ระบบการผลิตโปรตีนลูกผสมจากยีสต์ทนร้อนสายพันธุ์ไทยประสิทธิภาพสูง ต้นทุนต่ำ และมีอิสระในการดำเนินการ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

โปรตีนลูกผสม (Recombinant protein) คือ โปรตีนที่เกิดจากการผลิตโดยเซลล์เจ้าบ้านที่ปรับปรุงพันธุกรรมเพื่อการผลิตโปรตีนในปริมาณสูง และสามารถพัฒนากระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรมได้ ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีความสามารถในการผลิตโปรตีนลูกผสมระดับอุตสาหกรรม ทำให้ต้องนำเข้าโปรตีนลูกผสม เช่น เอนไซม์ เพื่อนำมาใช้ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ส่งผลให้ประเทศขาดดุลการค้าเป็นจำนวนมาก แม้ว่าประเทศไทยจะมีข้อได้เปรียบด้านความหลากหลายทางชีวภาพของจุลินทรีย์ซึ่งเป็นแหล่งสำคัญที่สร้างโปรตีนและชีวภัณฑ์ต่างๆที่เป็นประโยชน์ แต่ที่ผ่านมาการผลิตโปรตีนจากจุลินทรีย์ตามธรรมชาติมักมีปัญหาการเจริญเติบโตช้า ได้โปรตีนเป้าหมายในปริมาณต่ำ และต้นทุนสูง นอกจากนี้ยังขาดการพัฒนาจุลินทรีย์เพื่อนำมาใช้เป็นเซลล์เจ้าบ้านที่มีประสิทธิภาพสูงเพื่อการผลิตโปรตีนลูกผสมที่มีอิสระในการดำเนินการ (Freedom to operate)

ระบบการผลิตโปรตีนลูกผสมจากยีสต์ทนร้อนสายพันธุ์ไทยประสิทธิภาพสูง ต้นทุนต่ำ และมีอิสระในการดำเนินการ

ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) นำโดย ดร. นิรันดร์ รุ่งสว่าง นายเอกชัย ภูสีน้ำ และ ดร.สุทิพา ธนพงศ์พิพัฒน์ ทีมวิจัยระบบจุลินทรีย์เพื่อผลิตชีวโมเลกุล สามารถพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตโปรตีนลูกผสมจากจุลินทรีย์ได้แก่ ยีสต์ทนร้อนสายพันธุ์ไทยที่มีประสิทธิภาพสูง เจริญเติบโตได้ดีในช่วงอุณหภูมิกว้าง และใช้แหล่งคาร์บอนราคาถูกได้หลายชนิด เช่น น้ำตาลทราย และกากน้ำตาล จึงช่วยลดต้นทุนการผลิตลงได้มากเมื่อเปรียบเทียบกับยีสต์สายพันธุ์ทางการค้า ปัจจุบันนักวิจัยได้พัฒนาการผลิตโปรตีนลูกผสมออกนอกเซลล์ ซึ่งจะสามารถนำยีสต์ทนร้อนไปใช้ประโยชน์ในระดับอุตสาหกรรมได้อย่างกว้างขวาง โดยระบบดังกล่าวเป็นระบบที่มีความปลอดภัย ไม่ติดทรัพย์สินทางปัญญา และปลอดจากการขออนุญาตใช้สิทธิจากต่างประเทศ ระบบการผลิตโปรตีนลูกผสมจากยีสต์ทนร้อนสายพันธุ์ไทยประสิทธิภาพสูง ต้นทุนต่ำ และมีอิสระในการดำเนินการ

ดร. นิรันดร์ รุ่งสว่าง เปิดเผยว่าระบบการผลิตโปรตีนลูกผสมจากยีสต์ทนร้อนสายพันธุ์ไทยที่พัฒนาขึ้นนี้ มีจุดเด่นคือมีประสิทธิภาพสูงในการผลิตโปรตีนลูกผสมชนิดต่างๆ ที่มีความต้องการทางอุตสาหกรรม เป็นระบบที่มีความปลอดภัย ทนร้อนได้สูง มีความจำเพาะกับวัตถุดิบราคาถูก ไม่ติดสิทธิต่างประเทศ มีอิสระในการดำเนินการ มีต้นแบบผลิตภัณฑ์ และผลิตโปรตีนลูกผสมต้นแบบได้หลากหลายชนิด อาทิ เอนไซม์ไซแลนเนส เอนไซม์ไฟเตส อินเตอร์เฟอรอล และโปรตีนแคปสิดของไวรัส การคิดค้นและพัฒนางานวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมพลังงานและเคมีชีวภาพ อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมส่วนผสมฟังก์ชั่น และอุตสาหกรรมยาชีววัตถุสำหรับคนและสัตว์


ข่าวภาคอุตสาหกรรม+การดำเนินการวันนี้

PRO-Thailand Network ชวนภาคอุตสาหกรรมร่วมเก็บกลับบรรจุภัณฑ์ใช้แล้ว เตรียมพร้อมรับนโยบาย EPR ใช้แนวทางความสำเร็จของ PRO เบลเยียม และอินโดนีเซีย ในการจัดการบรรจุภัณฑ์ใช้แล้ว

"PRO-Thailand Network" ร่วมภาครัฐ เอกชน ขับเคลื่อนนโยบาย EPR ในการบริหารจัดการบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วให้เหมาะสมกับบริบทไทย และใช้ได้จริง โดยได้ระดมความคิดและแลกเปลี่ยนมุมมองการดำเนินการของ PRO ในยุโรปและอาเซียน ซึ่งประสบความสำเร็จในการจัดการบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้ตามเป้าหมาย พร้อมเชิญชวนผู้ประกอบการทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่บรรจุภัณฑ์ให้เข้ามาทำงานร่วมกัน เตรียมพร้อมรับ EPR เพื่อสร้างอนาคตเศรษฐกิจหมุนเวียนของประเทศไทยจากบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วอย่างยั่งยืน "

ดีป้า ชี้ตราสัญลักษณ์ dSURE ที่มอบให้กับผ... ดีป้า ชู dSURE กลไกกระตุ้นภาคอุตสาหกรรมไทยก้าวสู่ระดับ 4.0 — ดีป้า ชี้ตราสัญลักษณ์ dSURE ที่มอบให้กับผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัลที่ผ่านการทดสอบมาตรฐานด้านคว...

ดีป้า เผยผลสำรวจการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลภาค... ดีป้า เผยผลสำรวจการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลภาคอุตสาหกรรม ปี 67 ขยับสู่ระดับ 2.0 — ดีป้า เผยผลสำรวจการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลภาคอุตสาหกรรม ประจำปี 2567 ระบุอุตสาหกร...

หน่วยวิจัยวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ... มทร.ธัญบุรี เจ๋ง! คิดค้นกระถางรักษ์โลกจากวัสดุชีวมวล สร้างรายได้ ลด PM 2.5 — หน่วยวิจัยวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ห...

อินฟอร์มาฯ สานความร่วมมือเครือข่าย เตรียม... อินฟอร์มาฯ เตรียมจัดงาน "อินเตอร์แมค-ซับคอน-พลาสติกฯ 2025" — อินฟอร์มาฯ สานความร่วมมือเครือข่าย เตรียมจัดงาน "อินเตอร์แมค-ซับคอน-พลาสติกฯ 2025" สร้างเวทีแ...

นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที... ธนาคารกสิกรไทย แจ้งผลประกอบการไตรมาส 1 ปี 2568 กำไร 13,791 ล้านบาท — นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐก...