นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง รองผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม. กล่าวถึงการเปิดจุดบริการฉีดวัคซีนโควิด 19 สำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในส่วนของกรุงเทพมหานครว่า สนพ.ได้เปิดจุดบริการฉีดวัคซีนโควิด 19 สำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติในโรงพยาบาล (รพ.) ทั้ง 12 แห่ง ประกอบด้วย รพ.กลาง รพ.ตากสิน รพ.เจริญกรุงประชารักษ์ รพ.หลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ รพ.เวชการุณย์รัศมิ์ รพ.ลาดกระบังกรุงเทพมหานคร รพ.ราชพิพัฒน์ รพ.สิรินธร รพ.ผู้สูงอายุบางขุนเทียน รพ.คลองสามวา และ รพ.บางนากรุงเทพมหานคร รวมถึง รพ.วชิรพยาบาล โดยอัตราค่าบริการวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 800 บาท/เข็ม ไฟเซอร์ 1,000 บาท/เข็ม และค่าบริการทางการแพทย์อีก 380 บาท ซึ่งมีบริการฉีดวัคซีนในคลินิกโรคเรื้อรัง ส่วนผู้ป่วยที่มารับยาแล้วยังไม่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น สามารถรับบริการได้ทันที
ขณะเดียวกันได้ร่วมกับสำนักอนามัย กทม.ให้บริการเชิงรุกฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้ป่วยและผู้สูงอายุ กลุ่มติดบ้านติดเตียงในระบบเครือข่ายศูนย์ส่งต่อเพื่อการพยาบาลต่อเนื่องที่บ้าน (BMA Homeward Referral) ในชุมชน รวมถึงกลุ่มผู้ป่วยและกลุ่มผู้สูงอายุที่ดูแลโดยผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver) ที่ผ่านการอบรม รวมทั้งประสานอาสาสมัครสาธารณสุขสำรวจกลุ่มผู้สูงอายุในชุมชนที่ยังไม่ได้รับวัคซีน หรือยังรับวัคซีนไม่ครบ เพื่อรวมกลุ่มและนัดวันลงพื้นที่ฉีดวัคซีนให้กลุ่มเป้าหมาย สำหรับประชาชนกลุ่ม 608 กลุ่มคนที่ทำงานกับผู้ป่วย หรือกลุ่มเสี่ยง ควรฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้นทุก 4 เดือน ส่วนบุคคลทั่วไปฉีดเข็มกระตุ้นได้ทุก 4 - 6 เดือนตามความสมัครใจ สามารถรับบริการฉีดวัคซีนโควิด 19 เบิกจ่ายตามสิทธิการรักษา ณ สถานพยาบาลที่คณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครกำหนด โดยจองผ่านแอปพลิเคชัน QueQ และ Walk in ทั้ง 12 รพ.สังกัด กทม. อย่างไรก็ตาม ประชาชนในพื้นที่กรุงเทพฯ ควรใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้ง หากอยู่ในพื้นที่แออัด โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงสูง คือ กลุ่ม 608 และกลุ่มเด็กเล็ก ทั้งนี้ หากต้องการปรึกษาปัญหาด้านสุขภาพ สามารถติดต่อสอบถามผ่าน สายด่วนสุขภาพ 1646 สำนักการแพทย์ กทม.พร้อมให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง
นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม. กล่าวถึงการติดตามสถานการณ์และเฝ้าระวังการเจ็บป่วยของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพฯ จากโรคลิชมาเนีย (Leishmaniasis) รวมถึงการเตรียมพร้อมสถานพยาบาลในสังกัด เพื่อรองรับการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคลิชมาเนียว่า สนพ. และสำนักอนามัย (สนอ.) ได้ประสานกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และกรมปศุสัตว์ติดตามสถานการณ์และข้อมูลการเฝ้าระวังโรคลิชมาเนียทั้งในระดับจังหวัดและระดับประเทศอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งร่วมกับสำนักงานเขตทั้ง 50 เขต ดำเนินมาตรการเฝ้าระวัง
กทม. เตรียมพร้อมศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินรองรับภาวะอากาศร้อน-แนะประชาชนเลี่ยงกิจกรรมกลางแดด
—
นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม....
กทม. รุกเฝ้าระวังโรคติดต่อในช่วงฤดูร้อน-เตรียมพร้อมศูนย์ปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉิน
—
นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม. กล่าวถึงม...
กทม. เข้มเฝ้าระวังเตรียมพร้อมรับมือไข้หวัดใหญ่-ไข้เลือดออก-ฝีดาษวานร-ไวรัสตับอักเสบ
—
นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม. กล่า...
กทม. เข้มงวดมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาด "โรคไข้อีดำอีแดง"
—
นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม. กล่าวถึงการเตรียมคว...
กทม. รุกมาตรการป้องกัน-แก้ปัญหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในกลุ่มเยาวชน
—
นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.)...