นายสุนทร สุนทรชาติ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย (สนอ.) กทม. กล่าวกรณีกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เตือนสถานการณ์โรคไข้เลือดออก มีผู้ป่วยเพิ่มมากกว่าปีก่อน 6.6 เท่า โดยพื้นที่กรุงเทพฯ มีอัตราผู้ป่วยสูงสุดว่า กรุงเทพมหานคร โดย สนอ.ได้ดำเนินมาตรการเชิงรุกป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยประสานสำนักงานเขตและศูนย์บริการสาธารณสุข กทม.ร่วมจัดกิจกรรมจัดการสิ่งแวดล้อม Big Cleaning ในชุมชน หรือพื้นที่เสี่ยงทุกสัปดาห์อย่างต่อเนื่องทั้ง 50 เขต เน้นกิจกรรมการทำความสะอาด ทิ้งขยะ สำรวจดัชนีลูกน้ำยุงลายและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายทุกสัปดาห์อย่างต่อเนื่อง
ขณะเดียวกันได้ประชาสัมพันธ์ให้รับทราบการป้องกันตนเองและอาการสงสัยโรคไข้เลือดออกแก่ประชาชนในพื้นที่ผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ทั้งแผ่นพับ โปสเตอร์ และสื่อออนไลน์ เพื่อเน้นย้ำนโยบายป้องกันก่อนเกิดโรคคือ "3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค" ประกอบด้วย เก็บบ้าน ให้ปลอดโปร่ง เก็บขยะ เศษภาชนะไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ และเก็บแหล่งน้ำ ปิดให้มิดชิด เปลี่ยนถ่ายน้ำทุกสัปดาห์ไม่ให้ยุงลายวางไข่ ภาชนะขังน้ำขนาดเล็กหมั่นเปลี่ยนน้ำทุก 7 วันเช่น แจกันดอกไม้สด แจกันหิ้งบูชาพระ แจกันที่ศาลพระภูมิ จะสามารถป้องกันได้ 3 โรคคือ โรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย และ "5ป " ประกอบด้วย ป1 - ปิด ภาชนะเก็บกักน้ำให้มิดชิด ป้องกันการวางไข่ของยุงลาย ป2 - เปลี่ยนน้ำในภาชนะต่าง ๆ อยู่เสมอ เพื่อไม่ให้มีแหล่งน้ำที่ยุงสามารถไปเพาะพันธุ์ได้ ป3 - ปล่อยปลากินลูกน้ำในภาชนะใส่น้ำถาวร เช่น อ่างบัว ป4 - ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมรอบข้างให้ปลอดโปร่ง ลมพัดผ่านได้ และ ป5 - ปฏิบัติตามทั้ง 4 ป ข้างต้นเป็นประจำ เพื่อป้องกันและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
นอกจากนี้ สนอ.ยังได้แจ้งสถานการณ์โรคไข้เลือดออกผ่านช่องทางประชาสัมพันธ์สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อให้สำนักงานเขตที่พบผู้ป่วยเข้าควบคุมโรค ขณะเดียวกันได้เตรียมความพร้อมรับมือการแพร่ระบาดและการรองรับผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก โดยจัดอบรมพัฒนาความรู้บุคลากร รวมถึงซักซ้อมแผนการดำเนินการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก เพื่อให้บุคลากรมีความรู้สามารถตอบโต้ภาวะฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที พร้อมทั้งทบทวนแนวทางการรักษาเมื่อพบผู้ป่วยสงสัยติดเชื้อไข้เลือดออก เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยโรคและให้การรักษาได้อย่างรวดเร็ว
นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม. กล่าวถึงการติดตามสถานการณ์และเฝ้าระวังการเจ็บป่วยของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพฯ จากโรคลิชมาเนีย (Leishmaniasis) รวมถึงการเตรียมพร้อมสถานพยาบาลในสังกัด เพื่อรองรับการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคลิชมาเนียว่า สนพ. และสำนักอนามัย (สนอ.) ได้ประสานกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และกรมปศุสัตว์ติดตามสถานการณ์และข้อมูลการเฝ้าระวังโรคลิชมาเนียทั้งในระดับจังหวัดและระดับประเทศอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งร่วมกับสำนักงานเขตทั้ง 50 เขต ดำเนินมาตรการเฝ้าระวัง
"วัย 3 ขวบปีแรกสำคัญ" กรมอนามัย-มูลนิธิศูนย์นมแม่ฯ-สสส. จับมือยกระดับสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย สร้างเด็กไทยคุณภาพ
—
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ มูลนิธิศู...
ให้การต้อนรับคณะกระทรวงสาธารณสุข
—
สุพัตรา จิราธิวัฒน์ (กลาง) รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักนโยบายองค์กรสัมพันธ์และภาพลักษณ์ บริษัทกลุ่มเซ็นทรัล จำกัด ...
พิธีเปิดอาคารนิทรรศการไทย (Thailand Pavilion) สุดยิ่งใหญ่
—
พิธีเปิดอาคารนิทรรศการไทย (Thailand Pavilion) สุดยิ่งใหญ่ นำเสนอความเป็นไทยสู่สายตาชาวโลก ในงา...
กรมอนามัย ตั้งเป้าลดการคลอดก่อนกำหนดของหญิงไทย และสร้างความร่วมมือทุกภาคส่วน โดยใช้ชุมชนเป็นฐานในการสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพ
—
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ...
กรมอนามัย-AOT-อบต.หนองปรือ การันตรีด้วยมาตรฐาน SAN 102 ร้านอาหาร ท่าอากาศยาน สุวรรณภูมิ สะอาด ปลอดภัย ได้มาตรฐาน พร้อมรองรับนักท่องเที่ยว
—
กรมอนามัย กระท...
หวั่นควันพิษจากเหตุไฟไหม้พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้ง จังหวัดนครปฐม ส่ง ทีม SEhRT กรมอนามัย เร่งดูแลสุขภาพประชาชนในพื้นที่เสี่ยง
—
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ส่ง...
ร้อนจัดอันตราย! ภูเก็ต ร้อนสุด กรมอนามัย แนะประชาชนเตรียมรับอากาศร้อน-พายุฤดูร้อน
—
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผยจังหวัดภูเก็ต Heat Index อยู่ในระดับอันต...
ผู้แทนองค์การอนามัยโลกปลาบปลื้มพระมหากรุณาธิคุณ สืบสานโครงการเครือข่ายสุขภาพมารดาและทารก เร่งป้องกันปัญหาการคลอดก่อนกำหนด
—
ผู้แทนองค์การอนามัยโลกปลาบปลื้...