วูบหมดสติ เกิดจากอะไร?

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

วูบหมดสติ เกิดจากอะไร?พญ.อริยา ทิมา อายุรกรรมระบบประสาทและโรคหลอดเลือดสมอง

วูบหมดสติ เกิดจากอะไร?

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่าอาการวูบของคุณ คืออะไร? เป็นอาการเดียวกันกับที่หมอเรียนมาหรือไม่ วูบ ในทางการแพทย์เรียกว่า Syncope หรือ หมดสติชั่วคราว ตื่นมาต้องปกติรู้ตัว ถามตอบรู้เรื่อง ย้ำว่าชั่วคราวนะคะ แปลว่า ไม่รู้ตัวแป๊บเดียว ต้องตื่นมารู้ตัวปกติดี ไม่อ่อนแรง คุยกันรู้เรื่อง ถ้าไม่ตื่นเรียก ตาย หรือ Coma ถ้าตื่นมาไม่ปกติ อ่อนแรง ลิ้น แข็ง พูดไม่ได้เรียก อัมพาต หรือ Stroke หลังจากเข้าใจคำจำกัดความของ วูบ ในทางการแพทย์ว่าคือ Syncope

Syncope คือ กลุ่มอาการที่หมดสติจากภาวะแรงดันเลือดไปเลี้ยงก้านสมองส่วนการรับรู้ไม่พอชั่วคราว ย้ำว่าชั่วคราวนะคะ แปลว่า เป็นไม่นานก็กลับมาปกติ ทำไม? เลือดถึงไปเลี้ยงสมองไม่พอ สมองก็เหมือนบ้านถ้าน้ำไม่ไหลเข้าบ้านก็ทำให้ระบบต่างๆ ในบ้านเสียหายและเกิดความผิดปกติได้ สาเหตุที่พบบ่อย ก็อย่างเช่น

  •  ปั๊มน้ำ หรือ หัวใจ หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจเต้นช้า
  •  น้ำในท่อไม่พอหรือแรงดันในท่อมีน้อย เช่นโลหิตจาง พบในผู้หญิงมีประจำเดือนมาก
  •  เลือดออกทางลำไส้จากภาวะถ่าย มีริดสีดวง
  • แผลในกระเพาะอาหาร
  • ความดันโลหิตต่ำ เช่น ทานยาความดันมาก
  • ท้องเสียรุนแรง หรือ ทานอาหารได้น้อยจนความดันโลหิตต่ำ
  • ระบบประสาทอัตโนมัติผิดปกติ

นอกจากนี้อาจมีสาเหตุอื่นๆ ที่ต้องได้ข้อมูลประวัติเพิ่มเติมจากคนที่เห็นเหตุการณ์ เช่น ลมชักวูบ

วิธีป้องกันดูแล รักษาตามสาเหตุของโรคที่หาสาเหตุพบเป็นหลัก พักผ่อน ดื่มน้ำให้เพียงพอ

ถ้าท่านมีอาการวูบแนะนำให้สังเกตอาการ และควรมาพบแพทย์ตรวจหาสาเหตุที่แท้จริง และรับการรักษาที่เหมาะสม ก่อนเกิดเรื่องร้ายแรงดีกว่าค่ะ...


ข่าวโรคหลอดเลือดสมอง+หลอดเลือดสมองวันนี้

หมอเมด vs หมอผ่า: เข้าใจความต่างก่อนเริ่มรักษา

ในยุคที่ผู้คนหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น การเข้าพบแพทย์เฉพาะทางกลายเป็นเรื่องปกติ โดยเฉพาะเมื่อพูดถึงโรคทาง ระบบประสาท เช่น อาการปวดศีรษะเรื้อรัง เวียนศีรษะ ลมชัก หรือแม้แต่โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) หลายคนอาจสงสัยว่า "หมอแบบไหน" ที่เราควรไปพบดี ระหว่าง นักประสาทวิทยา (Neurologist) หรือ ศัลยแพทย์ระบบประสาท (Neurosurgeon) ซึ่งในวงการแพทย์เองก็มักเรียกกันแบบเข้าใจง่ายว่า "หมอเมด" และ "หมอผ่า" แม้ทั้งสองจะดูคล้ายกัน แต่จริง ๆ แล้วมีบทบาทและแนวทางการรักษาที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน Neurologist หรือ "หมอเมด"

นพ.ภัทรวุฒิ เรืองวานิช อายุรแพทย์เฉพาะทาง... รู้เท่าทัน ! เฝ้าระวัง ภาวะสมองเสื่อม (Dementia) — นพ.ภัทรวุฒิ เรืองวานิช อายุรแพทย์เฉพาะทางระบบประสาทและสมอง อนุสาขาโรคหลอดเลือดสมองศูนย์สมองและระบบป...

คอเลสเตอรอลสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่อา... อาหารเพื่อลดคลอเรสเตอรอล — คอเลสเตอรอลสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่อาจนำไปสู่หัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง อย่างไรก็ตาม ถ้าเรามีการปรับ...

Cryoablation เป็นเทคนิคการรักษาภาวะหัวใจเ... "Cryoablation จี้ไฟฟ้าหัวใจด้วยบอลลูนเย็น 3 มิติ รักษา "หัวใจเต้นผิดจังหวะ" — Cryoablation เป็นเทคนิคการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่ทันสมัยและปลอดภัย โด...

3 อาการปวดหัวอันตราย! เสี่ยง "โรคหลอดเลือ... 3 อาการปวดหัวอันตราย! เสี่ยง "โรคหลอดเลือดสมอง" — 3 อาการปวดหัวอันตราย! เสี่ยง "โรคหลอดเลือดสมอง" หลายคนอาจมองว่าอาการปวดหัวเป็นเรื่องปกติ แต่รู้หรือไม่?...