เลือกตั้ง 66 TikTok มาแรง ครองยอด Engagement สูงสุด ตามมาด้วยเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์

22 May 2023

โซเชียลมีเดียเป็นแพลตฟอร์มที่มีบทบาทไม่น้อยไปกว่าการลงพื้นที่หาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2566 ผลการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ในสังคมออนไลน์โดยบริษัท ดาต้าเซ็ต จำกัด พบว่า ติ๊กต๊อก (TikTok) เป็นสื่อที่มียอดการมีส่วนร่วม (Engagement) สูงสุดบนโซเชียลมีเดียถึง 63% ตามมาด้วยเฟซบุ๊ก 18% และทวิตเตอร์ 15%

เลือกตั้ง 66 TikTok มาแรง ครองยอด Engagement สูงสุด ตามมาด้วยเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์

ผลการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2566 คือบทพิสูจน์ว่า ณ วันนี้ บริบททางสังคมและการเมืองไทยได้เปลี่ยนไปแล้ว เรามิอาจมองข้ามเสียงของสังคม (Social Listening) บนโลกออนไลน์ได้อีกต่อไป

บริษัท ดาต้าเซ็ต จำกัด ได้เก็บข้อมูลและวิเคราะห์จากการฟังเสียงประชาชนในสังคมออนไลน์ ผ่านแพลตฟอร์ม DXT360 โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 16 เมษายน - 15 พฤษภาคม 2566 พบว่า มีการกล่าวถึง (Mention) และ การมีส่วนร่วม (Engagement) ในเรื่องการเลือกตั้งสูงถึง 297,603,177 ครั้ง แบ่งเป็นการกล่าวถึงและมีส่วนร่วมผ่านแพลตฟอร์ม TikTok จำนวน 63%, Facebook 18%, Twitter 15%, Instagram 3% และ YouTube 1%

TikTok มาแรง เป็นช่องทางที่มียอด Engagement สูงสุด

  • TikTok : มีการกล่าวถึงและการมีส่วนร่วม ( Mention & Engagement) หรือ Buzz สูงสุดถึง 186,393,775 ครั้ง คิดเป็น 63% จากทั้งหมด ถึงแม้ว่าใน TikTok จะมีจำนวนการกล่าวถึง (Mention) น้อยที่สุดเมื่อเทียบกับแพลตฟอร์มอื่น แต่บน Tiktok สร้าง Engagement จากการมีส่วนร่วมได้สูงมาก จากการกด Like, กดแชร์คลิปวิดีโอ รวมถึงการแสดงความคิดเห็น (Comments) ต่างๆ โดยในการเลือกตั้งครั้งนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่า คลิปวิดีโอสั้น บน TikTok มีบทบาทสำคัญอย่างมากในการเป็นพื้นที่โปรโมทประชาสัมพันธ์ให้แก่พรรคการเมืองในช่วงหาเสียงเลือกตั้งในช่วงที่ผ่านมา ทั้งกระแสในด้านบวก และ ลบ
  • Facebook : ในช่องทาง Facebook กวาด Buzz ในลำดับรองลงมาอยู่ที่ 54,729,106 ครั้ง คิดเป็น 18% เนื่องจากการที่ผู้คนเข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นและกด react กันอย่างล้นหลาม และต้องการติดตามช่องทางที่เป็นแหล่งรวมสื่อสำนักข่าวต่าง ๆ โดยพบว่า เพจ 'เรื่องเล่าเช้านี้' และ เพจ 'สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว' ได้รับ Engagement รวมกันไปกว่า 8 ล้านครั้งตลอดเดือนที่ผ่านมา สำหรับประเด็นเลือกตั้งครั้งนี้
  • Twitter : ได้รับ Buzz อยู่ที่ลำดับ 3 จำนวน 45,026,759 ครั้ง คิดเป็น 15% ซึ่งน้อยกว่า TikTok และ Facebook แต่ในส่วนของการกล่าวถึงช่องทาง Twitter นั้นได้รับสัดส่วนมากที่สุดจากช่องทางทั้งหมด เนื่องจากผู้ใช้งาน Twitter มักแสดงความคิดเห็นโดยการโพสต์ทวีตซึ่งสะดวกรวดเร็วกว่าช่องทางอื่น ๆ เหมาะสำหรับผู้ใช้งานที่ต้องการติดตามข่าวสารและรายงานสถานการณ์สด ในประเด็นการเลือกตั้ง 66 ที่เป็นกระแสที่มีความรวดเร็วและต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง
  • Instagram : ได้รับ Buzz จำนวน 7,468,309 ครั้ง คิดเป็น 3% เนื่องจากคนส่วนใหญ่ให้ความสนใจในส่วนของ การปราศรัย หรือการดีเบตผ่านเวทีต่าง ๆ ซึ่งเหมาะสมในการรับชมผ่านวิดีโอ ซึ่งไม่ค่อยตอบโจทย์สำหรับช่องทาง Instagram ที่เด่นในด้านสื่อที่เป็นรูปภาพ
  • YouTube : ในช่องทาง YouTube ที่ถือได้ว่าเป็นช่องหลักในส่วนของสื่อวิดีโอ แต่ได้รับ Buzz น้อยที่สุดอยู่ที่ 3,985,168 คิดเป็น 1% เมื่อเทียบกับช่องทางอื่น ๆ เนื่องจาก Facebook และ TikTok ได้เริ่มมีการขยายตัวในด้านสื่อวิดีโอมากขึ้น เช่น Live คลิปสั้น Highlight จากการสัมภาษณ์หรือเวทีดีเบต ซึ่งเป็นสื่อวิดีโอที่มีระยะเวลาที่ค่อนข้างสั้น ทำให้เข้าถึงง่าย แตกต่างกับ YouTube ที่ต้องการระยะเวลาในการรับชมที่นานกว่า

"ก้าวไกล" กระแสโซเชียลดีทั้งคนทั้งพรรค

การเลือกตั้ง 66 ได้รับความสนใจอย่างล้นหลามจากประชาชนทั่วประเทศ โดยเฉพาะกระแสบนโซเชียลที่การกล่าวถึงการเลือกตั้ง 66 พรรคการเมือง นโยบาย รวมถึงแคนดิเดต สำหรับการเลือกตั้งครั้งนี้ พรรคการเมืองที่ถูกกล่าวถึงและได้รับความสนใจมากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่

  1. พรรคก้าวไกล
  2. พรรคเพื่อไทย
  3. พรรครวมไทยสร้างชาติ
  4. พรรคภูมิใจไทย
  5. พรรคพลังประชารัฐ

นอกจากพรรคการเมืองแล้ว แคนดิเดตที่จะก้าวขึ้นเป็นนายกคนที่ 30 ของประเทศไทยก็ได้รับความสนใจไม่แพ้กัน โดยชื่อที่ถูกกล่าวถึงและได้รับความสนใจมากที่สุดบนโซเชียล ได้แก่ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ตามด้วย ประยุทธ์ จันทร์โอชา, เศรษฐา ทวีสิน, แพทองธาร ชินวัตร และ ประวิตร วงษ์สุวรรณ ตามลำดับ

RankCandidateBuzz% Buzz
1พิธา49,020,28963%
2ประยุทธ์18,706,25724%
3เศรษฐา4,945,9406%
4อุ๊งอิ๊ง4,548,9666%
5ประวิตร1,016,5331%

10 อันดับแฮชแท็กที่มีการกล่าวถึงมากที่สุดเกี่ยวกับการเลือกตั้ง 66

จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่าแฮชแท็กที่มีการกล่าวถึงมากที่สุดคือ #เลือกตั้ง66 โดยมีจำนวน Buzz 209,639,785 ครั้ง มีอัตราการเติบโต (Growth rate) จาก 30 วันที่ผ่านมา คิดเป็น 513.44% รองลงมาเป็น #พรรคก้าวไกล มีจำนวน Buzz 111,426,652 ครั้ง มีอัตราการเติบโต คิดเป็น 21,927.35% และ #เลือกตั้ง2566 มีจำนวน Buzz 86,136,040 ครั้ง มีอัตราการเติบโต 5736.04%

แฮชแท็ก #กกตมีไว้ทำไม-ต้องติดคุก ทำให้ยอดกล่าวถึง กกต. พุ่งทะลุ 22,996.08% ช่วงเลือกตั้งล่วงหน้า

ทั้งนี้ พบว่า Hashtag กกต. จาก 30 วันที่ผ่านมา มีอัตราการเติบโตการกล่าวถึงสูงถึง 22,996.08% โดยในช่วงการเลือกตั้ง66 ประชาชนให้ความสนใจการทำงานของ กกต. เป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นหน่วยงานสำคัญในการนับคะแนนและประกาศผลการเลือกตั้งที่มาจากเสียงความหวังของประชาชน ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่า ประชาชนขาดความเชื่อมั่นในกระบวนการทำงานของ กกต. อาจเพราะความไม่ชัดเจนในการเลือกตั้งปี 2562 และการเลือกตั้งล่วงหน้าวันที่ 7 พฤษภาคม 2566 จนเกิดแฮชแท็ก #กกตมีไว้ทำไม และ #กกตต้องติดคุก

กระแส "พิธา" พีคสูงสุดในช่วง 20 - 23  เม.ย. 66

จากการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลตลอด 30 วัน พบนัยยะที่น่าสนใจว่า ในช่วงวันที่ 20-23 เมษายน 2566 'พิธา' ได้รับการกล่าวถึง (Mention) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะวันที่ 22 เมษายน ได้รับการกล่าวถึงสูงที่สุดกว่า 36,821 ครั้ง ซึ่งส่วนใหญ่มาจากประเด็น ถามไว ตอบไว กับ 'พิธา ลิ้มเจริญรัตน์' แคนดิเดตนายกฯ จากพรรคก้าวไกล โดยพิธาได้แสดงไหวพริบการตอบคำถามในรายการคนดังนั่งเคลียร์ ของช่อง 8 ที่มีอาจารย์ยิ่งศักดิ์ จงเลิศเจษฎาวงศ์ เป็นผู้ดำเนินรายการ ซึ่งได้มีการตัดบางช่วงมาลง TikTok เป็นเวลากว่า 3 นาที เป็นการแสดงให้เห็นไหวพริบและความชาญฉลาด ส่งผลให้ประชาชนชื่นชมเป็นอย่างมาก

โดยภาพรวมความคิดเห็นประชาชนกล่าวว่า ตอบคำถามได้ลื่นไหล มีความชัดเจน แสดงให้เห็นถึงจุดยืนของพรรค รวมถึงความสามารถในการตอบคำถามของตัวพิธาเอง

ในขณะเดียวกันในวันที่ 23 เมษายน 2566 พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ได้โพสต์บน Facebook ส่วนตัว ในหัวข้อ '9 วาระเปลี่ยนประเทศไทยของรัฐบาลก้าวไกล' ซึ่งส่งผลให้โพสต์นี้ได้รับ Buzz สูงสุดกว่า 71,220 ครั้ง โดยเนื้อความหลักกล่าวถึง วาระก้าวไกล 9 เปลี่ยน ถ้าพรรคก้าวไกลเป็นรัฐบาล จะใช้วาระ 9 เปลี่ยนนี้เป็นเรือธงในการเปลี่ยนประเทศไทยที่สิ้นหวัง เป็นประเทศที่มีอนาคต พร้อมกับประกาศจุดยืนหลักในการร่วมรัฐบาลของพรรคก้าวไกล ง่าย ๆ สั้น ๆ ว่า "มีลุง ไม่มีเรา" และ "มีเรา ไม่มีลุง"

ปั่นวาทะ "ช้างป่วย" ยิ่งหนุนกระแส "ก้าวไกล"

9 พฤษภาคม 'พิธา' ตกเป็นที่สนใจจากประเด็นนโยบายเงินบำนาญ ที่กลับมาเป็นประเด็นร้อนแรงอีกครั้ง เพราะถูกขั้วฝ่ายตรงข้ามขุดวาทะ 'ช้างป่วย' ปั่นกระแสข่าวปลอมโจมตีพรรคก้าวไกล แต่กระแสก็ถูกตีกลับหลังตัวแทนพรรคก้าวไกลออกแถลงการณ์และชี้แจงข้อเท็จจริงว่าไม่มีนโยบายตัดงบบำนาญข้าราชการแต่อย่างใด

หลังช่วงวันหาเสียงครั้งสุดท้ายวันที่ 13 พฤษภาคมจะเห็นได้ว่า ยอดการกล่าวถึงแคนดิเดตของทุกพรรคลดลงอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากตามกฏระเบียบ กกต. ที่ห้ามผู้สมัคร ส.ส. และพรรคการเมืองหาเสียงตั้งแต่หกโมงเย็น วันที่ 13 พฤษภาคม จนถึงเวลาปิดหีบเลือกตั้งของ วันที่ 14 พฤษภาคม

อย่างไรก็ตาม ช่วงวันที่ 14 - 15 พฤษภาคม การกล่าวถึง 'พิธา' กลับมาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังจากออกมาประกาศจัดตั้งรัฐบาล ร่วมกับขั้วพรรคฝ่ายค้านเดิม ได้แก่ พรรคเพื่อไทย พรรคประชาชาติ พรรคไทยสร้างไทย พรรคเสรีรวมไทย และพรรคเป็นธรรม ซึ่งเป็นประเด็นที่ผู้คนส่วนใหญ่รอคอยและติดตามมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้โพสต์ที่เกี่ยวข้องในประเด็นนี้ได้รับความสนใจ (Engagement) สูงจากทั้งในส่วนของยอด Reaction (เช่นการกดไลก์) ยอดแชร์ และคอมเมนต์ที่เข้ามาร่วมแสดงความรู้สึกและความคิดเห็น

ชาวเน็ตติดตามผลเลือกตั้ง! ดันยอดชม+เอ็นเกจเม้นท์ เพจ "เรื่องเล่าเช้านี้" พุ่งกระโดด

โพสต์ไลฟ์จากรายการข่าว 'เรื่องเล่าเช้านี้' รายงานผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ พรรคก้าวไกลคว้าชัยชนะ วันแรกหลังวันเลือกตั้งครั้งใหญ่ของคนไทยในวันที่ 14 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ผ่านช่องทาง Facebook ได้รับ Engagement หลักแสนครั้ง โดยมีผู้เข้าชมกว่า 3 ล้านครั้ง ภายในเวลาไม่ถึง 24 ชม. โดยประชาชนส่วนใหญ่ร่วมแสดงความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกัน คือดีใจและยินดีกับผลการเลือกตั้งที่จะได้คนรุ่นใหม่ที่มีอุดมการณ์มาบริหารประเทศ และอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงของประเทศให้เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น

สาเหตุที่โพสต์ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก นอกจากด้วยตัวประเด็นเลือกตั้งเองแล้ว ทั้งความนิยมของรายการ ผู้ดำเนินรายการ สไตล์การเล่าข่าว และการโพสต์วิดีโอที่เป็นไลฟ์รายการข่าว ทำให้ผู้คนเข้ามาแสดงความคิดเห็นทั้งแบบสด ๆ และหลังจากการโพสต์ไลฟ์รายการ รวมถึงคนไทยจำนวนมากยังคงนิยมใช้โซเชียลมีเดียผ่านช่องทาง Facebook ส่งผลให้ Engagement พุ่งสูง

"พิธา" ฟีเวอร์ ครองพื้นที่โซเชียลทุกช่องทาง โดยเฉพาะบน Twitter ก้าวไกล ไม่เคยแผ่ว

โพสต์จาก Twitter ของพิธา (Pita Limjaroenrat) โพสต์ขอบคุณหลังจากชนะการเลือกตั้ง 66 พร้อมแจ้งสถานที่และเวลาสำหรับขบวนแห่เพื่อพบปะประชาชน โดยโพสต์ดังกล่าวได้รับ Engagement หลักแสนครั้ง ซึ่งผู้ใช้งาน Twitter ร่วมแสดงความยินดี พร้อมฝากความหวังและอนาคตของประเทศไทยไว้กับ 'พิธา' เป็นจำนวนมาก

จากการรวบรวมและวิเคราะห์หา Insight ในประเด็นการเลือกตั้ง เห็นได้ว่ากระแสความตื่นตัวของประชาชนคนไทยที่มีต่อการเลือกตั้งครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการเปลี่ยนแปลงของคนส่วนใหญ่ มีการแสดงความคิดเห็น และการแสดงออกถึงการมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนบนสังคมออนไลน์ ผ่านแพลตฟอร์มและช่องทางต่าง ๆ จนเกิดเป็นปรากฏการณ์ที่น่าสนใจว่า เสียงบนโซเชียลที่มีต่อความนิยมชื่นชอบในตัว 'พิธา' และ พรรคก้าวไกล ได้แปรเปลี่ยนเป็นคะแนนเสียงจริงให้แก่พรรคก้าวไกลจนคว้าชัยชนะในการเลือกตั้งครั้งนี้

ข้อมูลทั้งหมดที่นำมาวิเคราะห์หา Insight ในประเด็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ครั้งที่ 27 หรือการเลือกตั้ง 66 รวบรวมมาจาก DXT360 แพลตฟอร์มติดตามข่าวสารและเสียงของผู้บริโภค (Social Listening) ของ บริษัท ดาต้าเซ็ต จำกัด (dataxet:infoquest) โดยเก็บข้อมูลระหว่าง 16 เม.. - 15 .. 2566

เลือกตั้ง 66 TikTok มาแรง ครองยอด Engagement สูงสุด ตามมาด้วยเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ เลือกตั้ง 66 TikTok มาแรง ครองยอด Engagement สูงสุด ตามมาด้วยเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ เลือกตั้ง 66 TikTok มาแรง ครองยอด Engagement สูงสุด ตามมาด้วยเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ เลือกตั้ง 66 TikTok มาแรง ครองยอด Engagement สูงสุด ตามมาด้วยเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ เลือกตั้ง 66 TikTok มาแรง ครองยอด Engagement สูงสุด ตามมาด้วยเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ เลือกตั้ง 66 TikTok มาแรง ครองยอด Engagement สูงสุด ตามมาด้วยเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ เลือกตั้ง 66 TikTok มาแรง ครองยอด Engagement สูงสุด ตามมาด้วยเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ เลือกตั้ง 66 TikTok มาแรง ครองยอด Engagement สูงสุด ตามมาด้วยเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ เลือกตั้ง 66 TikTok มาแรง ครองยอด Engagement สูงสุด ตามมาด้วยเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์