นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร นายสุรกิตติ ศรีกุล ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการผลิตพืช พร้อมด้วยนางสาวฉันทนา คงนคร ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 7 และคณะนักวิจัยกรมวิชาการเกษตร ลงพื้นที่ติดตามการพัฒนากัญชาสายพันธุ์ไทยของกลุ่มเกษตรกร ที่ผ่านการรับรองพันธุ์พืชขึ้นทะเบียน ตาม พรบ.พันธุ์พืช (พ.ศ. 2518) จำนวน 2 สายพันธุ์ ได้แก่ กัญชาสายพันธุ์เขียวพงัน 01 และกัญชาสายพันธุ์ KD ที่พัฒนาพันธุ์มาจากสายพันธุ์พื้นเมือง (สายพันธุ์เขียวพงัน)พร้อมมอบหนังสือรับรองพันธุ์พืชขึ้นทะเบียน ให้แก่ตัวแทนกลุ่มเกษตรกร (กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ทั้ง 5 กลุ่ม ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนน้ำมันมะพร้าวบ้านโฉลกหลำ วิสาหกิจชุมชนไร่วิถีพะงัน วิสาหกิจชุมชนบ้านท้องนาง วิสาหกิจชุมชนนวัตวิถีเกาะพะงัน และ วิสาหกิจชุมชนชาวสวนมะพร้าวเกาะพะงัน ผู้พัฒนากัญชาสายพันธุ์เขียวพงัน 01 และนายอร่าม ลิ้มสกุล หรือโกดำ ผู้พัฒนากัญชาสายพันธุ์ KD ที่มีชื่อเสียงในพื้นที่ของเกาะเต่า
นอกจากนี้ ยังได้มอบใบรับรองการผลิตพืชอินทรีย์ (พืชสกุลกัญชา) จำนวน 2 ราย และใบรับรองการผลิตพืชตามมาตรฐาน GAP (พืชสกุลกัญชา) จำนวน 2 ราย จากนั้นได้เยี่ยมชมการผลิตกัญชาในระบบการผลิตตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ปล่อยมวนตัวห้ำ Cardiastethus exiguus Poppius ที่ค้นพบโดยนักวิจัยของกรมวิชาการเกษตร เพื่อควบคุมแมลงศัตรูกัญชา ในแปลงปลูกกัญชาของกลุ่มเกษตรกร ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งมวนตัวห้ำนี้ เป็น "มวนตัวห้ำแอนโธคอริด" (anthocorid predator) หรือ "มวนโจรสลัด" (pirate bug) ชนิดหนึ่ง สามารถกินไข่และตัวอ่อนของแมลงศัตรูพืชหลายชนิดและเป็นตัวห้ำทั่วไป
"ขอเชิญชวนให้เกษตรกรผู้ปลูก นักปรับปรุงพันธุ์พืชกัญชา กัญชง ที่มีสายพันธุ์ดีอยู่ในครอบครอง ยื่นขอรับรองพันธุ์พืชขึ้นทะเบียน ตาม พรบ.พันธุ์พืช 2518 ได้ที่สำนักคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ณ ศูนย์บริหารจัดการพืชกัญชา กัญชง และกระท่อม แบบเบ็ดเสร็จ กรมวิชาการเกษตร สายด่วน (hotline) 1174 ต่อ 311-313" อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าว
นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า โรครากเน่าโคนเน่าของทุเรียนเป็นปัญหาที่สำคัญของเกษตรกร เนื่องจากเป็นโรคที่ร้ายแรงที่สุดในต้นทุเรียน สามารถเข้าทำลายได้ทุกส่วนของต้นทุเรียน ทำให้ต้นทุเรียนที่เป็นโรคนี้เสียหายอย่างรวดเร็วและไม่สามารถเจริญเติบโตได้ตามปกติ ส่งผลให้ทุเรียนยืนต้นตาย ปริมาณและคุณภาพผลผลิตลดลง โดยเฉพาะการผลิตเพื่อการส่งออก ซึ่งการควบคุมโรคนี้ต้องทำความเข้าใจในหลักการควบคุมโรคอย่างถูกวิธี แต่เกษตรกรส่วนใหญ่ยังขาดความเข้าใจในแนวทางการควบคุมโรคแบบผสมผสาน
ศูนย์รวบรวมเชื้อพันธุ์เห็ดแห่งประเทศไทย หนุนอาชีพเพาะเห็ด ให้บริการเชื้อเห็ดสายพันธุ์ดี 27 ชนิด 41 สายพันธุ์
—
นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเ...
กรมวิชาการเกษตรโชว์นวัตกรรมแผ่นเทียบสีประเมินความสุกแก่ผลกาแฟ สะดวก รวดเร็ว ง่ายต่อการใช้งาน สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกร
—
นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดี...
เจียไต๋ยกระดับมาตรฐานการตรวจสอบศัตรูพืช การันตีห้องปฏิบัติการ รับรองโดยกรมวิชาการเกษตร
—
เมล็ดพันธุ์เจียไต๋ โดยบริษัท เจียไต๋ จำกัด ผู้นำธุรกิจนวัตกรรมการ...
ไทย - จีน จับมือสร้างความสัมพันธ์ พร้อมเปิดตลาดสินค้าด้านการเกษตร
—
ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกั...
กรมวิชาการเกษตร ผนึกกำลัง สำนักงานเกษตรอำเภอทับสะแก ลุยสาธิตวิธีปราบ 2 แมลงศัตรูมะพร้าว สร้างความมั่นใจให้เกษตรกร
—
ดร.ภัสชญภณ หมื่นแจ้ง รองอธิบดีกรมวิชาก...
กรมวิชาการเกษตร ลุยขยายพันธุ์สับปะรด กวก. เพชรบุรี 2 เร่งถ่ายทอดเทคโนโลยีผลิตหน่อพันธุ์อย่างง่ายให้เกษตรกร
—
นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษ...
กาแฟฟ้าห่มปก มรดกคู่ผืนป่า โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ตามพระราชดำริ สร้างรายได้เกษตรกรทะลุหลักล้าน/ปี
—
นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเ...
สายส้มมีเฮ! กรมวิชาการเกษตรแจ้งเกิดส้มโอพันธุ์ใหม่ กวก.พิจิตร 1 เปิดคุณสมบัติเด่นผลผลิตสูง เนื้อกุ้งนิ่ม สีขาวอมชมพู รสชาติหวาน กลิ่นหอมเฉพาะตัว
—
นายระพีภัทร...
เครือ UBE ทำสัญญาซื้อสิทธิ์กับกรมวิชาการเกษตร
—
ร่วมส่งเสริมการใช้ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์ ช่วยเกษตรกรลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตอย่างยั่งยืน นางสาวสุรียส โคว...