กทม.เตรียมพร้อมระบบเฝ้าระวังป้องกันโรคไข้เลือดออก ไข้ปวดข้อยุงลาย แนะหลีกเลี่ยงซื้อยารับประทานเอง

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม.กล่าวถึงมาตรการเชิงรุกป้องกันการแพร่ระบาดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่กรุงเทพฯ ว่า กรุงเทพมหานคร โดย สนพ.ได้เตรียมความพร้อมระบบเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ตามแนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคของโรงพยาบาล (รพ.) ในสังกัด กทม.เพื่อลดความรุนแรงของการเจ็บป่วยของโรค ซึ่งอาจนำไปสู่การเสียชีวิต โดยตรวจคัดกรองอาการเบื้องต้น เพื่อแยกประเภทของกลุ่มโรคตามลักษณะอาการ รวมถึงกำหนดแนวทางและมาตรการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ให้ความรู้เรื่องการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ดูแลภาชนะที่ใส่น้ำไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง สามารถใส่ทรายอะเบท หรือแบคทีเรียกำจัดลูกน้ำป้องกันไม่ให้ยุงลายมาวางไข่ พร้อมทั้งแนะนำการป้องกันตนเองไม่ให้ยุงกัด และอาการป่วยที่ต้องพบแพทย์ให้ผู้ที่มารับบริการใน รพ.และชุมชนรอบ รพ.พร้อมสื่อสารความเสี่ยงด้านสุขภาพให้ประชาชนผ่านสื่อออนไลน์ เพื่อเพิ่มการเข้าถึงข้อมูลและเพิ่มความตระหนักด้านสุขภาพ วินิจฉัย และรักษาโรคไข้เลือดออก และรับส่งต่อผู้ป่วยจากหน่วยบริการปฐมภูมิ ได้แก่ ศูนย์บริการสาธารณสุข กทม. สำนักอนามัย หากมีอาการไข้สูงเกือบตลอดเวลา 2 - 7 วัน และมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ หรือมีผื่น หรือจุดเลือดออกตามลำตัว แขน ขา และอาการไม่ดีขึ้น ควรรีบพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างถูกต้อง

กทม.เตรียมพร้อมระบบเฝ้าระวังป้องกันโรคไข้เลือดออก ไข้ปวดข้อยุงลาย แนะหลีกเลี่ยงซื้อยารับประทานเอง

ขณะเดียวกันได้รณรงค์ส่งเสริมความรู้และสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนให้ดูแลสุขลักษณะและจัดการสิ่งแวดล้อมบริเวณบ้านพักอาศัยและภายในชุมชน โดยแนะนำให้ปฏิบัติตามมาตรการ 5 ป. เพื่อป้องกันโรคติดต่อนำโดยยุงลาย ประกอบด้วย ( 1) ปิด - ปิดฝาภาชนะให้สนิท (2) ปล่อย - ปล่อยปลากินลูกน้ำ (3) เปลี่ยน - เปลี่ยนน้ำในภาชนะที่ปิดไม่ได้ (4 ) ปรับ - ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และ (5) ปฏิบัติ - ปฏิบัติเป็นประจำอย่างต่อเนื่องทุกวัน เพื่อกำจัดไข่ยุงลาย รวมทั้งสร้างความรู้ให้ประชาชนทราบถึงการป้องกันตนเองไม่ให้ยุงกัด เช่น ใช้สเปรย์กระป๋องฉีดพ่นยุงตัวเต็มวัย ใช้ยาจุดกันยุง ทาโลชั่นกันยุง และสังเกตอาการสำคัญที่ต้องพบแพทย์ โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีความเสี่ยง หากป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกจะมีอาการรุนแรง เช่น กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มเด็กเล็ก กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคอ้วน หากคนในครอบครัวมีอาการไข้สูง ให้หลีกเลี่ยงการซื้อยารับประทานเอง หากจำเป็นให้ใช้ยาพาราเซตามอล ห้ามใช้ยาในกลุ่มเอ็นเสด เช่น ยาไอบรูโปรเฟน แอสไพริน หรือยาแก้ปวดไดโคลฟิแนก เพราะยากลุ่มนี้อาจมีผลทำให้เลือดออกมากขึ้น

นอกจากนั้น ยังได้ดำเนินมาตรการป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย โดยให้ทุก รพ.ในสังกัด สำรวจตรวจสอบจุดที่มีน้ำขังและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายภายใน รพ.และบริเวณโดยรอบ รพ.รวมทั้งจัดเจ้าหน้าที่กลุ่มงานอนามัยชุมชนลงพื้นที่จัดกิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้เรื่องโรคที่เกิดจากยุงลาย วิธีการป้องกัน และวิธีการสำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายแก่ประชาชนผู้รับบริการและบุคลากรในสังกัด พร้อมประสานสำนักงานเขตพื้นที่ให้บริการฉีดพ่นหมอกควันกำจัดยุงบริเวณพื้นที่โดยรอบ รพ.


ข่าวเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง+โรคไข้เลือดออกวันนี้

กทม. เข้มเฝ้าระวังเตรียมพร้อมรับมือไข้หวัดใหญ่-ไข้เลือดออก-ฝีดาษวานร-ไวรัสตับอักเสบ

นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม. กล่าวถึงการติดตามสถานการณ์และเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ โรคไข้เลือดออก โรคฝีดาษวานร และโรคไวรัสตับอักเสบ B และ C ในพื้นที่กรุงเทพฯ ตามแนวทางการป้องกันควบคุม 4 โรคติดต่อที่สำคัญที่คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติกำหนดว่า สนพ. ได้เตรียมพร้อมมาตรการเฝ้าระวังและจัดทำแนวทางการดำเนินงานควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ โดยเฉพาะการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ โรคไข้เลือดออก โรคฝีดาษวานร และโรคไวรัสตับอักเสบ B และ C ในพื้นที่กรุงเทพฯ

นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำน... กทม.รุกป้องกันควบคุมโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ แนะปฏิบัติตามมาตรการ 5 ป. — นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม.กล่าวถึงมาตรการเชิงร...

กทม. เฝ้าระวัง-เตรียมพร้อมสถานพยาบาลในสังกัดรับมือโรคลิชมาเนีย

นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม. กล่าวถึงการติดตามสถานการณ์และเฝ้าระวังการเจ็บป่วยของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพฯ จากโรคลิชมาเนีย (Leishmaniasis) รวมถึงการเตรียมพร้อมสถานพยาบาลในสังกัด เพื่อรองรับการดู...

กทม. เร่งดูแลรักษาคนไข้เด็กหลังได้รับยาเกินขนาด พร้อมทบทวนมาตรฐานการดูแลคนไข้

นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม. กล่าวกรณีมีข้อร้องเรียนแพทย์โรงพยาบาลสังกัด กทม. ฉีดยาเกินขนาด ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการข้างเคียงว่า จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงพบว่า เมื่อวันที่ 16 ก.พ. 68...

กทม. บูรณาการทุกภาคส่วนร่วมดูแลความปลอดภัยคนกรุงฯ ช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 68

นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม. กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมของสถานพยาบาลในสังกัด กทม. เพื่อดูแลความปลอดภัยประชาชนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2568 ว่า สนพ. เล็งเห็นผลกระทบของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดย...

นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำน... กทม. เตรียมพร้อมศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินรองรับภาวะอากาศร้อน-แนะประชาชนเลี่ยงกิจกรรมกลางแดด — นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม....

สถานพยาบาล กทม. พร้อมรองรับเหตุแผ่นดินไหว-สำรวจประเมินความเสียหายอาคาร รพ.

นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม. กล่าวถึงความพร้อม ของสถานพยาบาลสังกัด กทม. เพื่อรองรับการดูแลรักษาผู้ได้รับบาดเจ็บและผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหว รวมทั้งการจัดเตรียมแผนฉุก...

นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำน... กทม. รุกเฝ้าระวังโรคติดต่อในช่วงฤดูร้อน-เตรียมพร้อมศูนย์ปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉิน — นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม. กล่าวถึงม...

นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำน... กทม. เข้มงวดมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาด "โรคไข้อีดำอีแดง" — นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม. กล่าวถึงการเตรียมคว...