคลมแดด (Heat Stroke): ภัยเงียบช่วงสงกรานต์และแนวทางป้องกัน
—
ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประเทศไทยมักเผชิญกับสภาพอากาศร้อนจัด ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยเฉพา...