โรคผื่นผิวหนังอักเสบ (Eczema) ป้องกันและรักษาได้ด้วยการแพทย์แผนจีน โดย คลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

โรคผื่นแพ้อักเสบ หรือที่เรียกว่า Eczema พบได้ในกลุ่มคนทุกช่วงวัย ทั้งหญิงและชาย ผู้ป่วยจะมีผื่นแดง คัน เกิดได้ทุกส่วนของร่างกาย มักจะกำเริบได้ง่าย ผู้ที่ในครอบครัวมีประวัติในกลุ่มโรคภูมิแพ้ ผื่นแพ้อักเสบ หอบหืด ลมพิษ ภูมิแพ้จมูกอักเสบ ภูมิแพ้อากาศ จะมีโอกาสเป็นโรคผิวหนังอักเสบได้มากกว่าคนทั่วไป

โรคผื่นผิวหนังอักเสบ (Eczema) ป้องกันและรักษาได้ด้วยการแพทย์แผนจีน โดย คลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว

โรคผื่นแพ้อักเสบในมุมมองแพทย์แผนจีน โรคผื่นผิวหนังอักเสบ (Eczema) ป้องกันและรักษาได้ด้วยการแพทย์แผนจีน โดย คลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว

เกิดจากปัจจัยภายในและภายนอก ปัจจัยภายใน ได้แก่ ปัจจัยก่อนกำเนิดหรือสภาพร่างกายแต่กำเนิด (กรรมพันธุ์) หรือมีสาเหตุจากการทานอาหารไม่ถูกกับสภาพร่างกายหรือทานของเผ็ด หมักดอง อาหารแสลงต่างๆ มากเกินไป จนกระทบการทำงานของกระเพาะและม้าม เกิดเป็นความร้อน ความชื้นในร่างกาย ประกอบกับถูกกระทบจากปัจจัยภายนอก เช่น ลม ความร้อน ความชื้น ทำให้สูญเสียความสมดุลของผิวหนัง

ผื่นแพ้อักเสบสามารถแบ่งตามระยะการดำเนินโรคออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่

1. ระยะเฉียบพลัน

มีรอยโรคหลากหลาย เช่น ตุ่มแดงนูน ตุ่มน้ำใส มีน้ำเหลืองซึม ผิวถลอก มีสะเก็ดขุย มีผื่นใหม่เกิดขึ้นเรื่อยๆ ผู้ป่วยมักรู้สึกร้อนบริเวณผื่น คันรุนแรง เป็นๆ หายๆ ไม่หายขาด

วิธีการรักษา >> ลดการอักเสบ ลดความร้อน ทำให้แห้ง มักใช้ยาใช้ภายนอกชนิดน้ำหรือของเหลว หรือชนิดผงทาที่รอยโรค

2. ระยะกึ่งเฉียบพลัน 

เป็นอาการต่อเนื่องหลังจากอาการในระยะเฉียบพลัน แต่มีผื่นใหม่เกิดขึ้นน้อย ผื่นเป็นตุ่มแดง คัน ผิวแห้งลอก รอยแกะเกา  ขุย เป็นหลัก

วิธีการรักษา >> เน้นลดการอักเสบ ทำให้แห้ง มักใช้ยาใช้ภายนอกชนิดน้ำมัน ชนิดน้ำแขวนตะกอน ชนิดผง

3. ระยะเรื้อรัง

มีผื่นเฉพาะที่ ขอบเขตชัดเจน ผิวภายนอกขรุขระ (Lichenification)  ผื่นมีสีแดงคล้ำหรือรอยสีน้ำตาล

วิธีการรักษา >> เน้นให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวลดอาการคัน มักใช้ยาใช้ภายนอกชนิดครีม

ข้อแนะนำสำหรับคนไข้โรคผิวหนัง

  1. หลีกเลี่ยงการเกา เลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง เช่น แอลกอฮอล์ เมนทอล การบูร น้ำหอม น้ำร้อนจัด สบู่ก้อน ผงซักฟอก                         
  2. อาหารที่ควรงดและหลีกเลี่ยง ได้แก่ เนื้อแพะ เนื้อวัว อาหารทะเล ของที่มีรสเผ็ดร้อน เห็ดต่าง ๆ หน่อไม้ อาหารแสลงในกลุ่มของหมักดอง (เช่น ปลาร้า กะปิ เต้าเจี้ยว ผัดกาดดอง เป็นต้น) อาหารแปรรูปต่างๆ (เช่น ไส้กรอก ไส้อั่ว ปูอัด ลูกชิ้น แฮม เป็นต้น)                                   
  3. อาหารที่สามารถรับประทานได้ : เนื้อหมู เนื้อห่าน อาหารสดใหม่ ผักผลไม้สดที่มีวิตามินซี                                         
  4. เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยนกับผิวหนัง เช่น สบู่ แชมพู สำหรับเด็ก
  5. ผลิตภัณฑ์หรือยา ควรทดสอบการแพ้ก่อนการใช้

อย่างไรก็ตาม การรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีนนั้นเป็นการรักษาแบบองค์รวมมีความซับซ้อน  ผู้ป่วยควรได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์เท่านั้น

  • สอบถามข้อมูล หรือปรึกษาเรื่องสุขภาพได้ที่ "ทีมหมอจีน" คลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว โทร 02 223 1111 ต่อ 114, 115 
  • เปิดทำการทุกวัน (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์) ตั้งแต่เวลา 08:00 - 16:00 น.
  • LINE OA: @huachiewtcm
  • Facebook: หัวเฉียวแพทย์แผนจีนกรุงเทพ Huachiew TCM Clinic

ข่าวแพทย์แผนจีน+โรคภูมิแพ้วันนี้

ม.หัวเฉียวฯ ประสบความสำเร็จอย่างงดงามในงาน Thailand Wellness and Healthcare Expo 2025

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ร่วมแสดงศักยภาพด้านบริการสุขภาพครบวงจร ภายในงาน Thailand Wellness and Healthcare Expo 2025 ณ ไบเทค บางนา ระหว่างวันที่ 26-29 มิถุนายน 2568 ซึ่งได้รับการตอบรับจากประชาชนอย่างอบอุ่นและประทับใจ ในงานครั้งนี้ ศูนย์สุขภาพและจีนศึกษา พร้อมด้วยหน่วยงานภายใต้มหาวิทยาลัยฯ อาทิ หัวเฉียวสหคลินิก คลินิกแพทย์แผนจีน คลินิกเทคนิคการแพทย์ คลินิกกายภาพบำบัด HCU Wellness Center ศูนย์บริการวิชาการ ศูนย์นวัตกรรมเครื่องสำอางและสมุนไพร ได้ร่วมกันออกบูธให้บริการสุขภาพครบวงจร อาทิ

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เปิดตั... ม.หัวเฉียวฯ เปิด 3 ศูนย์สุขภาพ ผสานแพทย์แผนจีน-AI เชื่อมการดูแลแบบองค์รวม — มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เปิดตัว "คลินิกการประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพท...

เมื่อวันจันทร์ที่ 26 พฤษภาคม 2568 รศ.ดร.อ... หัวเฉียวฯ สานต่อปณิธาน "เรียนรู้เพื่อรับใช้สังคม" รายงานผลงานเพื่อสังคม ปี'67 — เมื่อวันจันทร์ที่ 26 พฤษภาคม 2568 รศ.ดร.อุไรพรรณ เจนวาณิชยานนท์ อธิการบดีม...

แพทย์จีนขอแนะนำการกดจุดกระตุ้นน้ำนม 2 จุด... นวดกระตุ้นน้ำนมคุณแม่ ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน — แพทย์จีนขอแนะนำการกดจุดกระตุ้นน้ำนม 2 จุด คือเส้าเจ๋อ (SI1) และ จู๋ซานหลี่ (ST36) โดยกดจุดละ 3-5 นาที...

ขี้หงุดหงิด ท้องผูก สิว นอนไม่หลับ ปวดหัว... ขี้หงุดหงิด ท้องผูก สิว นอนไม่หลับ ปวดหัว อาการเหล่านี้มีความสัมพันธ์กันได้อย่างไร ? — ขี้หงุดหงิด ท้องผูก สิว นอนไม่หลับ ปวดหัว อาการเหล่านี้มีความสัมพัน...

จากมุมมองการแพทย์แผนจีน ภาวะเลือดออกผิดปก... 3 สาเหตุภาวะเลือดออกผิดปกติในช่วงตกไข่ — จากมุมมองการแพทย์แผนจีน ภาวะเลือดออกผิดปกติในช่วงตกไข่ มักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอินและหยางในช่วงที่ไข่ตก...

คลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียวให้การต้อนรับ... คลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียวให้การต้อนรับ คณาจารย์และนักศึกษาจากสถานวิทยาลัยนครราชสีมา — คลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียวให้การต้อนรับ คณาจารย์และนักศึกษาจากส...