นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง รองผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม. กล่าวถึงการให้ความรู้และเน้นย้ำข้อควรปฏิบัติแก่เจ้าหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติงานกลางแจ้ง หรือมีความเสี่ยงต่อการสัมผัสฝุ่น PM2.5 ว่า กรุงเทพมหานคร โดย สนพ.ได้แนะนำผู้ที่ประกอบอาชีพเสี่ยงต่อการรับสารพิษ ได้แก่ กลุ่มที่ทำงานนอกอาคาร เช่น ตำรวจจราจร ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างและรถสามล้อ กรรมกรก่อสร้าง พนักงานรักษาความปลอดภัย ผู้ค้าริมถนน เจ้าหน้าที่รักษาความสะอาด เจ้าหน้าที่เก็บขนมูลฝอย คนขับรถ พนักงานเก็บค่าโดยสารรถประจำทางแบบธรรมดา และครู อาจารย์ที่ยืนรับนักเรียนบริเวณหน้าโรงเรียน ซึ่งเป็นกลุ่มที่อยู่นอกอาคารเป็นเวลานาน มีโอกาสได้รับฝุ่นละอองสูงให้ระมัดระวังและดูแลเป็นพิเศษในช่วงที่ค่าฝุ่น PM2.5 มีแนวโน้มสูงขึ้น หากมีอาการผิดปกติ เช่น หายใจติดขัด แน่นหน้าอก วิงเวียนศีรษะ หรือหมดสติ ให้เข้ารับการตรวจรักษาที่สถานพยาบาลโดยเร็ว สำหรับการป้องกันตนเองให้สวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากาก N95 อย่างถูกวิธี เลือกชื้อหน้ากากป้องกันฝุ่นที่มีประสิทธิภาพ ขนาดและรูปแบบของหน้ากากต้องกระชับเข้ากับใบหน้า และห้ามนำไปซักแล้วนำกลับมาใช้ใหม่ เนื่องจากเป็นหน้ากากอนามัยที่ใช้ได้ครั้งเดียว
ขณะเดียวกัน สนพ.ยังได้บูรณาการความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักอนามัย สำนักงานเขต และหน่วยงานภายนอกจัดเตรียมหน่วยแพทย์และสาธารณสุขเคลื่อนที่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากค่าฝุ่น PM2.5 ที่สูงจนมีผลกระทบต่อสุขภาพในช่วงที่สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง เพื่อช่วยเหลือและให้ความรู้ประชาชน รวมถึงจัดเตรียมยา เวชภัณฑ์ และหน้ากากอนามัย เพื่อแจกจ่ายให้ประชาชน พร้อมรายงานสถิติผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ฝุ่นละออง ติดตามสถานการณ์ฝุ่นละออง เพื่อปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ป่วยยามจำเป็น หากมีรายงานค่าฝุ่นในพื้นที่ระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จะมีมาตรการ ดังนี้ (1) ฉีดพ่นละอองน้ำจากสปริงเกอร์บนชั้นดาดฟ้าของตึกที่ได้ติดตั้งไว้แล้ว เพื่อลดภาวะฝุ่นละอองในบริเวณพื้นที่โรงพยาบาล (รพ.) (2) เปิดศูนย์ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขกรณีฝุ่น PM2.5 เกิน 75 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) (3) รพ.ในสังกัด กทม.เปิดคลินิกมลพิษทางอากาศ ได้แก่ รพ.ตากสิน โทร.02 437 0123 ต่อ 1426, 1430 (วันจันทร์-วันศุกร์ ยกเว้นวันพุธและวันหยุดราชการ เวลา 09.00 - 12.00 น.) รพ.กลาง โทร.02 220 8000 ต่อ 10811 (วันอังคารและวันศุกร์ เวลา 08.00 - 12.00 น.) รพ.ราชพิพัฒน์ โทร.02 444 0163 ต่อ 8946 (วันอังคาร เวลา 08.00 - 16.00 น.) รพ.สิรินธร โทร.02 328 6901 (วันอังคาร เวลา 13.00 - 16.00 น.) และ รพ.เจริญกรุงประชารักษ์ โทร. 02 289 7225 (วันพุธ เวลา 13.00 - 15.00 น.) เพื่อให้คำปรึกษาแก่ประชาชนและให้บริการตรวจรักษาลดความรุนแรงของอาการที่เกิดจากฝุ่น PM2.5
นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม. กล่าวชี้แจงกรณีมีข่าวผู้เผยแพร่คลิปวิดีโอเหตุการณ์คนไข้ทำร้ายบุคลากรทางการแพทย์ภายในโรงพยาบาลสิรินธร ถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงว่า จากเหตุการณ์ดังกล่าว ผู้บริหาร กทม. ได้เน้นย้ำเรื่องความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ รวมถึงมาตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในสื่อสาธารณะ ไม่ได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนเจ้าหน้าที่แต่อย่างใด โดยผู้บริหารโรงพยาบาลได้ตรวจสอบสรุปเหตุการณ์ พร้อมให้กำลังใจบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ประจำห้องฉุกเฉิน และอนุญาตให้
กทม. เตรียมพร้อมศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินรองรับภาวะอากาศร้อน-แนะประชาชนเลี่ยงกิจกรรมกลางแดด
—
นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม....
กทม. รุกเฝ้าระวังโรคติดต่อในช่วงฤดูร้อน-เตรียมพร้อมศูนย์ปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉิน
—
นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม. กล่าวถึงม...
กทม. เข้มเฝ้าระวังเตรียมพร้อมรับมือไข้หวัดใหญ่-ไข้เลือดออก-ฝีดาษวานร-ไวรัสตับอักเสบ
—
นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม. กล่า...
กทม. เข้มงวดมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาด "โรคไข้อีดำอีแดง"
—
นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม. กล่าวถึงการเตรียมคว...