"พร็อพเพอร์ตี้กูรู" บริษัทแม่ของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ และ thinkofliving.com เผยผลประกอบการไตรมาส 4 และผลประกอบการของทั้งปี 2565

03 Mar 2023
รายได้รวมไตรมาส 4 โตขึ้น 17% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ขณะที่รายได้ทั้งปี 2565 โตขึ้น 35%รายได้รวมโตขึ้น 35% มาอยู่ที่ 136 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 3.5 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 2 มี.ค. 66) ซึ่งในทุก ๆ ธุรกิจเติบโตขึ้นกว่า 20% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าผลกำไรจากการดำเนินงานของบริษัทก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคาที่ปรับแล้ว (Adjusted EBITDA) มีมูลค่า 14 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 362 ล้านบาท) ในปี 2565 เพิ่มขึ้น 25 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์จากยอดขาดทุน 10 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 258 ล้านบาท) เมื่อปี 2564ผลกำไรจากการดำเนินงานของบริษัทก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคาที่ปรับแล้ว (Adjusted EBITDA) ของหน่วยธุรกิจมาร์เก็ตเพลส (Marketplaces) ในปี 2565 เพิ่มขึ้น 6 เท่าจากปี 2564บริษัท พร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป จำกัด (หรือชื่อย่อในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก NYSE คือ PGRU) (หรือต่อจากนี้จะเรียกว่า "พร็อพเพอร์ตี้กูรู" หรือ "บริษัท") บริษัทเทคโนโลยีด้านอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[1] ("PropTech") และเป็นบริษัทแม่ของ 2 เว็บไซต์ด้านอสังหาริมทรัพย์ชื่อดังของไทย ได้แก่ DDproperty.com แพลตฟอร์มมาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาฯ อันดับ 1 ของประเทศ และ thinkofliving.com เว็บไซต์รีวิวโครงการอสังหาฯ ชั้นนำของประเทศ วันนี้ได้ประกาศผลประกอบการประจำไตรมาส 4 ซึ่งสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 โดยมีรายได้ในไตรมาสนี้รวมทั้งสิ้น 40 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 1 พันล้านบาท) เพิ่มขึ้น 17% จากปีก่อนหน้า ยอดขาดทุนสุทธิ (Net loss) ในไตรมาสที่ 4 ปี 2565 อยู่ที่ 5 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 129 ล้านบาท) และ Adjusted EBITDA[2] เป็นบวกอยู่ที่ 5 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ของปี 2564 ยอดขาดทุนสุทธิจะอยู่ที่ 27 ล้านดอลลาร์ สิงคโปร์[3] (ราว 698 ล้านบาท) และผลกำไรที่ปรับแล้วมูลค่าอยู่ที่ 4 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 103 ล้านบาท) ความเห็นจากผู้บริหารนายแฮร์รี่ วี. คริชนัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ กล่าวว่า "เรายินดีกับผลประกอบการที่ออกมา เนื่องจากพร็อพเพอร์ตี้กูรูทำผลงานได้อย่างดีเยี่ยมท่ามกลางความท้าทายต่าง ๆ มากมายที่ยังคงส่งผลกระทบต่อตลาดหลักของเรา ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นและการแทรกแซงจากมาตรการของภาครัฐที่เข้มงวดในการให้สินเชื่อส่งผลกระทบต่อกิจกรรมต่าง ๆ ในตลาด เรายังคงยืนหยัดและเติบโตได้อย่างดี ด้วยการช่วยให้ลูกค้าของเราผ่านพ้นช่วงเวลาแห่งความท้าทายที่พวกเขากำลังเผชิญไปได้ และยังเพิ่มมูลค่าให้กับโซลูชั่นต่าง ๆ ของเราในทุก ๆ เฟสของวงจรธุรกิจอสังหาริมทรัพย์""ปีที่ผ่านมานับเป็นปีแห่งประวัติศาสตร์ของพร็อพเพอร์ตี้กูรู เพราะเราได้ก้าวสู่การเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของโลกอย่างนิวยอร์ก (NYSE) และต่อจากนี้ไป เรายังคงมองเห็นโอกาสที่ดีในปี 2565 รวมถึงในอนาคต โดยเรายังคงเดินหน้านำเสนอโซลูชั่นที่แตกต่างให้กับลูกค้าของเรา และยังมองหาโอกาสใหม่ ๆ ในการลงทุนอย่างชาญฉลาดเพื่อเร่งการเติบโตของบริษัท เซนด์เฮลเพอร์ (Sendhelper) เป็นตัวอย่างที่ดีของการซื้อกิจการอย่างมีกลยุทธ์ที่เรารู้สึกตื่นเต้นที่ได้สร้างมูลค่าให้กับกลุ่มเป้าหมายขนาดใหญ่ของเรา และเน้นย้ำการทำงานร่วมกันระหว่างบริษัทต่าง ๆ" นายแฮร์รี่ยังกล่าวต่อไปอีกว่า "อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น ค่าเงินเฟ้อทั่วโลกและมาตรการหรือนโยบายทางภาษีของรัฐบาลคือความท้าทายที่เราจะต้องเผชิญในอนาคตอันใกล้นี้ เราจะยังคงมุ่งมั่นที่จะส่งมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าของเรา ด้วยการทำให้ระบบนิเวศของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีความเป็นดิจิทัลยิ่งขึ้นและทำให้มีความโปร่งใส มีประสิทธิภาพมากขึ้น เราเชื่อว่าตลาดต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เราดำเนินธุรกิจอยู่จะเติบโตขึ้นมาอยู่ในระดับแถวหน้าในระดับโลกได้ในอนาคต"ด้านนายโจ ดิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการเงิน กล่าวเสริมว่า "พร็อพเพอร์ตี้กูรูมีรายได้ที่เติบโตอย่างแข็งแรงถึง 35% ในปี 2565[4] ในทุกเซ็กเมนต์ของธุรกิจทำผลงานได้อย่างดีแม้ว่าจะต้องเผชิญกับการทำงานที่เต็มไปด้วยความท้าทาย เรารู้สึกยินดีกับผลประกอบการที่ออกมา ด้วยมาตรการเชิงรุกในการควบคุมค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ทำให้เราสามารถมีผลกำไรที่ปรับแล้วเป็นบวก คือ 25 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ในปีนี้ เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ในปี 2566 เรายังคงมีแผนที่จะเพิ่มรายได้ให้เติบโตและพัฒนาผลประกอบการให้ดียิ่งขึ้น เรายังคงเดินหน้าขยายธุรกิจ เร่งการลงทุน และเพิ่มการลงทุนที่สร้างผลกำไรในอนาคตให้มากยิ่งขึ้น"ไฮไลต์ผลประกอบการ - ไตรมาส 4 และตลอดทั้งปี 2565ยอดรายได้ทั้งหมดเพิ่มขึ้น 17% มาอยู่ที่ 40 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ในไตรมาส 4 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว และรายได้ทั้งปีเพิ่มขึ้น 35% มาอยู่ที่ 136 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมารายได้จากธุรกิจมาร์เก็ตเพลส (Marketplaces) เพิ่มขึ้น 15% อยู่ที่ 38 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ในไตรมาส 4 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และรายได้ทั้งปีเพิ่มขึ้น 34% มาอยู่ที่ 131 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยยังรักษาความแข็งแกร่งไว้ได้ในตลาดสิงคโปร์และมาเลเซีย ชดเชยความท้าทายที่ต้องเผชิญในตลาดเวียดนาม เนื่องจากข้อบังคับด้านการปล่อยสินเชื่อในช่วงปลายปีที่ผ่านมานั่นเองรายได้จากธุรกิจมาร์เก็ตเพลสในสิงคโปร์เพิ่มขึ้น 15% อยู่ที่ 19 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ในไตรมาสที่ 4 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่รายได้ทั้งปีเพิ่มขึ้น 24% มาอยู่ที่ 69 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลมาจากทั้งการเพิ่มรายได้เฉลี่ยต่อเอเจนต์ (Average Revenue Per Agent หรือ ARPA) และรายได้โดยรวมจากเอเจนต์ที่เพิ่มขึ้น โดยในไตรมาส 4 รายได้เฉลี่ยต่อเอเจนต์เพิ่มขึ้นราว 20% มาอยู่ที่ 1,076 ดอลลาร์สิงคโปร์ต่อคนเมื่อเทียบกับช่วงไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า และรายได้เฉลี่ยต่อเอเจนต์ทั้งปีเพิ่มขึ้น 24% จากปีก่อนหน้ามาอยู่ที่ 4,078 ดอลลาร์สิงคโปร์ในปี 2565 นอกจากนี้ ในไตรมาส 4 สิงคโปร์มีเอเจนต์จำนวน 15,529 ราย โดยอัตราการต่ออายุในไตรมาสที่ 4 นี้อยู่ที่ 79%รายได้จากธุรกิจมาร์เก็ตเพลสในมาเลเซียในไตรมาสที่ 4 เพิ่มขึ้น 28% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า มาอยู่ที่ 8 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ และรายได้ทั้งปี เพิ่มขึ้น 77% จากปีก่อนหน้ามาเป็น 25 ล้านสิงคโปร์ดอลลาร์ โดยบริษัทยังคงสร้างรายได้จาก 2 แบรนด์ชั้นนำ และใช้ประโยชน์จากการควบรวมธุรกิจจาก iProperty เมื่อเดือนสิงหาคม 2564รายได้จากธุรกิจมาร์เก็ตเพลสในเวียดนามลดลง 7% ในไตรมาสที่ 4 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า มาอยู่ที่ 6 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ และรายได้ทั้งปีเพิ่มขึ้น 28% จากปีก่อนหน้า มาอยู่ที่ 24 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ทั้งนี้ การที่รัฐบาลประกาศนโยบายที่เข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ ส่งผลต่อจำนวนประกาศอสังหาริมทรัพย์ในประเทศเวียดนามโดยรวม โดยจำนวนประกาศในไตรมาส 4 ลดลงถึง 22% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้ามาอยู่ที่ 6 ล้านรายการ ในขณะที่รายได้เฉลี่ยต่อประกาศ ("ARPL") ในไตรมาสที่ 4 เพิ่มขึ้น 22% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน มาอยู่ที่ 3.25 ดอลลาร์สิงคโปร์ และรายได้เฉลี่ยต่อประกาศทั้งปีเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 8% มาอยู่ที่ 2.97 ดอลลาร์สิงคโปร์ณ สิ้นปี เงินสด และรายการเทียบเท่าเงินสดมีมูลค่าอยู่ที่ 309 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ความเป็นผู้นำอย่างแข็งแกร่งในธุรกิจเป็นตัวขับเคลื่อนโอกาสต่าง ๆ ทางธุรกิจณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 พร็อพเพอร์ตี้กูรูยังคงครองความเป็นผู้นำส่วนแบ่งการตลาด[5] ในประเทศสิงคโปร์ เวียดนาม มาเลเซีย และประเทศไทย สิงคโปร์: 81 % - นำหน้าอันดับที่ 2 อยู่ 5.2 เท่า
"พร็อพเพอร์ตี้กูรู" บริษัทแม่ของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ และ thinkofliving.com เผยผลประกอบการไตรมาส 4 และผลประกอบการของทั้งปี 2565

ไทย: 58% - นำหน้าอันดับที่ 2 อยู่ 2.5 เท่าเวียดนาม: 75% - นำหน้าอันดับที่ 2 อยู่ 3.1 เท่า

อินโดนีเซีย: 22% - นำหน้าอันดับที่ 2 อยู่ 0.3 เท่า มาเลเซีย: 93% - นำหน้าอันดับที่ 2 อยู่ 15.2 เท่าคาดการณ์ผลประกอบการปี 2566ทั้งนี้ บริษัทได้คาดการณ์รายได้ทั้งปีของปี 2566 ไว้ประมาณ 160-170 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ และ Adjusted EBITDA อยู่ที่ระหว่าง 11-15 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ในระยะใกล้นี้การร่วมบูรณาการและขยายการควบรวมกิจการกับเซนด์เฮลเพอร์ (Sendhelper) คาดว่าจะส่งผลกระทบในเชิงลบต่อผลกำไรราว 3-4 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ในปี 2566 นี้ และนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ของปี 2566 บริษัทจะไม่ลบค่าใช้จ่ายต่อเนื่องที่เกิดขึ้นจากการเป็นบริษัทมหาชนเมื่อต้องคำนวณ Adjusted EBITDA สำหรับปี 2566 บริษัทคาดการณ์ว่าค่าใช้จ่ายดังกล่าวจะอยู่ที่ประมาณ 11-12 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ โดยในปี 2565 ที่ผ่านมา ค่าใช้จ่ายดังกล่าวอยู่ที่ 11 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ และจากฐานดังกล่าวทำให้ Adjusted EBITDA ทั้งปี 2565 ของบริษัทอยู่ที่ 3 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ปัจจัยระยะสั้นที่จะส่งผลกระทบต่อบริษัทและทำให้การคาดการณ์ผลประกอบการเป็นไปแบบไม่หวือหวาสำหรับปี 2566 ได้แก่ มาตรการของรัฐบาลเวียดนามที่ควบคุมการให้สินเชื่อแก่ผู้บริโภค, การเมืองที่ยังคงไม่แน่นอนในมาเลเซีย, นโยบายที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ค่อนข้างเคร่งครัดในสิงคโปร์, ความไม่ชัดเจนของนโยบายการคลังทั่วโลกอันเกิดจากอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น, แรงกดดันที่เพิ่มขึ้นจากเงินเฟ้อ และเรื่องเกี่ยวกับระบบห่วงโซ่อุปทานของโลก (Global Supply Chain Issues) ในระยะยาว บริษัทยังคงมุ่งมั่นที่จะสร้างการเติบโตแบบก้าวกระโดด มุ่งหวังที่จะเพิ่มพูนผลกำไร และสร้างโอกาสใหม่ ๆ ในตลาดหลักที่บริษัทดำเนินการอยู่รายละเอียดเกี่ยวกับการประชุมทางโทรศัพท์ (Conference Call) และ Webcast บริษัทจะจัดการประชุมทางโทรศัพท์ (Conference Call) และเว็บแคสต์ (Webcast) ในวันพุธที่ 1 มีนาคม 2565 เวลา 8:00 น. ตามเขตเวลาตะวันออกในสหรัฐอเมริกา / 21:00 น. ตามเวลาประเทศสิงคโปร์ (20:00 น. ตามเวลาประเทศไทย) เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับผลประกอบการของบริษัท รวมถึงการคาดการณ์ผลประกอบการในอนาคต คุณสามารถเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ ผ่านการลงทะเบียนที่:https://propertyguru.zoom.us/webinar/register/WN_KYdeZj7TQzW-8UifD2sWAQสำหรับการบันทึกการประชุมสามารถรับฟังได้ที่หน้า Investor Relations บนเว็บไซต์ของบริษัท หลังจากการประชุมเสร็จสิ้นแล้วที่ https://investors.propertygurugroup.com/news-and-events/events-and-presentations/default.aspxเกี่ยวกับพร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป พร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป (NYSE: PGRU) เป็นบริษัทเทคโนโลยีด้านอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำ1ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ได้รับความไว้วางใจจากผู้ค้นหาบ้านกว่า 41 ล้านราย[6] ในการเชื่อมต่อกับเอเจนต์กว่า 63,000 ราย[7] เพื่อเข้าเยี่ยมชมและใช้บริการบนเว็บไซต์ในแต่ละเดือน พร็อพเพอร์ตี้กูรูและบริษัทในเครือช่วยให้ผู้ที่กำลังมองหาที่อยู่อาศัยทั่วภูมิภาคได้เข้าถึงรายการประกาศขาย-เช่าที่มีมากกว่า 3.2 ล้านรายการ[8] อีกทั้งยังมีข้อมูลเชิงลึกและโซลูชั่นต่าง ๆ ที่ช่วยให้ผู้บริโภคในสิงคโปร์, มาเลเซีย, ไทย, อินโดนีเซีย และเวียดนาม ใช้ประกอบการตัดสินใจครั้งสำคัญได้อย่างมั่นใจPropertyGuru.com.sg เริ่มให้บริการครั้งแรกในปี 2550 นับเป็นการปฏิวัติตลาดอสังหาริมทรัพย์ในสิงคโปร์ ด้วยการนำระบบออนไลน์เข้ามาใช้และช่วยให้การหาบ้านมีความโปร่งใสมากขึ้น ในช่วงเวลากว่า 15 ปีที่ผ่านมา พร็อพเพอร์ตี้กูรูได้เติบโตมาเป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีอสังหาฯ ที่มีการเติบโตสูง มีเว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาฯ อันดับ 1 อยู่ภายใต้การบริหาร มีแอปพลิเคชั่นที่มีรางวัลเป็นเครื่องการันตีคุณภาพ เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านสินเชื่อบ้าน PropertyGuru Finance อีกทั้งยังมีบริการสำหรับองค์กรภายใต้แบรนด์ PropertyGuru For Business ที่รวมแพล็ตฟอร์มที่ดีที่สุดเพื่อช่วยส่งเสริมการขายให้กับผู้พัฒนาอสังหาฯ อย่าง FastKey, DataSense, ValueNet บริการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอสังหาฯ ที่สำคัญ ๆ อาทิ การจัดงานแจกรางวัลด้านอสังหาฯ กิจกรรมส่งเสริมการตลาด รวมไปถึงสื่อสิ่งพิมพ์ทั่วภูมิภาคเอเชียสำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถเข้าชมได้ที่ PropertyGuruGroup.com; PropertyGuru Group on LinkedIn[1] อ้างอิงข้อมูลจาก SimilarWeb ช่วงระหว่างเดือน ก.ค. - ธ.ค. 2565[2] ในการปรับปรุงรายการระหว่างยอดขาดทุนสุทธิ และผลกำไรที่ปรับแล้วของไตรมาส 4 ปี 2565 มูลค่า 10 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 258 ล้านบาท) นั้นได้รวมถึงค่าเสื่อมราคา (depreciation) และ ค่าตัดจำหน่าย (amortization) มูลค่า 5 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 129 ล้านบาท) แล้ว[3] ในการปรับปรุงรายการระหว่างยอดขาดทุนสุทธิ และผลกำไรที่ปรับแล้วของไตรมาส 4 ปี 2564 มูลค่า 23 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ได้รวมถึงค่าเสื่อมราคา (depreciation) และ ค่าตัดจำหน่าย (amortization) มูลค่า 5 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 129 ล้านบาท) อีกทั้งยังรวมถึงสิทธิ์ในการจัดสรรและซื้อขายหุ้นมูลค่า 7 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ และค่าใช้จ่ายในการควบรวมกิจการต่าง ๆ อีก 7 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์แล้ว[4] ผลประกอบการทั้งปี ซึ่งสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 นั้นรวมผลประกอบการธุรกิจของ iProperty Malaysia และ thinkofliving ซึ่งถูกควบรวมเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2564[5] อ้างอิงจากข้อมูลของ SimilarWeb ช่วงระหว่าง ก.ค.- ธ.ค. 2565[6] อ้างอิงจากข้อมูลของ Google Analytics ช่วงระหว่าง ก.ค. - ธ.ค. 2565[7] อ้างอิงจากข้อมูลช่วงระหว่าง ก.ค. - ธ.ค. 2565[8] อ้างอิงจากข้อมูลช่วงระหว่าง ก.ค. - ธ.ค. 2565

"พร็อพเพอร์ตี้กูรู" บริษัทแม่ของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ และ thinkofliving.com เผยผลประกอบการไตรมาส 4 และผลประกอบการของทั้งปี 2565