โดย โรเบิร์ต วิซีคอฟสกี้ นักวิเคราะห์อาวุโส Opensignal
ข้อมูลจาก Opensignal แสดงให้เห็นว่าผู้ใช้ได้สัมผัสกับความเร็ว 5G ที่สูงขึ้นพร้อมได้รับประสบการณ์วิดีโอ 5G ที่ดียิ่งขึ้นเมื่อเชื่อมต่อผ่านย่านความถี่ n41 (2.6GHz) และมีผู้ใช้ย่านความถี่นี้กันมากขึ้นซึ่งเป็นความถี่ที่เกิดจากการควบรวมกิจการของ DTAC และ TrueMove H ส่งผลให้ผู้ใช้ได้รับประสบการณ์ดียิ่งขึ้น
การวิเคราะห์ครั้งใหม่นี้ Opensignal ได้เปรียบเทียบประสบการณ์การเชื่อมต่อ 5G ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนบนเครือข่ายมือถือของผู้ให้บริการต่าง ๆ ของประเทศไทยในเดือนธันวาคม 2565 และเดือนมีนาคม 2566 ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนและหลังการสิ้นสุดกระบวนการการควบรวมกิจการระหว่าง DTAC และ TrueMove H
ในเดือนมีนาคม 2566
ผู้ใช้เครือข่าย AIS ได้รับประสบการณ์การเชื่อมต่อ 5G ด้วยความเร็วเฉลี่ยสูงสุดด้วยคลื่นความถี่ 42.7 MHz จึงเป็นเครือข่ายที่มีความเร็วในการดาวน์โหลดสูงสุด ขณะเดียวกันเมื่อเดือนธันวาคม 2565 ผู้ใช้เครือข่าย DTAC ได้พบกับความเร็ว 5G ในระดับต่ำมาก เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ให้บริการเครือข่ายอีกสองรายในประเทศไทย ทว่าช่วงเวลาของการควบรวมกิจการในเดือนมีนาคม 2566 เราสังเกตเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงด้านความเร็วอย่างมีนัยยะของประสบการณ์ต่าง ๆ ของ DTAC เมื่อผู้ใช้เชื่อมต่อผ่านย่านความถี่ 2.6GHz
ผู้ให้บริการเครือข่ายในประเทศไทยใช้ย่านความถี่ 5G อยู่สองประเภทคือย่านความถี่ n28 (700MHz) และย่านความถี่ n41 (2.6 GHz) โดยแบบแรกจะให้ความถี่ครอบคลุมในช่วงกว้างกว่าและแบบที่สองจะให้ความจุข้อมูลสูงกว่า สิ่งนี้เองที่ทำให้มีปริมาณข้อมูลและความเร็วที่เพิ่มขึ้นสำหรับผู้ใช้มือถือ
มีความแตกต่างอย่างมีนัยยะสำคัญของการถือครองคลื่นความถี่ของผู้ให้บริการเครือข่ายทั้งสามรายในประเทศไทย ขณะที่ AIS และ TrueMove H เป็นผู้ถือครองกรรมสิทธิ์ความถี่ 100 MHz และ 90 MHz ในความถี่ 2.6GHz นั้น DTAC กลับไม่ได้ถือครองกรรมสิทธิ์ในคลื่นความถี่ใดในย่านความถี่นี้ใน การประมูลคลื่นความถี่ประจำปี 2563 — จึงเป็นผลทำให้สามารถกระจายสัญญาณ 5G ในย่านความถี่ 700 MHz ได้เท่านั้น โดยข้อมูลนี้เป็นข้อมูลที่เราสังเกตมาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2565 และในรายงานประสบการณ์เครือข่ายมือถือประจำประเทศไทยครั้งล่าสุดนี้ ที่ผู้ใช้เครือข่าย DTAC ของเรา ได้พบกับค่าเฉลี่ยความเร็วในการดาวน์โหลด 5G ในระดับต่ำมากเมื่อเปรียบเทียบกับการเชื่อมต่อบน AIS และ TrueMove H ประมาณ 30Mbps
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไปในเดือนมีนาคม 2566 ในช่วงการสิ้นสุดกระบวนการการควบรวมกิจการระหว่าง DTAC และ TrueMove H ขณะที่ทั้งสองบริษัทยังไม่ได้ถูกควบรวมให้อยู่ภายใต้เครื่องหมายการค้า True Corp ใหม่อย่างเต็มรูปแบบและการควบรวมเครือข่ายยังคงอยู่ในขั้นตอนการดำเนินงาน เราสังเกตเห็นว่าผู้ใช้ 5G บนเครือข่าย DTAC ในย่านความถี่ 2.6 GHz ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของ TrueMove H ในเวลานี้ได้รับประสบการณ์ความเร็วในการดาวน์โหลด 5G เป็น 105.7 Mbps ซึ่งมีความเร็วสูงกว่าย่านความถี่ 700 MHz ถึงสามเท่า ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ ในเดือนมีนาคม 2566 ค่าเฉลี่ยโดยรวมในการดาวน์โหลด 5G ของ DTAC เพิ่มขึ้น 2.8 เท่า หากเทียบกับในเดือนธันวาคม 2565 แล้วนับว่ามีความเร็วเพิ่มขึ้นจาก 29.6Mbps เป็น 82.1Mbps สิ่งที่น่าสนใจคือ ความเร็วในการดาวน์โหลด 5G ของ TrueMove H บนความถี่ 2.6GHz นั้นลดลงจากในเดือนธันวาคม 2565 ที่ 102.5Mbps เหลือเพียง 83.9Mbps ในเดือนมีนาคม 2566 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการใช้ย่านความถี่ 2.6GHz ร่วมกันของทั้งสองบริษัท
Opensignal ได้พิจารณาพัฒนาการด้านแบนด์วิธคลื่นความถี่โดยเฉลี่ยของการเชื่อมต่อ 5G บนเครือข่ายของผู้ให้บริการในประเทศไทยระหว่างเดือนธันวาคม 2565 และเดือนมีนาคม 2566 พบว่าแบนด์วิธคลื่นความถี่ 5G โดยเฉลี่ยของเครือข่าย DTAC เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดจาก 19.5MHz ในเดือนธันวาคม 2565 เป็น 22.9MHz ในเดือนมีนาคมซึ่งเพิ่มขึ้น 3.4MHz (17.1%) นับตั้งแต่เดือนธันวาคมเป็นต้นมา สำหรับผู้ใช้ที่เชื่อมต่อ 5G บนเครือข่าย AIS และ TrueMove H นั้นยังไม่พบการเปลี่ยนแปลงทางสถิติของค่าเฉลี่ยแบนด์วิธคลื่นความถี่ใด ๆ ในช่วงเดือนดังกล่าว
เมื่อพิจารณาสัดส่วนของการเปลี่ยนแปลงของ 5G ต่อย่านความถี่ในเดือนธันวาคม 2565 และเดือนมีนาคม 2566 ของผู้ให้บริการเครือข่ายต่าง ๆ แล้ว พบว่าเครือข่าย DTAC มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากโดยเปลี่ยนจากความถี่ 700MHz (n28) เป็น 2.6 GHz (n41) ขณะที่ในเดือนธันวาคม 2565 นั้น DTAC ยังคงใช้คลื่นความถี่ 700MHz ให้บริการ 5G แต่ในเดือนมีนาคม 2566 ในการอ่านค่า 5G ของเครือข่าย DTAC พบว่ามีการให้บริการบนคลื่นความถี่ 2.6GHz เพิ่มขึ้นเกือบ 80% ซึ่งเราไม่พบการเปลี่ยนแปลงลักษณะนี้กับเครือข่าย AIS และ TrueMove H ด้วยสัดส่วนของ 5G ในคลื่นความถี่ 700MHz ยังคงเป็นไปอย่างปรกติทั้งในเดือนธันวาคม 2565 และเดือนมีนาคม 2566 ซึ่งอยู่ในช่วง 8.6% และ 15.2% ตามลำดับ
แบนด์วิธความถี่ที่เพิ่มขึ้นไม่เพียงแต่ทำให้ความเร็วในการดาวน์โหลด 5G สูงขึ้นเท่านั้น แต่ยังช่วยพัฒนาคุณภาพการบริการมือถือในด้านอื่น ๆ อีกด้วย Opensignal ได้วิเคราะห์คะแนนด้านประสบการณ์วิดีโอ 5G ตามคลื่นความถี่ 5G ที่ผู้ให้บริการเครือข่ายในประเทศไทยใช้เป็นหลัก พบว่าการเชื่อมต่อ 5G บนย่านความถี่ 2.6MHz ทำให้ผู้ใช้ 5G ชาวไทยได้รับประสบการณ์วิดีโอที่ดีกว่าการเชื่อมต่อบนย่านความถี่ 700MHz ด้วยค่าคะแนนที่แตกต่างกันในเดือนมีนาคม 2566 ในช่วงคะแนน 2.9 และ 3.2 สำหรับ DTAC และ TrueMove H ตามลำดับและ 6 คะแนนสำหรับ AISเช่นเดียวกับด้านความเร็วในการดาวน์โหลด 5G ในเดือนธันวาคม 2565 Opensignal ยังไม่พบการให้บริการ 5G บนย่านความถี่ 2.6GHz ของ DTAC แต่เดือนมีนาคม 2566 เราพบว่ามีการเชื่อมต่อ 5G บนเครือข่าย DTAC บนย่านความถี่นี้ และยังได้รับคะแนนประสบการณ์วิดีโอ 5G ที่เพิ่มขึ้นมากกว่าการเชื่อมต่อบนย่านความถี่ 700MHzผู้ให้บริการรายใหม่มีศักยภาพเขย่าตลาดมือถือ
เราพบว่าในประเทศอื่น ๆ ที่มีผู้ให้บริการรายใหม่เกิดขึ้นจากการควบรวมกิจการได้เปลี่ยนตำแหน่งของตนเองไปอย่างสิ้นเชิง จากการวิเคราะห์ล่าสุดถึงแนวโน้มการแข่งขันในอิตาลี แสดงให้เห็นว่าการควบรวมกิจการของ Wind และ Tre ในปี 2563 นำไปสู่การเกิดขึ้นของผู้ให้บริการใหม่ที่พลิกโฉมตลาดอิตาลีได้และยังคว้ารางวัลประสบการณ์เครือข่ายมือถืออีกหลายรางวัลในรายงานของ Opensignal
AIS ครองรางวัลในรายงานประสบการณ์เครือข่ายมือถือของประเทศไทยจาก Opensignal ที่เผยแพร่เมื่อเดือนพฤษภาคม 2565 และ พฤศจิกายน 2565 โดยคว้ารางวัลชนะเลิศด้านความเร็ว 5G และรางวัลด้านประสบการณ์ทั้งหมด ส่วน DTAC และ TrueMove H จากกรณีการควบรวมกิจการที่ทำให้มีกรรมสิทธิ์ในคลื่นความถี่และโครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจนฐานผู้ใช้ที่มากขึ้น ทำให้บริษัทกลายเป็นคู่แข่งสำคัญของ AIS ในด้านประสบการณ์เครือข่ายมือถือ
เกี่ยวกับ Opensignal
เป็นผู้ให้บริการอิสระระดับโลกด้านข้อมูลเชิงลึกและประสบการณ์เครือข่ายที่ผสมผสาน รวมถึงข้อมูลภาพรวมการเติบโต การให้บริการของผู้ให้บริการเครือข่ายไร้สายและบรอดแบนด์อินเตอร์เน็ต รายงานสาธารณะของบริษัทฯ ได้รับการยอมรับระดับโลกในมาตรฐานการเปรียบเทียบประสบการณ์เครือข่าย โดยใช้โซลูชันการวิเคราะห์แบบองค์รวมและการยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลางเพื่อสร้างข้อมูลเชิงลึกในรูปแบบใหม่ๆ ที่ไม่มีมาก่อน และยังช่วยผู้ให้บริการด้านการสื่อสารสามารถปรับปรุงเครือข่าย พร้อมเพิ่มประสิทธิภาพเชิงพาณิชย์ของตนได้สูงสุด ปรับปรุงประสบการณ์เชื่อมต่อให้กับทุกคน
บริษัทฯ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ประเทศสหรัฐฯ แคนาดา สหราชอาณาจักร และมีสำนักงานขายในอเมริกาใต้และเอเชีย
นายลักษณ์วัตร์ เหรียญเจริญสุข กรรมการผู้จัดการ บริษัท โคแอน จำกัด (KOAN) ในเครือ บริษัท คอปเปอร์ ไวร์ด จำกัด (มหาชน) (CPW) เดินหน้าขยายพอร์ตธุรกิจ จากผู้นำในตลาดสินค้าดิจิทัลไลฟ์สไตล์ ในฐานะผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายอุปกรณ์เสริมสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และสมาร์ทแกดเจ็ต เข้าสู่ตลาด Smart Home Solutions อย่างเต็มรูปแบบ เพื่อรองรับเทรนด์การอยู่อาศัยยุคใหม่ที่เชื่อมโยงไลฟ์สไตล์กับเทคโนโลยีได้อย่างไร้รอยต่อ ล่าสุด KOAN ตบเท้าร่วมงาน สถาปนิก'68 ครั้งแรก เปิดตัวนวัตกรรมบ้านอัจฉริยะ ภายใต้แนวคิด "Touch And
Xiaomi 15 Series ได้รับเลือกเป็น 'BEST PHOTO SMARTPHONE' จาก TIPA WORLD AWARDS 2025
—
Xiaomi 15 Series สมาร์ทโฟนเรือธงจากเสียวหมี่คว้ารางวัล 'BEST PHOTO S...
Blockdit เปิดให้ใช้งานฟีเชอร์ Night Mode
—
Night Mode คือโหมดการแสดงผลที่เปลี่ยนพื้นหลังของหน้าจอจากสีขาวเป็นสีดำ ที่ Blockdit ได้ทำการเพิ่มเข้ามาให้ผู้...
"TECHHOUSE by .life" แหล่งรวมสินค้าดิจิทัลไลฟ์สไตล์แห่งแรกของไทย ใหญ่ที่สุด เยอะที่สุด กว่า 100 แบรนด์ดังทั่วโลก เปิดแล้ววันนี้ที่ One Bangkok
—
ครั้งแรกในไ...
POCO วางจำหน่ายสมาร์ทโฟนระดับเริ่มต้น POCO C71 มอบราคาพิเศษเริ่มต้นที่ 1,999 บาท เฉพาะระหว่างวันที่ 24 เม.ย 68 - 8 พ.ค. 68 เท่านั้น
—
POCO ประกาศวางจำหน่า...
Xiaomi จัดโปรโมชันพิเศษระหว่างวันที่ 6-30 เมษายน 2568 พร้อมวางจำหน่าย Redmi Note 14 Pro+ 5G สีใหม่ Sand Gold ในราคาพิเศษ 13,990 บาท
—
เสียวหมี่ ประเทศไทย ...
HMD ประเทศไทย ขนทัพสุดยอดสมาร์ทโฟนพร้อมเทคโนโลยีล้ำยุคจาก MWC 2025 ลุยเจาะตลาดในไทย
—
พร้อมตอกย้ำความยิ่งใหญ่ แบรนด์มาตรฐานยุโรปกับการเป็นสปอนเซอร์ทีมฟุตบ...
Synnex Thailand ร่วมเปิดตัว TECNO CAMON 40 PRO สมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ที่ผสาน นวัตกรรมและแรงบันดาลใจไว้อย่างลงตัว ณ ศูนย์การค้า Emsphere
—
บริษัท ซินเน็ค (ประเท...
กลุ่ม CPW จัดงาน "KOAN SHOWCASE 2025" งานใหญ่รวมสุดยอดสมาร์ทแกดเจ็ตระดับโลก พร้อมขอบคุณพันธมิตรทั่วประเทศ
—
นายลักษณ์วัตร์ เหรียญเจริญสุข กรรมการผู้จัดการ...