เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2566 สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) โดยนายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย ผู้อำนวยการสถาบัน ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือ เรื่อง การดำเนินงานด้านการเรียนการสอน การวิจัยและบริการวิชาการ ณ ห้อง 202 ชั้น 2 ตึกจามจุรี 4 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อดำเนินการส่งเสริม สนับสนุนซึ่งกันและกันตามภารกิจของทั้งสองหน่วยงานให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยยึดประโยชน์ของหน่วยงานในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการวิจัย การบริการวิชาการ และการส่งเสริมสนับสนุนการเรียนการสอนเกี่ยวกับอัญมณี เครื่องประดับ และโลหะมีค่า โดยมุ่งเน้นให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการและการวิจัยเชิงอุตสาหกรรมและสังคมของประเทศ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดที่สามารถนำไปต่อยอดเชิงพาณิชย์ได้ และเพื่อตอบรับแนวทางในการพัฒนาประเทศ
สถาบันได้วางยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานโดยมุ่งเน้นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ด้วยการยกระดับคุณภาพและมาตรฐานสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย ส่งเสริมกิจกรรมด้านการตลาด การยกระดับฝีมือแรงงาน การเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการและบุคลากรของอุตสาหกรรมในทุกๆ ด้าน นอกจากนี้สถาบันยังเป็นหน่วยงานกลางในการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ทั้งภายในและต่างประเทศ เพื่อให้เกิดการพัฒนาและสามารถยกระดับอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยให้อยู่ในชั้นแนวหน้าของโลกได้อย่างยั่งยืนในเวทีสากล
นอกจากนี้สถาบันจัดงานเสวนาแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านอัญมณีและเครื่องประดับครบวงจร โดยมี ดร.ภูวดล วรรธนะชัยแสง หัวหน้าฝ่ายวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับ สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ และ รศ.ดร.ฐาสิณีย์ เจริญฐิติรัตน์ อาจารย์ประจำภาควิชาธรณี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้ดำเนินการเสวนา ร่วมเสวนาโดย ศ.ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ รองอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ.ดร.ประณัฐ โพธิยะราช ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนายทนง ลีลาวัฒนสุข รองผู้อำนวยการ (เทคนิค) สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ
จี-ไอดี แลบอราทอรีส์ เปิดตัวห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณีและเครื่องประดับด้วยมาตรฐานระดับสากล ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมและความเชี่ยวชาญในการตรวจสอบอัญมณีครบวงจร ผ่านเทคโนโลยีที่ทันสมัย พร้อมด้วยทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์สูง ล่าสุดห้องแล็บได้รับการรับรองมาตรฐาน GIT Standard จากสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ยกระดับศักยภาพการตรวจสอบและเสริมความน่าเชื่อถือในตลาดอัญมณีทั้งในประเทศและต่างประเทศ เหนือระดับด้วยเทคโนโลยีล้ำหน้าและความเชี่ยวชาญระดับสากล
'พาณิชย์' ปลื้ม นักธุรกิจจิวเวลรี่ทั่วโลกแห่ร่วมงาน Networking Reception คับคั่ง ตอกย้ำภาพลักษณ์ประเทศไทยศูนย์กลางการค้าอัญมณีและเครื่องประดับระดับสากล
—
กรมส่งเสริม...
"พาณิชย์" โชว์ผลงาน "บางกอกเจมส์" ครั้งที่ 71 สำเร็จเกินคาด ดึงผู้ซื้อ-ผู้ชมงานทั่วโลกกว่า 40,000 ราย เงินสะพัดทะลุ 3,700 ล้านบาท
—
กรมส่งเสริมการค้าระหว่...
บจ. จี ไอดี แลบอราทอรีส์ รับใบรับรองฯ GIT Standard
—
นายธนาศักดิ์ ทรัพย์หิรัญกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท จี ไอดี แลบอราทอรีส์ รับใบขึ้นทะเบียนห้องปฏิบัต...
สุดตระการตา งาน Networking Reception ของบางกอกเจมส์ เชื่อมสังคมอัญมณีและเครื่องประดับไทยกับตลาดโลก
—
นายพรวิช ศิลาอ่อน รองอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างปร...
'พาณิชย์' เปิดงานบางกอกเจมส์ครั้งที่ 70 สุดตระการตา คาดเงินสะพัดกว่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐ
—
นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานเปิดงาน แส...
DITP และ GIT เตรียมจัด “บางกอกเจมส์” ครั้งที่ 70 สุดอลังการ ตอกย้ำจุดเด่นไทยในฐานะศูนย์กลางอัญมณีและเครื่องประดับโลก
—
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DIT...
GIT สานต่อความสำเร็จ เดินหน้าจัดเทศกาลนานาชาติพลอยและเครื่องประดับจันทบุรี ปีที่ 5 “สร้างจันทบุรีเป็น City of Gem
—
วันที่ 16 สิงหาคม 2567 ห้องประชุมตากสิ...
"บางกอกเจมส์" ครั้งที่ 68 ประสบความสำเร็จเกินเป้า ยอดผู้ชมงานล้น เพิ่มกว่าปีก่อนร้อยละ 44 มูลค่าการสั่งซื้อทะลุ 3,300 ล้านบาท
—
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างปร...