"เสน่ห์ใต้" พลิกโฉมเครื่องประดับ อัตลักษณ์เมืองใต้ หยิบงานผ้า ย่านลิเภา ไข่มุกอันดามัน สร้างมูลค่าเพิ่ม เจาะกลุ่มตลาดยุคใหม่

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า หลังจากที่ กระทรวงพาณิชย์ได้มอบหมายให้สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GIT ลงพื้นที่ต่อยอดเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการในภูมิภาคในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นพื้นที่การท่องเที่ยวที่สำคัญ ภายใต้โครงการ "เสน่ห์ใต้" (The Southern Shine by GIT) เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับในพื้นที่ภาคใต้ 4 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช พังงา สตูล และภูเก็ต ซึ่งจะสร้างความเข้มแข็งในเศรษฐกิจตั้งแต่ระดับฐานราก สร้างงาน สร้างรายได้ให้กับชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน นั้น

"เสน่ห์ใต้" พลิกโฉมเครื่องประดับ อัตลักษณ์เมืองใต้ หยิบงานผ้า ย่านลิเภา ไข่มุกอันดามัน สร้างมูลค่าเพิ่ม เจาะกลุ่มตลาดยุคใหม่

GIT ได้นำผู้เชี่ยวชาญ ทำงานร่วมกับท้องถิ่นอย่างใกล้ชิด รวมถึงจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ โดยกิจกรรมประกอบด้วยการบรรยายจากวิทยาการที่มีความเชี่ยวชาญด้านกลยุทธ์การตลาดและช่องทางการจำหน่ายสินค้า E-Marketing การบรรยายจากผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ ซึ่งมาถ่ายทอดประสบการณ์และการนำศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นมาใช้ในการออกแบบเครื่องประดับที่มีเอกลักษณ์ การนำอัญมณีประเภทต่างๆ มาผสมผสานกับวัสดุตัวเรือนที่หลากหลาย หาได้ภายในท้องถิ่น และกลยุทธ์การสื่อสารให้ผู้บริโภคเห็นถึงความงดงาม โดดเด่น และคุณค่าของอัตลักษณ์ภาคใต้ ทั้งในเรื่องของวัฒนธรรม ความงามของธรรมชาติ โดยมีผู้ประกอบการหลากหลายสาขา อาทิ ผ้าบาติก ย่านลิเภา เครื่องถม เครื่องประดับมุก รวมถึงผู้ประกอบการ OTOP ให้ความสนใจเข้าอบรมเป็นจำนวนมาก โดย GIT ได้คัดเลือกผู้ประกอบการที่มีศักยภาพเข้าร่วมพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ จำนวน 13 ราย โดยผู้ประกอบการที่เข้ารอบ จะได้ทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ เพื่อผลิตเครื่องประดับต้นแบบอัตลักษณ์เสน่ห์ใต้ และชิ้นงานที่ผลิตนั้น จะนำไปจัดแสดงในนิทรรศการ (Exhibition) และประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่างๆ "เสน่ห์ใต้" พลิกโฉมเครื่องประดับ อัตลักษณ์เมืองใต้ หยิบงานผ้า ย่านลิเภา ไข่มุกอันดามัน สร้างมูลค่าเพิ่ม เจาะกลุ่มตลาดยุคใหม่

ทั้งนี้ผู้ที่ผ่านเข้ารอบทั้ง 13 รายในปีนี้ มีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก ทำให้เห็นได้ว่าเครื่องประดับของภาคใต้ นอกจากไข่มุก และเครื่องถมแล้ว ภายใต้โครงการนี้ เราจะได้เห็นเครื่องประดับในรูปแบบใหม่ๆ ที่มีเอกลักษณ์น่าสนใจ รวมถึงเครื่องประดับที่รักษ์สิ่งแวดล้อมอีกด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในท้องถิ่นใต้มีขีดความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น และแน่นอนว่า GIT ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักด้านอัญมณีและเครื่องประดับของไทย ก็จะผลักดันโครงการต่างๆ เพื่อการสร้างอาชีพ และสร้างงานให้กับอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ เพื่อสร้างความยั่งยืนในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยต่อไป" นายสินิตย์กล่าว


ข่าวสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ+สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีวันนี้

จี-ไอดี แลบอราทอรีส์ เปิดตัวห้องแล็บตรวจสอบอัญมณีมาตรฐานระดับสากล ชูจุดเด่นเน้นความแม่นยำ-เทคโนโลยีสุดล้ำและทีมงานผู้เชี่ยวชาญ

จี-ไอดี แลบอราทอรีส์ เปิดตัวห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณีและเครื่องประดับด้วยมาตรฐานระดับสากล ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมและความเชี่ยวชาญในการตรวจสอบอัญมณีครบวงจร ผ่านเทคโนโลยีที่ทันสมัย พร้อมด้วยทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์สูง ล่าสุดห้องแล็บได้รับการรับรองมาตรฐาน GIT Standard จากสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ยกระดับศักยภาพการตรวจสอบและเสริมความน่าเชื่อถือในตลาดอัญมณีทั้งในประเทศและต่างประเทศ เหนือระดับด้วยเทคโนโลยีล้ำหน้าและความเชี่ยวชาญระดับสากล

นายธนาศักดิ์ ทรัพย์หิรัญกุล กรรมการผู้จัด... บจ. จี ไอดี แลบอราทอรีส์ รับใบรับรองฯ GIT Standard — นายธนาศักดิ์ ทรัพย์หิรัญกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท จี ไอดี แลบอราทอรีส์ รับใบขึ้นทะเบียนห้องปฏิบัต...

นายพรวิช ศิลาอ่อน รองอธิบดีกรมส่งเสริมการ... สุดตระการตา งาน Networking Reception ของบางกอกเจมส์ เชื่อมสังคมอัญมณีและเครื่องประดับไทยกับตลาดโลก — นายพรวิช ศิลาอ่อน รองอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างปร...

นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย... 'พาณิชย์' เปิดงานบางกอกเจมส์ครั้งที่ 70 สุดตระการตา คาดเงินสะพัดกว่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐ — นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานเปิดงาน แส...